Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2544
ไม่มี consumption shift             
 

   
related stories

พันศักดิ์ วิญญรัตน์ Professinal Thinker
ก้าวแรกของการรื้อทฤษฎี East Asia Economic Model (EAEM)

   
search resources

พันศักดิ์ วิญญรัตน์




lifestyle change ในสังคม globalization มีความชัดเจนในกระบวนการผลิต กระบวนการเรียกร้อง กระบวนการบริโภค เริ่มต้นจากสถานะทางจิตและความคิดทางปัญญา ที่ตอบโต้กับวิธีคิดว่าด้วยสงครามเวียดนาม

มันเหมือนกับยิงพลุขึ้นไปบนท้องฟ้า มันไม่ใช่ดอกเดียว แต่มันแตกเป็นหลายดอก ซึ่งมีความสำคัญมาก เพราะหมายถึง lifestyle กระบวนการกินและการอยู่ มีการตั้งคำถามว่า กินและทำงานเพื่ออะไร? อยู่เพื่ออะไร? มันปะทุขึ้นมาพร้อมๆ กับความคิดทางการเมือง

คุณลืมไปว่า คุณไว้ผมยาว ไว้ทำไม? ไว้ผมก็ไม่แปลกอะไร สมัยพระเจ้าหลุยส์ก็ใส่ผมปลอม แต่นั่นเป็นกระบวนการแสดงของ lifestyle ของชนชั้นสูงแต่กระบวนการผมยาวของสงครามเวียดนาม คือการต่อต้านคนตัดผมเกรียนของทหาร เป็น lifestyle ที่เกิดจากกระบวนการต่อต้าน การแต่งตัวของฮิปปี้ก็แสดงออกซึ่งความคิดเช่นกัน ซึ่งไปกำหนดการบริโภค

พร้อมๆ กับสงครามเวียดนาม คือ การแตกตัวและเคลื่อนไหวของทุนของโลก ซึ่งเร็วขึ้นๆ และไปที่ต่างๆ มากขึ้น การเคลื่อนตัวของเทคโนโลยีที่ไม่มีอะไรขวางกั้น เทคโนโลยียิ่ง สูงขึ้น ยิ่งใช้ในการผลิตมากขึ้น mass production ซึ่งไม่ต้องใช้ craft จนกระทั่งถึงเดี๋ยวนี้

สองขบวนการนี้ เกิดพร้อมกัน สิ่งที่เราได้คือ คนที่แสดง lifestyle ของตัวเอง มีอายุมากขึ้นๆ จนกลายเป็น CEO ของบริษัท เป็น Lawyers สำคัญของโลก เป็นสมาชิกสภา ก็เริ่มออกกฎหมายเกี่ยวกับชีวิตของคน

ยิ่งหลังจากโซเวียตรัสเซียแตก ยิ่งชัดเจน แล้วจีนบอกว่า เอาแมวขาวแมวดำจับหนูก็ได้ เมื่อไม่มีการต่อสู้ทางอุดมการณ์แล้ว ในยุโรปแล้วเปลี่ยน lifestyle consumption คือไม่มีเรื่อง ข้างนอกให้คิด ก็เริ่มคิดเรื่องตัวเอง จะเห็นว่าหนังสือว่าด้วยเลี้ยงลูกอย่างไรจึงมีความสุข how to become a millionaire นั่งสมาธิอย่างไร เป็นหนังสือประเภท how to และ selfcenter เป็นที่นิยม

ผมกำลังบอกว่าสถานการณ์สงครามยุคใหม่ เรียกว่า vietnam war ได้ให้นิยาม lifestyle ใหม่ ถามว่า เหตุการณ์ที่ World Trade Center จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง consumption ใหม่ของโลกหรือเปล่า? เปลี่ยน lifestyle หรือไม่?

ผมไปพูดเรื่องนี้ให้กับกรมส่งเสริมการส่งออก ให้ผู้แทน การค้าไทย 53 หน่วยในโลกนี้ฟังกัน ผมเชื่อว่าไม่มี consumption shift เพราะกระบวนการที่ผมว่านี้ยังเคลื่อนตัวไม่ได้เต็มที่เลย เพิ่งเคลื่อนและเห็นชัดมากขึ้น

คำถามที่ว่าตึกสองตึกพังนี้ สภาวะสงครามที่ไม่ใช่สงครามอย่างต่อเนื่องในรูปแบบเปิดเผย แต่เป็นสงครามที่เดี๋ยวเห็น เดี๋ยวไม่เห็น random violence เช่นว่านี้ จะเปลี่ยนกระบวนการ consumption shift หรือไม่? ไม่เปลี่ยน

ในที่สุดโลกก็ต้องปรับตัวเอง
ถ้าจะเดินทางไปต่างประเทศ เราต้องใช้เวลาอยู่สนามบินมากขึ้น

เช่นเดียวกัน dotcom ไม่อาจจะ communicate ได้อย่างรวดเร็ว เพราะมี terrorist อีกอย่างหนึ่งใน dotcom อีกอย่างหนึ่ง คือ Virus รัฐจะจัดการอย่างไรกับ terrorist นี้ ซึ่งไม่รู้เป็นใคร ไม่มีอุดมการณ์ว่าด้วยการบริหารทุน ต่อรองก็ไม่ได้ จะรบก็ไม่ได้ ไม่รู้จะรบอย่างไร ผลุบโผล่ที่โน่นที่นี่ มันจะลำบากมากใน การจัดการ

นั่นคือ สิ่งที่เราต้องปรับตัวเอง สิ่งที่ประเทศไทยจะได้ประโยชน์ เวลา 10 ปีที่ผ่านมา กระบวนการซื้อขายสินค้า แบบใหม่ post modern ก็คือว่า ผมอยู่ลอนดอน ผมอยู่ Harrods ผมสั่งผักสดจากไทย ผมไม่ทำ cold storage ที่ลอนดอน คุณต้องแพ็กมังคุดที่ผมสั่ง โดยมีถุงแพ็กที่มีตรา Harrods แล้ว มีคอมพิวเตอร์ stripe ให้เสร็จ คุณเอาไปส่งทาง airfreight ส่งไปลอนดอนตอนเช้ามืด ผมเอารถรับคาร์โก้นี้ เอาเข้าตู้เย็นเลย

นั่นคือ กระบวนการ warehousing ของผู้ขายไปตกอยู่ที่ ผู้ผลิต ไม่ตกกับ Harrods ไม่ตกกับผู้สั่งซื้อ มันเป็นกระบวนการ just in time

แต่ขณะนี้คุณทำเช่นเดิมอีกไม่ได้ เพราะกระบวนการ ตรวจสอบสินค้าเพื่อป้องกันการวางระเบิดได้เกิดขึ้น ต่อไปนี้โลกตะวันตกจะปรับตัวใหม่ ในอดีตผู้ผลิตจะต้องรับผิดชอบทุกอย่าง แต่ตอนนี้มันจำเป็นที่ผู้ซื้อต้องมีสต็อกไว้เอง เพื่อจะได้มีของไว้ขาย และต้องเตรียมการมากขึ้นเพื่อชดเชยกับเวลาที่เสียไปกับกระบวนการตรวจสอบที่ใช้เวลามากขึ้น วางแผนมากขึ้นกว่าเดิม ต้องมี inventory

นี่เป็นปรากฏการณ์ที่ต้องเกิดขึ้นกับปัญหา supply chain

อีกเรื่องหนึ่ง การส่งของภายในประเทศต้องช้าลง เพราะต้องมีกระบวนการตรวจตรามากขึ้น

โอกาสของไทยเกิดขึ้น If you don't come to Thailand, we take Thailand to you. เราก็ไปสร้าง Thailand Plaza ในยุโรปและอเมริกา ให้คนได้รู้สึก ถึงไม่ได้ไปเมืองไทย ไปตึกนี้ ได้สูดบรรยากาศความรู้สึกไทยที่ชอบ มาซื้อของไทย มาสั่งออร์เดอร์ของไทย มาหารายได้ตรงนี้ physical center of display products สำคัญมาก

เราอยากไปตั้งที่ฝรั่งเศส ที่เมืองริยองส์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางแสดง exhibition ของโลกด้วย ของ silk และ food เวลาคนจะไปทำธุรกิจดีลกัน ก็ไปดีลที่ริยองส์นี้ นอกจากนี้ยังมี Art School ดีๆ ที่นี่ และ Tax

ความตกต่ำทางเศรษฐกิจโลกอย่างที่พูดๆ กัน หลังจากอเมริกา ผ่านความเจ็บปวด ผมเชื่อว่าจะมีนักคิดในอเมริกา ที่จะให้คำจำกัดความหมายใหม่ของชีวิตของอเมริกันได้ และ เป็นในเชิงการเปลี่ยน lifestyle ที่เร่งการเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้นก็ได้ เป็นไปได้มาก

มีอีกเรื่องที่สำคัญมากในฐานะที่เราเป็นเมืองพุทธ มีวิถีชีวิตของตนเองและยินดีต้อนรับผู้คนทุกชาติ ศาสนา ถ้าเรารณรงค์ออกไปได้อย่างละเมียด เราจะได้ทั้ง business และ income

ผลผลิตของเราสามารถ synthesize peaceful living ได้ เพราะ stress ที่กำลังเกิดขึ้นในโลกนี้ จะต้องมีกระบวนการ destress งานนี้ต้องโฆษณา 500 ล้านบาทไปเลย คนไม่ต้องการความเครียด ขอให้มาเที่ยวประเทศที่ไม่เครียด

(สรุปความจากบทสัมภาษณ์ พันศักดิ์ วิญญรัตน์ หลังเหตุการณ์ถล่มสหรัฐอเมริกา)

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us