Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2544
ก้าวแรกของการรื้อทฤษฎี East Asia Economic Model (EAEM)             
 

   
related stories

พันศักดิ์ วิญญรัตน์ Professinal Thinker
ไม่มี consumption shift

   
search resources

พันศักดิ์ วิญญรัตน์




ชาติแรกที่ปฏิเสธทฤษฎี EAEM

ไทยได้ชื่อว่าเป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ที่ปฏิเสธทฤษฎี East Asia Economic Model (EAEM) เรามีความเห็นว่า EAEM เป็นสาเหตุให้เอเชียต้องเข้าไปอยู่ในวังวนของความหายนะ ด้วยการยอมให้มีการใช้แรงงานราคาถูกในการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมป้อนตลาดโลก รวมทั้งในการทำฟาร์มด้วยต้นทุนต่ำ และการผลิตผลิตภัณฑ์จากทรัพยากรธรรมชาติ

EAEM ทำให้โลกเกิดภาวะเสียสมดุลอยู่ร่ำไป
ซึ่งส่งผลเสียต่อความรุ่งเรืองของเอเชีย

EAEM ส่งเสริมให้เกิดภาวะเงินออมล้นเกิน ซึ่งเราเชื่อว่าเป็นสาเหตุหลักของภาวะเสียสมดุลด้านเงินออมและการค้าของโลก
เรามีความเห็นว่า การที่เอเชียใช้นโยบายพึ่งเงินลงทุนจากต่างประเทศอย่างไม่ลืมหูลืมตามีนัยคือ การพัฒนาสู่ความเป็นอุตสาหกรรมของภูมิภาคนี้ก่อให้เกิดการกดสิทธิด้านทรัพย์สินทางปัญญาของ คนพื้นเมืองให้อยู่ในระดับต่ำ ซึ่งนำไปสู่ภาวะเสียสมดุลด้านอำนาจการตั้งราคาในตลาดโลก

ก้าวแรกของการรื้อทฤษฎี East Asia Economic Model

เราเชื่อมั่นว่า การนำยุทธศาสตร์การพัฒนาของภูมิภาคนี้คือ EAEM มาประเมินทบทวนดูใหม่เป็นสิ่งจำเป็นมาก เพื่อเป็นการบรรเทาความเจ็บปวดจากความหายนะของวงจรเศรษฐกิจของ เอเชีย-แปซิฟิก

ดูเหมือน พ.ต.ท.ทักษัณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีของไทย จะเป็นคนแรกที่โจมตีทฤษฎีเศรษฐกิจรูปแบบเดิมดังกล่าวข้างต้น โดยสื่อมวลชนระหว่างประเทศได้ฉายภาพ พ.ต.ท.ทักษิณว่า เป็น ป๊อปปูลิสต์เสรีและเป็นผู้นำชาตินิยมผู้สามารถกุมบังเหียนให้ ประเทศไทยหลุดพ้นจากระบบเศรษฐกิจแบบเปิดที่อ้าแขนรับเอา การค้าระหว่างประเทศและเงินทุนเข้ามาแล้วหันกลับไปสู่เส้นทาง การพัฒนาประเทศโดยเน้นจากปัจจัยในประเทศเป็นสำคัญ ซึ่งใน การกล่าวสุนทรพจน์ในที่ประชุม Fortune Global Forum ที่ฮ่องกง พ.ต.ท.ทักษิณได้พูดถึงยุทธศาสตร์เศรษฐกิจใหม่สำหรับประเทศไทย

ทักษิณสนับสนุนยุทธศาสตร์การพัฒนาแบบชาตินิยม

จากเนื้อหาที่เขาประกาศในครั้งนั้น เราเชื่อว่า พ.ต.ท.ทักษิณต้องการแสวงหายุทธศาสตร์การพัฒนาที่เป็นทางเลือก ซึ่งจะ "รวบรวมเอาทรัพยากรและความชำนาญส่วนใหญ่ของประเทศมาไว้ด้วยกัน โดยแสวงหาช่องว่างทางการตลาดของตนเอง ขณะเดียวกันก็พยายามสร้างสมดุลระหว่างยุทธศาสตร์การเน้นใช้ทรัพยากร และการขับเคลื่อนเข้าสู่ยุคเน้นองค์ความรู้เป็นสำคัญ"

พ.ต.ท.ทักษิณยังลงลึกในรายละเอียดว่า ไทยได้ชื่อว่าเป็น ส่วนหนึ่งของห่วงโซ่แห่งการสร้างมูลค่าในเอเชีย ซึ่งยอมให้มีการใช้แรงงานราคาถูกเพื่อผลิตสินค้าอุตสาหกรรมป้อนตลาดโลก รวมทั้งการทำฟาร์มด้วยต้นทุนต่ำ และการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติ เป็นวัตถุดิบ อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรีของไทยเชื่อว่า แทนที่จะยอมให้มีการผลักเกษตรกรและคนงานผู้มีความชำนาญต่ำ เข้าไปสู่วงจรแห่งความหายนะของวิกฤติการณ์การเงินและสงครามราคาที่ต้องห้ำหั่นกับประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียด้วยกัน ไทยจำเป็นต้องเบนจุดโฟกัสจากการผลิตและซัปพลายสินค้าป้อนตลาดโลกมาเป็น การให้ความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อขยายขอบข่ายการค้าระหว่างประเทศในเอเชียด้วยกัน

เราเชื่อว่าสมควรนำแนวคิดของ พ.ต.ท.ทักษิณ มาวิเคราะห์กันอย่างถ้วนถี่ เพราะข้อคิดเห็นของเขาถือได้ว่าเป็นการปฏิเสธทฤษฎี East Asia Economic Model (EAEM) อย่างเป็นทางการ ครั้งแรกของผู้นำในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก แม้ว่าจะมีหลายฝ่ายโต้แย้งว่า การที่มาเลเซียประกาศตรึงค่าเงินริงกิตและออกกฎหมายควบคุมการเคลื่อนย้ายเงินทุนนั้น ทำให้มาเลเซียได้ชื่อว่าเป็นชาติแรกที่ปฏิเสธ EAEM

แต่เราเชื่อว่า สิ่งสำคัญที่พึงสังวรคือ ผู้นำมาเลเซียไม่เคยปฏิเสธ EAEM อย่างเป็นทางการ แม้ว่าจะมีท่าทีต่อต้านตะวันตกอย่างชัดเจนก็ตาม จริงๆ แล้วรัฐบาลมาเลเซียก็เพียงแต่วิพากษ์วิจารณ์ถึงความหายนะที่เกิดจากเงินร้อนระหว่างประเทศ และหลักการประชาธิปไตยสไตล์ตะวันตกเท่านั้น

เรามีความเห็นว่า การที่ไทยพยายามสลัดให้หลุดพ้นจาก EAEM นั้นมีนัยสำคัญมากทีเดียว เพราะบรรดาผู้นำของประเทศอาเซียนอื่นๆ ที่ยังต้องเผชิญกับความเจ็บปวดจากวิกฤติการณ์การเงินในเอเชียระหว่างปี 1997-98 นั้น ดูเหมือนจะยิ่งเคลือบแคลงเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศของพวกเขามากขึ้นทุกที เพราะการเดินรอยตาม EAEM นั้นพิสูจน์ชัดแล้วว่าปฏิบัติตามได้ยากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นเรื่องท้าทายอย่างหนักหน่วงสำหรับจีนและประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ท้ายที่สุดแล้วประเทศเหล่านี้อาจกระโจนมาเดินตาม เส้นทางของ พ.ต.ท.ทักษิณ และแสวงหายุทธศาสตร์การพัฒนาที่เป็นทางเลือกได้

คุณสมบัติสำคัญและการแตกแขนงเป็น 2 แนวทางของ EAEM

กล่าวโดยย่อแล้ว EAEM เป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจ ซึ่งประกอบด้วยคุณสมบัติสำคัญ 2 ประการคือ เงินลงทุนสูงและ การพึ่งเงินลงทุนจากต่างประเทศโดยตรงในแง่ของการค้ารวมทั้ง สายสัมพันธ์ด้านการลงทุนที่มีกับตลาดโลก โดยประเทศแถบเอเชีย-แปซิฟิก ส่วนใหญ่รวมทั้งไทยได้ยอมรับเอา EAEM มาปฏิบัติตามตั้งแต่ปลายทศวรรษ 1970 และต้นทศวรรษ 1980

จากการวิเคราะห์ของเราสรุปได้ว่า EAEM แตกแขนงออกเป็น 2 แนวทางดังนี้

กลุ่มประเทศที่ดำเนินนโยบายพัฒนาประเทศโดยให้กิจการบริษัทในประเทศเป็นหัวหอก มีรัฐบาล ธนาคาร และกลุ่มธุรกิจในประเทศร่วมกันพัฒนาโครงสร้างเศรษฐกิจ-อุตสาหกรรมร่วมในรูปแบบของคอมเพล็กซ์ขึ้นมา เพื่อเร่งการพัฒนาเศรษฐกิจ ตัวอย่างเห็นได้ชัดคือ กลุ่มอุตสาหกรรมยักษ์ใหญ่ของเกาหลีใต้ที่เรียกว่า chaebols และบรรดากิจการเทคโนโลยีสารสนเทศที่เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของไต้หวัน

อีกกลุ่มประเทศหนึ่งใช้วิธีพัฒนาโดยพึ่งพากิจการบริษัทข้ามชาติ ด้วยการพึ่งการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ มีกิจการบริษัทข้ามชาติครอบงำภาคการผลิตและส่งออก หรือที่เรียกว่า FDI-MNC led development ตัวอย่างประเทศในกลุ่มนี้ได้แก่ สิงคโปร์ ฮ่องกง และกลุ่มประเทศอาเซียน

อำนาจการตั้งราคาต่ำ เสียเปรียบในเงื่อนไขทางการค้า

แนวทางการพัฒนาประเทศตามทฤษฎี EAEM ทั้ง 2 แนวทาง จึงดำเนินไปด้วยดี ตราบเท่าที่ยังมีการขยายขอบข่ายของการค้าระหว่างประเทศ และมีการใช้เอเชียเป็นฐานการผลิตสินค้าซึ่งมีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าการผลิตในประเทศพัฒนาแล้ว พลวัตของระบบเศรษฐกิจจึงขับเคลื่อนไปด้วยกระบวนการที่มีกลไกการส่งออก อันมหึมาของเอเชีย เป็นตัวควบคุมเพื่อให้แน่ใจว่า การค้าและภาวะเกินดุลบัญชีเดินสะพัด จะทำหน้าที่ถ่วงดุลกับภาวะเสียสมดุลของโลกในแง่ของเงินออมได้เป็นอย่างดี

เมื่อโลกเกิดภาวะเสียสมดุลในด้านการค้าและเงินออมแล้ว ย่อมนำไปสู่ภาวะเสียสมดุลที่เลวร้ายยิ่งขึ้นอีก นั่นคือ ความไม่เสมอภาคในอำนาจการตั้งราคา สิ่งที่ถือว่าเป็นความโชคร้ายใหญ่หลวงที่สุดของเอเชีย คือ ผลในเชิงลบที่มีต่อราคาผลผลิตที่ผลิตโดยกิจการบริษัทสัญชาติเอเชีย และผลที่ตามมาคือ การกดราคาสำหรับแรงงาน ชาวเอเชีย และผลตอบแทนต่อเงินทุนของเอเชียที่อยู่ในระดับต่ำ

ประเทศแถบเอเชีย-แปซิฟิก ล้วนอยู่ในธุรกิจของการซัปพลายสินค้าจากโรงงานผลิต ซัปพลายสินค้าที่เป็นผลิตผลทางการเกษตรและทรัพยากรธรรมชาติป้อนตลาดโลก โดยระดับราคาระหว่างประเทศของสินค้าเหล่านี้ส่งผลโดยตรงต่อผลตอบแทนของบริษัท เอเชียและอัตราค่าจ้างของแรงงานเอเชีย จากกลไกดังกล่าวนี้ เมื่อ มองในแง่ของซัปพลาย จะเห็นว่า กำลังผลิตส่วนเกินนี้สื่อความหมายว่า ราคาที่ลดต่ำจะไม่ส่งผลกระทบต่อการผลิตสินค้าป้อนตลาดโลกของผู้ผลิตเอเชีย มองในแง่ดีมานด์จะเห็นว่า การเปลี่ยนแปลงของดีมานด์โดยฉับพลันจะส่งผลต่อความผันผวนของราคาอย่างรุนแรง มากกว่าการส่งผลต่อปริมาณสินค้าที่ต้องการ เพราะบริษัทผู้ผลิตย่อมขายสินค้าได้มากขึ้นในภาวะที่ราคาสูงขึ้น และขายได้มากขึ้นอีกในภาวะที่สินค้าราคาตกต่ำลง

ผลในท้ายที่สุดคือ เงื่อนไขทางการค้าของเอเชีย-แปซิฟิก ย่ำแย่ลงทุกครั้งที่ดีมานด์ของตลาดโลกที่มีต่อสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ผลิตผลการเกษตร หรือสินค้าโภคภัณฑ์ขั้นปฐมภูมิตกต่ำลง สิ่งนี้แหละที่เป็นตัวอธิบายเรื่องความหายนะแห่งวงจรของสงครามราคา ที่ พ.ต.ท.ทักษิณพูดถึง

การที่ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เดินรอยตามทฤษฎี EAEM โดยตรง จึงก่อให้เกิดภาวะโลกเสียสมดุลดังกล่าวข้างต้น และส่งผลเชิงลบต่อผลประกอบการของบริษัทผู้ผลิตสัญชาติเอเชีย รวมถึงมาตรฐานการครองชีพของคนงานและครัวเรือนของภูมิภาค เรามีความเห็นว่า มันเป็นไปตามหลักตรรกะที่ว่า เงินออมล้นเกินก่อให้เกิดภาวะโลกเสียสมดุลด้านเงินออม ซึ่งย่อมส่งผลต่อภาวะเสียสมดุลทางการค้าอย่าง มิอาจหลีกเลี่ยงได้ ธรรมชาติของการค้าและการผลิตแบบนี้ จึงทำให้ภูมิภาคนี้ต้องตกอยู่ในวังวนแห่งความหายนะของสงครามราคาและเงื่อนไขทางการค้าก็แย่ลงเรื่อยๆ

การแสวงหายุทธศาสตร์การพัฒนาที่เป็นทางเลือก

ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่เป็นทางเลือกที่เป็นไปได้ จะต้องไม่มองข้ามอุปสรรคสำคัญ 2 ประการของ EAEM นั่นคือ ภาวะเงินออมล้นเกินและธรรมชาติของการผลิตที่มีมูลค่าต่ำ เราเชื่อว่าฝ่ายต่อต้าน EAEM ที่มีความน่าเชื่อถือจะต้องให้ความสำคัญกับการกำจัดภาวะเงินออมล้นเกิน และการปฏิเสธยุทธศาสตร์การพัฒนาสู่ความเป็นอุตสาหกรรม ด้วยวิธีพึ่งเงินลงทุนของบริษัทข้ามชาติจากต่างประเทศโดยตรงอย่างแน่นอน

ยุทธศาสตร์ที่ พ.ต.ท.ทักษิณนำเสนอไม่ได้ลงในรายละเอียดมากพอ สำหรับการตอกย้ำอุปสรรคสำคัญ 2 ประการของทฤษฎี EAEM นั่นคือ เงินออมล้นเกินและธรรมชาติของการผลิตที่มีมูลค่าต่ำ ทำให้เราอดสงสัยไม่ได้ว่า กว่าจะได้พบทฤษฎีทางเลือกที่นำมาใช้แทน EAEM นั้น ยังจำเป็นต้องเผชิญกับภาวะวิกฤติอันรุนแรงและยืดเยื้ออีก

อย่างไรก็ตาม เราเชื่อมั่นว่า สุนทรพจน์ของ พ.ต.ท.ทักษิณเป็นก้าวสำคัญก้าวแรกของการอุบัติขึ้นของทฤษฎีใหม่ และในท้ายที่สุดจะสามารถรื้อทำลายทฤษฎี EAEM ลงได้ สำหรับเราแล้วมีความเห็นว่า การแสวงหายุทธศาสตร์การพัฒนาที่เป็นทางเลือกสำหรับประเทศแถบเอเชีย-แปซิฟิก อย่างจริงจังมุ่งมั่นมากกว่านี้ เป็นสิ่งที่สมควรกระทำอย่างยิ่ง สำหรับหัวเลี้ยวหัวต่อของประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ ที่เป็นอยู่ขณะนี้

(จากผลงานวิจัยของ Morgan Stanley Dean Witter ในหัวข้อเรื่อง Asia/Pacific Economics โดย Daniel Lian เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2544 ดรุณี แซ่ลิ่ว แปลและเรียบเรียง)

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us