Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2543
"ความคิด" สร้าง "โอกาส"             
 

   
related stories

ปีย์ มาลากุล ณ อยุธยา "ผมเป็นแค่นักคิดคนหนึ่งเท่านั้น"
ปีย์ มาลากุล ณ อยุธยา
ฮอบบี้ที่ทำเงิน

   
search resources

ปีย์ มาลากุล ณ อยุธยา




เรื่องราวของคนคนนี้ไม่ใช่เรื่อง ที่หาอ่านได้ง่ายๆ แม้จะเป็นผู้อยู่เบื้องหลังของโครงการหลายๆ อย่างก็ตาม ตลอดเวลา ที่ผ่านมาเขามีวิธีการในการทำตัว ไม่ให้เป็นข่าว "ผมขายสิ่งที่ผมคิด ผมไม่ได้ขายตัวผม" คือ เหตุผลที่เขาเพียรอธิบายกับสื่อต่างๆ ที่พยายามเข้าไปสัมภาษณ์

ดังนั้น เมื่อ "ผู้จัดการ" มีโอกาสได้สัมภาษณ์ และนำภาพทั้งหมด ที่ได้มาประกอบรวมกันเข้า สิ่งที่พบ ก็คือ ปีย์ มาลากุล ณ อยุธยา เป็นนักธุรกิจ ที่มีความเป็นศิลปิน เต็มไปด้วยจินตนาการทางด้านความคิด ที่กว้างไกลมากคนหนึ่งของเมืองไทย

และยังเป็นผู้ที่สนใจด้านเทคโนโลยีการสื่อสารอย่างจริงจัง ที่สำคัญสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจต่างๆ และการทำงานส่วนตัวอย่างได้ผล เวลาส่วนใหญ่ของปีย์ไม่ได้อยู่ ที่สำนักงานใหญ่ตึกไทย คลองเตย หากไม่ได้ตามเสด็จฯ เขาจะอยู่ ที่บ้าน ดังนั้น วิถีการทำงานด้วยระบบเครื่องมือ ที่ทันสมัยของเขาเป็น เรื่อง ที่น่าตื่นเต้นอย่างมากๆ

ปีย์สามารถเกาะติดกระแสข่าวอย่างไม่มีพลาดโดยมีข้อมูลข่าวสารต่างๆ ไหลเข้ามาสู่จอคอมพิวเตอร์ของเขาอยู่ตลอดเวลา ในขณะเดียวกันเขาสามารถตรวจสอบการทำงานของทีมงานได้อย่างใกล้ชิดด้วยระบบโทรทัศน์วงจรปิด ที่ถูกส่งผ่านทางอินเทอร์เน็ตมายังเครื่องคอมพิวเตอร์หน้าห้องนอน

แค่ก้าวจากห้องนอนเพียงไม่กี่ก้าว ปีย์ก็สามารถมองเห็นแล้วว่า วันนี้ใครกำลังนั่งประชุมในห้องประชุมของ จส.100 ใครเป็นดีเจ ที่กำลังออกอากาศ ทีมข่าว ที่กำลังนั่งทำงานมีใครบ้าง อีกแวบหนึ่งของสายตา ที่ตวัดไปหน้าจอคอมพิวเตอร์ ก็จะรู้เช่นกันว่า ขณะนี้ จส.100 กำลังเล่นเรื่องอะไร และเมื่อเขาต้องการให้ข้อมูลเพิ่มเติม หรือเสนอความคิดก็ใช้วิธีอีเมลเข้าไปทันที

ปีย์ มาลากุล ณ อยุธยา นับเป็น Teleworker ต้นแบบในเมืองไทยคนหนึ่งเลยทีเดียว

เขาคุยว่าระบบการทำงานของเขา เมื่อพลเอกแป้ง มาลากุลฯ น้องชายมาเห็นถึงกับตะลึงมาแล้ว

ธุรกิจของเขาหลายอย่างที่เกิดขึ้นแสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้นำทางด้านความคิดอย่างชัดเจน

"ดิฉัน" นิตยสารผู้หญิง ที่ยืนหยัดมานานถึง 24 ปี "ทีมข่าวแปซิฟิคฯ" ซึ่งนำเสนอข่าวรูปแบบใหม่ให้เกิดขึ้นในเมืองไทย "จส.100" คลื่นข่าวด้านสังคมคลื่นแรก และอีกหลายคนคงไม่รู้ว่าคนคนเดียวกันนี้คือ เจ้าของสวนมะม่วงน้ำดอกไม้ ที่วางขายในห้างมาร์คแอนด์ สเปนเซอร์ในกรุงลอนดอน เจ้าของเล้าเป็ด ที่ใหญ่ที่สุด ในจังหวัดชลบุรี และเจ้าของบ่อปลาบึกรายใหญ่ในจังหวัดเชียงราย

ล่าสุดกับบทบาทใหม่ในตำแหน่งรองประธานกรรมการ บริษัทไอทีวี ที่เพิ่งถูกแต่งตั้งเมื่อปลายเดือนที่ผ่านมา จะมีส่วนผลักดันให้เกิดการสร้างมิติใหม่ของการทำข่าวแค่ไหนเป็นเรื่อง ที่น่าสนใจทีเดียว

หลังจากปีย์ได้ให้บริษัทแปซิฟิค อินเตอร์คอม มิวนิเคชั่น จำกัด เข้าไปประมูลเวลาการทำข่าวของช่อง 9 อ.ส.ม.ท. ในปี 2527 เขาก็สามารถปฏิวัติระบบข่าวโทรทัศน์ที่สุดแสนน่าเบื่อที่สุดในเมืองไทย ให้กลับมามีสีสันน่าสนใจที่สุด พลิกภาพพจน์ใหม่ของการนำเสนอข่าวของเมืองไทย และเป็นเบ้าหลอม ที่สำคัญให้กับการแข่งขันการทำข่าวอย่างมีรสชาติในปัจจุบัน

ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล ยุพา เพชรฤทธิ์ สุริยนต์ จองลีพันธ์ นิรมล เมธีสุวกุล คือ ทีมข่าว แปซิฟิคฯ ที่เคยทำให้หนุ่มสาวรุ่นใหม่หลายคน คลั่งไคล้ต้องการเอาเป็นแบบอย่าง นับเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับบุคลากรในสาขานี้อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ คือ ขุนพลคนสำคัญของปีย์ในช่วงนั้น

จากช่อง 9 อ.ส.ม.ท. มาช่อง 7 และในที่สุด ทีมงานรับจ้างผลิตข่าวของแปซิฟิคฯ ก็มาหยุดอยู่ ที่ช่อง 5 สมเกียรติเคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่า "ตอน ที่มาอยู่ช่อง 5 ข่าวเขาสู้ใครไม่ได้ จึงทำสัญญากับเรายาว แต่เมื่อหมดสัญญาก็เป็นการต่อสัญญาปีต่อปี เราก็ทำให้เขามา 4 ปี" (จากเรื่องแปซิฟิคฯ ปรับตัวใหม่หลังช่อง 5 ไม่ต่อสัญญา ผู้จัดการรายเดือน ธันวาคม 2535)

แต่เมื่อมาถึงช่วงปลายปีที่ 3 ของสัญญา พนักงานของช่อง 5 เริ่มมีทีท่าไม่พอใจต่อการต่อสัญญา เพราะต้องการผลิตข่าวเอง เพื่อเป็นศักดิ์ศรี และหน้าตาของสถานีเช่นเดียวกับนโยบายของช่องอื่นๆ จุดยืนของ แปซิฟิคฯ ที่ผูกมัดตนเองกับสัญญาว่าจ้างผลิตรายการข่าวให้กับช่องใดช่องหนึ่งเพียงช่องเดียว ก็ต้องเปลี่ยนเป็นพร้อม ที่จะผลิตรายการอื่นๆ เช่น สารคดีป้อนให้กับสถานีทุกช่อง ที่ต้องการ นับแต่นั้น มาจนถึงปัจจุบัน เช่นการผลิตสารคดีพิเศษเฉลิมพระเกียรติในราชวงศ์ ผลิตรายการสารคดีเชิงข่าวชุด "ตามล่าหาความจริง" เผยแพร่ทางช่อง 9 อ.ส.ม.ท. โดยมีประไพพัตร โขมพัตร ทีมงานเก่าแก่ของแปซิฟิคฯ เองเป็นผู้ดำเนินรายการ

พร้อมกับช่วงยุคทองของแปซิฟิคฯ ก็เริ่มสลายตัวทีมงานต่างกระจัดกระจายไปสร้างบทบาทใหม่ตามพื้นที่ต่างๆ ที่ตัวเองถนัด ทีมงานข่าว ที่เหลืออยู่คือ ผู้ที่ทำงานในศูนย์ข่าวแปซิฟิคฯ มีหน้าที่ป้อนข่าวต้นชั่วโมงให้กับสถานีวิทยุ รด.ทั้งหมด

ปีย์ มาลากุล ณ อยุธยา ได้ไปเสนอทำข่าวต้นชั่วโมงให้ทางกองทัพ ด้วยความคิด ที่ว่า คนไทยทุกคนควรรู้ข่าวพร้อมๆ และเท่าเทียมกัน ด้วยการใช้วิธีรายงานข่าวจากศูนย์ข่าวตึกไทยส่งผ่านสัญญาณดาวเทียมไมโครเวฟไป ที่สะพานแดงจากตรงนั้น จะส่งสัญญาณดาวเทียมกระจายทั่วประเทศ ซึ่งจะมีสถานีหลัก 38 แห่ง ของทหารบก หลังจากนั้น ก็เปิดคลื่นวิทยุส่งกระจายไปตามสถานีทหารบกทั่วประเทศประมาณ 100 กว่าสถานี

ไม่มีใครปฏิเสธได้เช่นกันว่า บนแผงหนังสือ ผู้หญิงวันนี้ "ดิฉัน" ยังคงครองความโดดเด่น ปีย์คือ ผู้พลิกสถานะของหนังสือดิฉัน จากหนังสือ ที่ขาดทุนเป็นหนังสือ ที่ได้กำไรสูงสุดเล่มหนึ่ง เขารับงานนี้มาจาก "พร สิทธิอำนวย" ผู้เป็นทั้ง เพื่อน และนายของเขาในเวลานั้น โดยมีเงื่อนไขว่า ถ้ายอดขายยังไม่ดีเขาจะไม่ขึ้นเงินเดือนให้ตัวเองเด็ดขาด ต่อมาวันหนึ่งเมื่อ "ดิฉัน" เริ่มทำกำไร ปีย์ก็เดินเข้าไปหาพร ทวงสัญญาเมื่อ 3-4 ปีที่ผ่านมาว่าเขาได้ทำให้ยอดขายมันดีได้อย่างที่พูดแล้ว ดังนั้น เขาขอ 5 เปอร์เซ็นต์จากยอดขาย พร ซึ่งตอนนั้น กำลังมีปัญหาในเรื่องธุรกิจของกลุ่ม "พีเอสเอ" เดินไปเดินมา คิดอยู่นานก่อน ที่จะตอบว่าเอาไปทำไม 5 เปอร์เซ็นต์ เอาไปทั้งหมดเลยไม่ดีกว่าหรือ เขาจึงตัดสินใจซื้อ "ดิฉัน" มาบริหารเองตั้งแต่คราวนั้น

ปีย์ เป็นประธานกรรมการบริษัทแอ็ดวานซ์ พับลิชชิ่ง เจ้าของหนังสือ "ดิฉัน" เมื่อปี 2525 "แท็คติก" ความสำเร็จของ "ดิฉัน" คือ การที่เขากล้าจัดชั้นของหนังสือให้อยู่ในระดับไฮคลาสอย่างชัดเจน เรื่องราวก็จะมุ่งเน้นไปยังกลุ่มคนในสังคมชั้นสูง โดยเฉพาะสิ่งนี้ได้กลายเป็นสะพานเชื่อมโยงไปยังการหาโฆษณา ผลที่ได้ก็คือ โดนใจสินค้าชั้นสูงราคาแพง ที่กำลังหาสื่อ ที่มี กลุ่มคนอ่านชั้นสูงเข้าอย่างจัง

ในปี 2541 ปีย์ไปเอาหนังสือหัวนอก "COSMO- POLITAN" เข้ามา ท่ามกลางเสียงคัดค้านของทีมงาน "ดิฉัน" แต่ปีย์ก็มั่นใจในความคิดของตนเองเช่นกันว่า หนังสือ 2 เล่มนี้มีความแตกต่างกันอย่างมาก แม้คนอ่านจะเป็นคนกลุ่มเดียวกัน และวันนี้เขาก็พิสูจน์แล้วว่า เขาคิดไม่ผิด "COSMOPOLITAN" เป็นหนังสือ ที่แทบไม่มีต้นทุน แต่สามารถสร้างกำไรได้ทันทีเมื่อขึ้นปีที่ 2

จำนวนหน้าโฆษณา ที่ปรากฏในหนังสือนั้น ยืนยันชัดเจน

"มีฝรั่งเข้ามาเห็นผมทำหนังสือ เขาอยากได้ผมเป็นพาร์ตเนอร์ ก็ตกลงเจรจากัน ฝรั่งบอกว่า คอสโมฯมันมีทั่วโลก เขาขอ local content (เนื้อหา ที่ทำจาก กองบรรณาธิการในประเทศไทย) 30% แล้วของเขา 70 เปอร์เซ็นต์ ผมบอกว่าขอแปลทั้งหมดล้วนๆ เขาก็ไม่ยอม ผมบอกว่าถ้าไม่ยอมก็ไม่ต้องออกมาจากนิวยอร์ก ก็ทะเลาะกันไป แล้วผมก็บอกว่าเอาอย่างนี้ ดีกว่า 6 เดือนแรก ผมขอไม่มี local content แต่ถ้าผมแพ้ 6 เดือนหลังก็มี local content ในที่สุดก็ตกลงพนันเลี้ยงข้าวกันตอนนั้น " ปีย์อธิบายถึงความคิดของเขา ซึ่งเป็นที่มาของหนังสือเล่มใหม่

"ผมมั่นใจว่าสังคมคนฝรั่งกับคนไทยนั้น มองเรื่องเซ็กซ์ต่างกัน คุณเชื่อไหมว่าคนไทยพร้อม ที่จะอ่านว่า นิกกับบาบาร่าทำอะไรกัน แต่ถ้าบอกว่าประสิทธ์กับวิไล มีความสัมพันธ์กันอย่างไร รับไม่ได้ทันที นี่ผมคิดแค่นี้เอง คลิกหนึ่งนิดเดียวว่าผมจะเขียนถึงคนอื่น คนไทยอ่านจะได้ไม่อาย และสนุกสนาน สังคมไทยเป็นอย่างนี้ ผมเลยซื้อหมดแปลหมด จนตอนนี้ผมชนะแล้ว ฝรั่งก็ไม่เคยติดต่อมา กำไรอยู่ในแบงก์ยังไม่ได้แบ่งกันเลยแค่นี้เองนะสำหรับคอสโมฯ ผมไม่ได้ไปคิดสมการอะไรมากมายเลย"

เขายอมรับว่าเขาเป็น Artist มากกว่าเป็นนักธุรกิจ ที่มองทุกอย่างเป็นเม็ดเงิน และผลกำไร แต่ในขณะเดียวกันไม่ใช่อาร์ตติส ที่ยอมจนเช่นกัน ธุรกิจทุกอย่างต้องมีโฟกัสชัดเจน

กลุ่มธุรกิจของปีย์ทุกวันนี้จึงเป็นบริษัทขนาดกลางคงความเป็นธุรกิจครอบครัวอย่างเข้มข้น อำนาจตัดสินใจสุดท้ายยังอยู่ ที่เขา ไม่มีโมเดลอะไรซับซ้อนมากมายนัก แบ่งงานหลักเป็น 3 ฝ่ายใหญ่ คือ (ดูในตารางโครงสร้าง) คือ ฝ่ายผลิต ตลาด และบัญชี ทั้งหมดขึ้นอยู่กับปีย์ และคุณหญิงอารียา ภรรยา โดยมีธรรมาลูกชายคนเดียวช่วยดูแลหลักในเรื่องบัญชี และการเงิน มีทีมงานบริหาร ที่สำคัญคือ คุณหญิงสุวิมล ผึ่งประเสริฐ ดูงานทางด้านรายการโทรทัศน์ และศูนย์ข่าวแปซิฟิคฯ คุณหญิงทิพย์วดี ปราโมช ณ อยุธยา (น้องสาวของปีย์) บรรณาธิการบริหารดิฉัน สุรีย์ สนชิรติ ดูแลการเงิน และบัญชีของรายการทีวี และจส.100 ส่วน ทัศนีย์ ตังหงส์ ดูแลการเงินของงานด้านหนังสือ

โปรดักส์ ที่ทำรายได้หลักในตอนนี้จะเป็นจส.100 และดิฉัน ในช่วงปี 2537-2539 น่าจะเป็นช่วง ปีทองของ 2 ธุรกิจนี้ ที่ยอดโฆษณาพุ่งสูงกว่า 200 ล้านบาทต่อปี และได้ลดลงมาไม่แตะยอดนี้อีกเลย หลังจากปี 2540 ซึ่งเป็นช่วงเวลา ที่ทางกลุ่มนี้ได้หันมาจัดทัพในการบริหารใหม่เช่นเดียวกับบริษัททั่วไป

ศูนย์ข่าวแปซิฟิคฯ จะเป็นหน่วยงาน ที่สร้างเม็ดเงินได้ยากที่สุด เพราะข้อจำกัดทางด้านเวลา ที่มีอยู่น้อยมาก และเป็นโครงการที่ไม่ได้หวังเม็ดเงินตั้งแต่แรกเริ่ม เพียงแต่เมื่อมีปัญหาทางเศรษฐกิจ จึงได้ขอทางทหารขายโฆษณาได้ด้วย

ทุกโปรเจกต์หลักของปีย์ตอนนี้อยู่ท่ามกลาง สงครามของการแข่งขัน ที่กำลังรุนแรงมากขึ้นทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นรายการวิทยุ ทีวี หนังสือดิฉัน หรือหนังสือ คอสโมฯ ที่กำลังมีหนังสือแนวเดียวกันบนแผงตามมาอีกหลายฉบับ

และดูเหมือนว่าปีย์เองยังไม่ได้เตรียมแผนงานอะไรใหม่ออกมาชัดเจน ดูราวกับเขามั่นใจในโปรดักส์ ที่มีคุณภาพของเขาทุกตัวว่าสามารถประคองตัวผ่านพ้นวิกฤติต่างๆ ไปได้ในที่สุด หรือไม่ก็มั่นใจใน "อำนาจ" ที่มองไม่เห็นตัวของเขา ที่มีมากกว่ายุคใดๆ ในอดีต ก็ไม่ทราบได้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us