Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2543
โทรมือถือ-โทรศัพท์             
 





ลมหายใจของนิวยอร์ก เมืองสำคัญของโลก ที่ที่กำหนดทิศทางของสังคมโลก จึงน่าสนใจ เรื่องราวเหล่านี้มาจากอดีตนักข่าว "ผู้จัดการ" ที่ระเหเร่ร่อนไปอยู่ที่นั่นในขณะนี้ จากมุมมองของคนที่มีความคิดและประสบการณ์จับกระแสอรรถาธิบายปรากฏการณ์ ย่อมจะทำให้เรื่องน่าสนใจขึ้นอีก

รอบๆ นิวยอร์กตอนนี้ หนุ่มสาวจะขึ้นรถ ลงเรือ หูก็เหน็บมือถือไว้ ชวนให้นึกถึงโรคคลั่งมือถือที่เราระบาดกันในเมืองไทยเมื่อ 4-5 ปีก่อน

ที่นี่นั้นเห็นชัดเจนว่าเพิ่งมาเริ่มฮิตเอาเมื่อปีที่แล้วนี้เอง จากการที่บริษัทต่างๆ เปิดตัวเข้ามา ในตลาดมากขึ้นและแข่งขันกันในเรื่องค่าแอร์ไทม์ แคมเปญส่งเสริมการขายไม่ได้เด็ดเท่าเมืองไทยประเภทโทรฟรีมากๆ นั้นไม่มีเพราะที่นี่เขาไม่ได้ขายเครื่องแพงอย่างบ้านเรา ที่ฟันกำไรค่าเครื่องไปเต็มเหนี่ยวแล้ว

แคมเปญส่งเสริมการขายของที่นี่เป็นประเภทโทรฟรีตอนวันหยุด หรือโทรต่างรัฐในราคาเท่ากับโทรศัพท์ท้องถิ่น ค่าแอร์ไทม์ที่นี่ไม่ได้ถูกมากถึงแม้ไม่ได้คิดจากอัตราแลกเปลี่ยนตามเกมการเงินโลกคือ 1 ดอลลาร์เท่ากับ 40 บาท แต่ผู้เขียนมีหลักอัตรา แลกเปลี่ยนตามความน่าจะเป็นคือ 1 ดอลลาร์ มีศักยภาพซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคได้เท่ากับเงินประมาณ 10 บาทในเมืองไทย (กาแฟแก้วละ 0.50- 1 ดอลลาร์, ค่ารถเมล์ติดแอร์ 1.50 ดอลลาร์, บุหรี่ 4 ดอลลาร์, ค่าเช่าบ้าน 300-3,000 ดอลลาร์, เงิน เดือนครู 4-6,000 ดอลลาร์, ค่าแรงขั้นต่ำชั่วโมงละ 6.5 ดอลลาร์) ค่าแอร์ไทม์ที่นี่ตก 29.99 เหรียญ ต่อ 200 นาที และ 49.99 เหรียญ ต่อ 500 นาที หรือนาทีละ 1 เหรียญ แปลงเป็นเงินไทยตามทฤษฎีค่าเงินจริงที่กล่าวมา ยังตกนาทีละ 10 บาท

แต่เครื่องโทรศัพท์มือถือที่อื่นถือเป็นของราคาถูก ปี 95 ตอนที่โทรศัพท์บ้านเราตกเครื่องละ 50,000 บาท ที่ลอนดอนวางขายอยู่แค่เครื่องละ 100 ปอนด์ หรือตกราว 4,000 บาท ตามการแลก เปลี่ยนในตอนนั้น ส่วนเมืองไทย หลังจากเปิดตัว มาห้าหกปี ก็ยังเหลือถึงเครื่องละ 15,000-20,000 บาท มีคำอ้างว่าต้องจ่ายค่าสิทธิต่อเครื่องให้ กสท. ส่วนหนึ่ง

นิวยอร์กนั้นมีปัญหาโทรศัพท์เหมือนกรุงเทพฯ คือ เครื่องโทรศัพท์สาธารณะเสีย 1 ใน 3 เครื่อง ทั้งที่ไม่มีสัญญาณ และมีสัญญาณ แต่โทรศัพท์ไม่ติดแถมกินเหรียญ อาจเป็นการกระตุ้นความต้องการโทรศัพท์มือถือของผู้บริโภคบางคน ที่มีความจำเป็นต้องใช้โทรศัพท์เกือบตลอดเวลา

อีกอย่างที่กระตุ้นให้คนนิวยอร์กใช้มือถือ คือความเท่ ทันสมัย และเห่อ เพราะฝรั่งก็มีหลายชนชั้น พวกต้องทันสมัยตลอดเวลา และพวกตามโฆษณาล่อใจ

โทรศัพท์มือถือกลายเป็นสิ่งน่ารำคาญของคนที่ไม่ได้ใช้ เมื่อคนอื่นใช้ในที่สาธารณะคนที่บ้านอยู่นอกเมือง และต้องนั่งรถไฟกลับ อยากนั่งหลับก็หลับไม่ลง คนข้างๆ คุยเสียงดังอยู่กับโทรศัพท์ บางคนโทรศัพท์หาคนโน้นคนนี้ไปตลอดทาง บางทีในตู้เดียว มีเครื่องเปิดถึง 4-5 เครื่อง

การรบกวนมีมากขึ้นจนมีคนเขียนจดหมายไปคุยเล่นกับหนังสือพิมพ์ว่า น่าจะมีรถไฟขบวนปลอดโทรศัพท์มือถือเหมือนขบวนปลอดบุหรี่ คนหนึ่งเขียนไปเล่าเหตุการณ์จริงที่ประสบบนรถเมล์ หลังจากสาวนางหนึ่งโทรศัพท์มือถือไม่เลิกสร้างความรำคาญให้ผู้โดยสารสาวใหญ่อีกนาง เดินเข้าไปหาเธอล้วงหยิบกาวในถุงขึ้นมายื่นให้แล้วบอกว่า "นี่น่าจะเหมาะสำหรับใช้ติดโทรศัพท์กับหูเธอ" จากนั้นก็เดินสง่าลงรถไปท่ามกลางเสียงหัวเราะของผู้โดยสารรายอื่น

แต่ยังไม่เคยได้ยินใครบ่นเรื่องคนเสียมารยาทใช้มือถือในโรงหนัง ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ที่เมืองไทย อาจเพราะคนที่นี่เขาไม่ไร้ศิวิไลซ์กันขนาดนั้นหรือเขารู้ว่าถ้าหยิบขึ้นมาใช้ ต้องถูกฝรั่งรอบข้างรุมกันด่าเปิงทั้งโรง แต่ที่เมืองไทยมีน้อยคนที่กล้าลุกขึ้นมารักษาสิทธิไม่ให้ถูกรบกวนตอนดูหนัง

เพจเจอร์ไม่ได้เป็นที่นิยมมาก จนถึงปี 2000 ที่นี่ส่วนใหญ่ยังใช้กันแต่ระบบตัวเลข บ้างมีระบบฝากข้อความกับเครื่องอัตโนมัติ ต้องโทรเช็กข้อความแต่เพจเจอร์ระบบตัวหนังสือนั้นเพิ่งเห็นโปรโมตเมื่อต้นปีนี้เอง อเมริกาอยู่ไกลๆ ใครว่าทันสมัย ไฮเทคหนักหนา แต่ไม่ใช่เลย ราคาเครื่องเพจเจอร์ก็กลายเป็นว่าแพงระบบตัวเลขนั้นมีทั้งให้ฟรี และขายในราคา 20 เหรียญ แต่ระบบตัวหนังสือขายกันถึง 150-200 เหรียญ

โทรศัพท์บ้าน ที่นี่บริการโดยบริษัทเอกชน แบ่งเขตกันไปแต่เจ้าใหญ่ที่คลุมแทบทุกพื้นที่ในเขตนิวยอร์กและอีก 2 รัฐข้างๆ คือ เบลล์ แอตแลนติครายเดียวกับผู้ติดตั้งโทรศัพท์สาธารณะ

โทรศัพท์บ้านนั้นไม่ได้มีปัญหามากมายอะไร แต่เบลล์มีภาพพจน์ที่ลบจากโทรศัพท์สาธารณะอยู่มาก และการผูกขาดติดตั้งบริการท้องถิ่นในหลายเขต ก็ทำให้ผู้ใช้รู้สึกไม่มีทางเลือก

ในฐานะผู้ให้บริการท้องถิ่น ยังต้องเป็นคน ส่งบิลเก็บเงิน บางทีผู้ใช้ก็มีปัญหาเรื่องค่าทางไกล แพงเกินเหตุ เบลล์ก็ต้องตกเป็นหนังหน้าไฟ เพราะบริการทางไกลที่นี่มีหลายกระบวนการ อย่างค่าโทรศัพท์นั้นมีทั้งท้องถิ่น (Local) ในอเมริกาเหนือ (Reginal) และทางไกล (Long-Distance) ซึ่งหลังจากติดตั้งกับเบลล์แล้ว ผู้ใช้มีสิทธิเลือกบริการในอเมริกาเหนือ และทางไกลกับรายอื่น หรือเปลี่ยนบริการท้องถิ่นเป็นเจ้าอื่นก็ได้

ที่ประสบมาเอง ในฐานะผู้ใช้บริการหน้าใหม่ในขณะที่บริษัททางไกลคู่แข่งรายอื่นจะได้ชื่อเรา และโทรศัพท์มาเสนอบริการราคาถูกประเภทต่างๆ แต่บริษัทที่เราเลือกไปเพราะเห็นว่า บ้านเพื่อนเขาจ่ายถูก แค่ส่งจดหมายมาขอบคุณ กว่าที่จะเฉลียวใจก็ได้รับบิลเก็บค่าโทรศัพท์ทางไกลในเดือนแรกแพงมาก กลายเป็นว่าเราพลาดเองที่ไม่ได้ศึกษาว่าต้องเป็นฝ่ายแจ้งขอเลือกบริการแบบแพ็กเกจเอง ไม่อย่างงั้น เขาจะวางเราไว้ในอัตราแพงที่สุดของเขา

ระบบที่เมืองไทยเรายังไม่มีใช้คือ ค่าบริการทางไกลนั้นจะถูกลงมาก หากเสียค่าธรรมเนียมรายเดือน ในอัตรา 3.99-5.99 เหรียญ ต่อหนึ่งแพ็กเกจอย่างโทรศัพท์ในอเมริกาเหนือจะเหลือแค่นาทีละ 5-6 เซ็นต์จากอัตรา 20 เซ็นต์ กลางวัน และ 10 เซ็นต์กลางคืน ส่วนโทรศัพท์ทางไกล เช่น มาเมืองไทย จาก 3-4 เหรียญ เหลือ แค่นาทีละ 59 เซ็นต์เป็นต้น

ระบบบางอย่างก็ตลกแปลกๆ เรียกว่าไม่เป็นระบบ อย่างค่าใช้บริการถามเลขหมายหรือ 13 ที่นี่คือ 411 เก็บค่าบริการแพงถึง 45 เซ็นต์ต่อครั้ง ในขณะที่โทรศัพท์ถามเลขหมายจากเครื่องสาธารณะ กลายเป็นฟรี และไม่ต้องหยอดเหรียญด้วย

อเมริกายังมีระบบโทรศัพท์ที่อำนวยต่อการหาผลประโยชน์ของพวก 18 มงกุฎที่นิวยอร์ก คือโทรศัพท์หมายเลขที่ขึ้นต้นด้วย 540 จะเป็นโทรศัพท์ที่ผู้โทรเข้าไปถูกเรียกเก็บเงินนาทีละแพงๆ โทรศัพท์พวกนี้จะถูกใช้ในโฆษณาล่อใจ ประเภทงานดี เงินดี บางรายก็มีตัวอักษรเล็กๆ บอกว่า ค่าโทรเข้านาทีละ 10 เหรียญน่ะ แต่บางรายก็ไม่บอกอะไรเลย ตาสี ตาสา ยายมี ยายมา ก็โทรเข้าไป เพื่อจะพบเครื่องรับโทรศัพท์อัตโนมัติ และเดือนต่อมาถูกบวกบิลอีก 10 เหรียญ เงินน้อยแค่นั้น ก็ไม่มีใครร้องเรียน แต่คิดดูว่าบริษัทได้เงินเท่าไร

เรื่องนี้เคยเป็นข่าวเล็กๆ แต่ไม่เห็นมีอะไรเด็ดขาด ที่อเมริกานั่นใช่ว่าผู้บริโภคจะได้รับการคุ้มครองมากมาย แต่ที่นี่เป็นประเทศที่มือใครยาว มือใครไวก็สาวได้สาวเอง ปัญหาเยอะ อาชีพทนาย ความถึงได้รุ่งเรือง

ข่าวใหญ่ในวงการโทรคมนาคมคือ เบลล์แอตแลนติคเพิ่งซื้อบริษัทโทร GE เมื่อผนวกกันแล้วกลายเป็นบริษัทโทรคมนาคมใหญ่ที่สุดในอเมริกาเหนือ การซื้อหุ้นต่อรองกันนานแต่เจรจาสิ้นสุดลง เมื่อเดือนมิถุนายนนี้ จากนั้นบริษัทก็หาเรื่องใช้งบก้อนใหญ่ด้วยการเปลี่ยนชื่อเป็น Verizon นัยว่าเพื่อสร้างภาพพจน์ใหม่ ใครไม่อ่านหนังสือพิมพ์หน้าธุรกิจก็ไม่ทราบเรื่องราวอะไร งงหน่อยว่าโทรศัพท์ไปบริษัทเบลล์ทำไม กลายเป็นขอบคุณที่โทรศัพท์หาเวอริซอน จนถึงเดือนสิงหาคม จึงมีจดหมายแจ้งมายังผู้ใช้และเริ่มใช้งบโปรโมตให้ตลาดตระหนัก

ต้นเดือนสิงหาคมเวอริซอน ถูกลองของจากสหภาพแรงงานมีการประท้วงครั้งใหญ่ และยืดเยื้อถึงสองอาทิตย์เพื่อขอสวัสดิการการทำงาน ที่ดีขึ้น ตอนแรกการประท้วงสงบท้ายๆ เริ่มมีบริการขัดข้องเล็กน้อยในระยะสั้นๆ ในบางพื้นที่และคนงานสองคนที่ร่วมประท้วง พยายามตัดสายโทรศัพท์ ณ จุดหนึ่ง ปรากฏว่า ตัดผิด ไปตัดเอาสายไฟฟ้าแรงสูงเกือบถึงตายทั้งคู่

เว้นแต่การเป็นขุมทรัพย์ทางความรู้ ชุมทางวัฒนธรรมโลกของนิวยอร์กโอกาสทางธุรกิจ โดยเฉพาะในโลกดอทคอม, ความหนาวเย็น และ พิเศษสำหรับคนเอเชีย คือ อิสรภาพส่วนตัวที่ไม่ต้องเกรงใจจนกระทั่งคนข้างบ้าน นอกนั้นมีหลายอย่างที่อเมริกาให้ความรู้สึกเหมือนเมืองไทย

อย่างตอนดูข่าวนี้ต่อด้วย ข่าวรถบัสวิ่งชน บ้านคนรถชนท้ายรถคันอื่นตกเขาแล้วหนี วัววิ่งพล่านให้ไล่จับไปทั้งเมือง อย่างกับดูข่าวช่องเจ็ดสี ทีวีเพื่อคุณ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us