Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2543
คู่ทุกข์คู่ยาก             
โดย ธีรภาพ วัฒนวิจารณ์
 





ธีรภาพ วัฒนวิจารณ์ เป็นนามแฝงของนักวิชาการใน รั้วมหาวิทยาลัย ซึ่งนอกเหนือจากความเชี่ยวชาญในงานประจำด้านจิตเวชและจิตวิทยาแล้ว ยังมีความสนใจด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เขาจะเสนอมุมมองและสาระความรู้ที่น่าสนใจในคอลัมน์ "จากฝั่งพรานนก"

เมื่อเร็วๆ นี้ มีงานวิจัยชิ้นหนึ่ง ซึ่งทำการศึกษาในคู่สามีภรรยาจำนวน 2,867 คู่ เกี่ยวกับสุขภาพของคู่สามีภรรยา และผลกระทบที่งานอาชีพมีต่อสุขภาพผมคิดว่าเป็นเรื่องน่าสนใจ และน่าจะมีประโยชน์ต่อมุมมองปัญหาของท่าน ผู้อ่าน จึงขออนุญาตถ่ายทอดมาเล่าสู่กันฟัง

ศาสตราจารย์ Stolzen- berg นักสังคม วิทยาชาวอเมริกันได้ทำการศึกษาจากข้อมูลการศึกษาระยะเวลา 3 ปีของศูนย์วิจัยเกี่ยวกับครอบครัวที่ทำงาน และเด็ก Alfred P Sloan ของ มหาวิทยาลัยมิชิแกน สิ่งที่น่าสนใจที่เขาพบ คือ ในตัวอย่างของคู่สามีภรรยาที่ได้รับการศึกษา นั้น Stolzenberg พบว่า หากภรรยาทำงานเป็นเวลามากกว่า 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ จะมีผลกระทบ ด้านลบต่อสุขภาพของสามี นั่นคือ คู่สามีที่ภรรยาทำงานนอกบ้านมากดังกล่าวจะมีสุขภาพแย่ลง

นั่นคือ หากภรรยาไม่ได้ทำงาน หรือเป็นแม่บ้านหรือหากทำงานนอกบ้านน้อยกว่า 40 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์ การทำงานนั้นจะไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพของสามี ปริมาณงานหรือจำนวนชิ้นของงาน ไม่มีผลกระทบต่อเรื่องนี้ ปัจจัยสำคัญอยู่ที่จำนวนชั่วโมงของการทำงาน เขาพบว่าหากภรรยาทำงานมากกว่า 40 ชั่วโมง สุขภาพของสามีจะแย่ลงไปประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์

สาเหตุที่สุขภาพของสามีแย่ลงนั้น Stol-zenberg อธิบายว่า น่าจะเกิดจาก 2 ปัจจัย คือ

ประการแรก การที่ภรรยาทำงานนอกบ้านมาก คือ การใช้เวลาอยู่กับครอบครัวหรือสามีน้อย ลง ผลคือ แทนที่สุขภาพของสามีจะได้รับการดูแลเอาใจใส่จึงไม่เกิดขึ้น ภรรยามีเวลาน้อย ที่จะคอยไต่ถาม หรือนัดหมายแพทย์ หรือกระทั่งชักชวนให้สามีไปรับการตรวจเมื่อเกิดอาการผิดปกติขึ้น

Stolzenberg อธิบายว่า โดยธรรมชาติแล้ว ผู้หญิงจะสนใจและห่วงใยสุขภาพของตนมากกว่าผู้ชาย เมื่อแต่งงานกัน ความสนใจ นี้ก็จะเผื่อแผ่ให้กับคู่ครองของตน อันนี้ผมคิดว่าค่อน ข้างจะจริงเป็นส่วน ใหญ่ ผู้ชายเวลาไม่สบายมักจะไม่ค่อยไปพบแพทย์ คือ มักจะทิ้งไว้ก่อน หรือรอให้ว่างก่อน พอว่างขึ้นมา อาการก็หายไป เลยไม่ค่อยจะมาพบแพทย์ หากมานั่นก็มักจะเป็นเพราะเป็นมากแล้ว จนอาการไม่หายไปเอง

ส่วนปัจจัยประการที่สอง คือ ภรรยา หรือผู้หญิงทำหน้าที่เสมือนเป็นคนคอยจัดรายการสังคมต่างๆ ให้กับสามี เช่น การนัดหมายงานสังคม การสังสรรค์กับเพื่อนๆ หรือญาติมิตร รวมไปถึงการพักผ่อนสุดสัปดาห์ หรือการท่องเที่ยว Stolzenberg มองว่าปัจจัยนี้เป็นคุณสมบัติโดยเฉลี่ยของเพศหญิงที่เพศชายมักจะขาดหรือให้ความสำคัญ น้อยกว่า พูดง่ายๆ คือ เพศหญิงจะชอบและมีความ สามารถในการเข้าสังคมมากกว่า อันนี้อาจจะทำให้คุณผู้อ่านบางท่านนึกถึงบรรดาสมาคมแม่บ้านทั้งหลาย อาจจะทำให้เห็นประโยชน์ของมันมากขึ้น

ปัจจัยประการที่สอง หรือความสามารถในการเข้าและสร้างงานสังคมนี้ Stolzenberg เชื่อว่าสำคัญกว่าปัจจัยประการแรกมากนัก ในขณะที่ปัจจัยแรกเป็นเพียงการเตือนให้สามีไปตรวจเช็กสุขภาพเหมือนการนำรถเข้าอู่ซ่อม เมื่อรถเกิดปัญหาเพื่อแก้ไขและป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายมากขึ้น

แต่ปัจจัยประการที่สองเป็นเหมือนการป้องกันความเครียด หรือช่วยลดผลกระทบของความเครียดให้น้อยลง ดังที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าความเครียดเป็นทั้งปัจจัยกระตุ้น และปัจจัยเสริมให้สุขภาพของคนเราแย่ลง เจ็บป่วยง่ายขึ้น

ถ้าปัจจัยประการแรกผู้หญิงทำหน้าที่เป็นเสมือนเลขานุการส่วนตัวของสามี บทบาทหลังกลับเป็นเสมือนผู้สรรค์สร้างความสุขในชีวิตให้กับครอบครัวและสามี

นี่จึงเป็นคำตอบว่า ทำไมสุขภาพของผู้ชายจึงแย่ลง เมื่อภรรยาทำงานหนักนอกบ้าน

ส่วนการทำงานหนักของผู้หญิงนั้นไม่มีผลกระทบด้านลบต่อสุขภาพของตัวเอง ดังที่มีต่อคู่ครอง แล้วหากสามีทำงานหนัก จะมีผลกระทบต่อสุขภาพของภรรยาหรือไม่

ผู้อ่านที่เคยชินกับภาพยนตร์ฮอลลีวู้ด อาจจะนึกถึงภาพยนตร์หลายเรื่อง ที่กล่าวถึงการที่สามีทำงานหนัก มีเวลาให้ครอบครัวน้อย ทำให้ภรรยาติดเหล้าหรือยาเสพย์ติด

Stolzenberg พบว่า การที่สามีทำงานหนัก หรือทำโอที ไม่มีผลกระทบในด้านลบต่อสุขภาพทั้งของเขาและภรรยา ซึ่งผลที่ได้นั้น Stolzenberg ยังคงอธิบายว่าเนื่องจากบทบาททางสังคมที่กำหนด ให้เพศหญิงจะห่วงใยกับสุขภาพของตนและครอบครัว การที่สามีทำงานมากจึงไม่มีผลกระทบต่อบทบาทนี้ของผู้หญิง

แต่หากสามีตกงาน ผลจะเป็นอีกอย่างหนึ่ง เขาพบว่าสุขภาพของทั้งคู่จะแย่ลงอย่างชัดเจน สุขภาพของทั้งคู่สามีภรรยาจะดีขึ้น หากสามีได้ทำงาน (อาชีพ) มากกว่า 16 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

งานวิจัยชิ้นนี้คงทำให้ผู้อ่านเห็นภาพของความสัมพันธ์ระหว่างเพศชายเพศหญิง และปัจจัยทางสังคมที่มีผลต่อบทบาทของทั้งสองเพศชัดเจนขึ้น

ในขณะที่สมัยก่อนเพศหญิงเป็นฝ่ายที่ต้อง พึ่งพิงเพศชายมาตลอด เนื่องจากสังคมกำหนดให้ผู้หญิงอยู่ในบ้านและไม่ประกอบอาชีพ สิ่งที่ผู้หญิง จะสนใจได้ก็คงเหลือเพียงความเป็นอยู่ของครอบ ครัว ส่วนสามีคงทำหน้าที่ในการหารายได้เพื่อจุนเจือ ครอบครัวภรรยาจึงแสดงบทบาทในการเชิดหน้าชูตาสามี ในการเป็นภรรยาที่สังคมยกย่อง และดูแลสุขภาพของสามี

เมื่อสังคมเปลี่ยนแปลงไปผู้หญิงต้องออกจากครอบครัวเพื่อทำงานหารายได้ บทบาทในการดูแลครอบครัวจึงน้อยลงแต่บทบาทของเพศชายยังคงเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง ในสังคมสมัยใหม่ ผู้ชายที่ภรรยาทำงานนอกบ้านจึงขาดปัจจัยทั้งสองประการที่กล่าวข้างต้น

อาจพูดได้ว่า ในแง่ของสุขภาพแล้ว ผู้ชายต้องพึ่งพิงผู้หญิงมากกว่า

นี่จึงอาจเป็นคำอธิบายทางสังคมวิทยาถึงงานวิจัยหลายชิ้นที่แสดงให้เห็นว่า เมื่อผู้ชายเป็นม่าย เนื่องจากภรรยาเสียชีวิตสุขภาพของผู้ชายม่ายจึงแย่กว่าผู้ชายในวัยเดียวกัน

สิ่งหนึ่งที่สามีอาจจะทำเพื่อให้สุขภาพของตนดีขึ้นตามทัศนะของ Stolzenberg คือ การหย่า ขาดจากภรรยาผู้เป็น workaholic ไม่ได้บอกต่อ ว่าจะให้ฝ่ายชายหาภรรยาใหม่หรือไม่ แต่เขาวิจารณ์ ว่าการหย่าขาดอาจจะไม่ทำให้สุขภาพของสามีดีขึ้น เนื่องจากนอกจากคนคอยเตือนจะหายไปแล้ว แม่บ้านที่คอยช่วยจัดงานสังคมก็ไม่มี และดังที่กล่าวข้างตนว่าเพศชายไม่ถนัดกับกิจกรรมทางสังคมเท่าเพศหญิง Stolzenberg เชื่อว่าสุขภาพของฝ่ายชายจะแย่ลง และแย่ลงอย่างรวดเร็วกว่าตอนอยู่ด้วยกัน

อย่างไรก็ตาม งานวิจัยชิ้นนี้เป็นเพียงการมองในเชิงสังคมวิทยาด้านหนึ่ง แต่ในความเป็นจริงแล้วการที่คู่สามีภรรยาจะอยู่ด้วยกันต่อไป หรือ ไม่นั้นมีหลายปัจจัย และปัจจัยสำคัญมักจะเป็นเรื่องของอารมณ์ความรู้สึกว่า อีกฝ่ายหนึ่งสามารถเข้าใจ และตอบสนองในสิ่งที่อีกฝ่ายหนึ่งต้องการได้หรือไม่

จากงานวิจัยชิ้นนี้ทำให้นึกถึงเรื่องที่เพศชายชอบคุยกันถึงเหตุผลในการมีภรรยาน้อยว่า เพื่อมาแบ่งเบาภาระของภรรยาหลวง ดูเหมือนว่าจะสอดคล้องกับข้อสรุปที่ว่าเพศชายเองต้องพึ่งเพศหญิงในหลายด้าน

แต่หากครอบครัวใดภรรยาทำงานหนักนอกบ้าน สามีจะใช้เหตุผลนี้เป็นข้ออ้างว่ามีภรรยาน้อย เพื่อหาเลขามาช่วยดูแลสุขภาพของตนในระยะยาว เพราะภรรยาไม่มีเวลา ก็ดูจะเป็นเหตุผลที่เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสวัสดิภาพทางกายในระยะสั้น และอาจจะได้ไม่คุ้มเสีย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us