ธุรกิจร้านอาหารไทยในต่าง ประเทศ จากนี้ไปจะกลายเป็นธุรกิจที่น่า สนใจ และมีความหมายมากขึ้น
อย่างที่ ไม่มีใครคิดมาก่อนว่าจะมีความหมาย ยิ่งใหญ่เช่นนั้น
‘ ธุรกิจขนาดใหญ่ของไทย อย่างน้อย 2 ราย เช่น ซีพีกับบริษัท ผู้ผลิตกระทิงแดง
กำลังลงมาสู่ธุรกิจนี้ ด้วยมองเห็นศักยภาพมหาศาล เป็น ตัวอย่างของ "ความคิดที่ตกผลึก"
ของ ธุรกิจไทย ที่เคยมองแต่ "ธุรกิจใหญ่" มาสู่ธุรกิจที่มีความหมายกับ
"ยุทธ ศาสตร์ของประเทศไทย" มากขึ้น พวก เขามองผลตอบแทนอย่างเป็นจริงที่แม้
จะค่อยเป็นค่อยไปมากกว่าความสำเร็จ ที่ดูยิ่งใหญ่ที่ธุรกิจไทยพยายามสร้างภาพ
มายากันในอดีต พึงสังเกตว่าทั้งสองราย ใหญ่นี้คือธุรกิจที่มีประสบการณ์และ
ประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจใน ต่างประเทศมาก่อนทั้งสิ้น
ทั้งนี้ยังไม่รวมเจ้าของธุรกิจร้าน อาหารเกิดใหม่ที่เป็นธุรกิจรายกลางๆ
อีกจำนวนไม่น้อยที่ซุ่มดำเนินการเปิด เครือข่ายร้านอาหารในประเทศต่างๆ ก็กำลังดำเนินการอย่างเข้มข้นเพื่อขยาย
ธุรกิจเหล่านี้มากขึ้น (เรื่องจากปกฉบับ นี้อรรถาธิบายไว้อย่างสมบูรณ์ที่สุดเท่าที่
นิตยสารไทยเคยทำกันมา)
ธุรกิจร้านอาหารไทยกำลัง กลายเป็นภาพยุทธศาสตร์สินค้าไทยที่มี บุคลิกที่จับต้องได้มากที่สุดของไทยใน
ระดับโลก ยิ่งไปกว่านั้นอาหารไทยได้ กลายเป็นอาหารที่มีคุณประโยชน์ต่อมวล
มนุษย์ของโลกในยุคจากนี้ ยังเป็นแนว โน้มของรสนิยมของโลกด้วย เช่น น้ำปลาของไทยที่เกิดขึ้นเมื่อเกือบ
90 ปีมาแล้ว (อ่านเรื่อง "ทั่งซังฮะ เจ้าของตราและตำรับ ทิพรส"
จากนิตยสารผู้จัดการ ฉบับเดือน กุมภาพันธ์ 2543) ได้กลายเป็นส่วนประกอบ ของอาหารชั้นเลิศที่หนังสือระดับสูงของโลก
นำมาพูดถึงบ่อยๆ มากขึ้น
อย่างไรก็ตาม แม้รายใหญ่จะเข้าสู่ ธุรกิจนี้แล้วมิได้หมายความว่าธุรกิจนี้จะถูก
ครอบงำโดยรายใหญ่ในปรัชญาของสังคมไทย หากแต่รายเล็ก รายกลาง ก็สามารถอยู่ได้
เพราะธุรกิจร้านอาหารเป็นธุรกิจที่ใช้ความ สามารถทางปัญญา ทางฝีมือ (craftsmanship)
เฉพาะตัวอยู่ด้วย
ซึ่งถือเป็นธุรกิจที่มีบุคลิกพิเศษดีเด่น อย่างมากสำหรับสังคมไทย
‘ เครือข่ายร้านอาหารไทยใน ต่างประเทศ มีความหมายในระดับ Economic Model
ของประเทศก็ว่าได้ หากมีการทำ การบ้าน และจัดการด้านยุทธศาสตร์อย่าง เป็นระบบมากขึ้น
เครือข่ายร้านอาหารเหล่านี้ จะกลายเป็น outlet สินค้าไทยตามยุทธศาสตร์ ใหม่ของไทยที่เริ่มต้นจากอาหารที่มีฐานการ
ผลิตภาคเกษตรที่เข้มแข็งของไทยเป็นฐาน ในการสร้างมูลค่าเพิ่ม นอกจากนี้เครือข่าย
ร้านอาหารไทยในทั่วโลก ประหนึ่งเป็น Showroom สินค้าไทยที่มีมูลค่าทางภูมิปัญญา
อยู่ด้วย ไม่ใช่สินค้า Made in Thailand ที่ หมายถึงเพียงแรงงานราคาถูกกับวัตถุดิบ
ที่ไม่ใช่ Strategic Component
สินค้าเหล่านี้มีตั้งแต่ที่ใช้ตกแต่ง ร้าน ไปจนถึงการสร้างชั้นวางขาย หรือโชว์
สินค้าไทยต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น ผ้า อาหาร สำเร็จรูปของไทย สมุนไพร หรืองานฝีมืออื่นๆ
ซึ่งก็คือ ผลผลิตทางปัญญาของ SME ไทย ที่มีอยู่เดิมและกำลังจะเกิดขึ้นจากนี้ไป
ภายใต้นโยบาย "คิดใหม่ ทำใหม่" ของ รัฐบาลนี้ที่หนังสือพิมพ์ฝรั่งเริ่มเข้าใจมาก
ขึ้น (อ่านเรื่อง THAKSIN'S MODEL เขียน โดย Daniel Lian นักเศรษฐศาสตร์
ประจำสิงคโปร์ ของ Morgan Stanley ซึ่ง ตีพิมพ์ใน Asiaweek เมื่อวันที่ 16
สิงหาคม 2544)
อย่างไรก็ตาม เงื่อนไขประการ สำคัญในการสร้างโมเดลนี้เกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ
มีการจัดการของรัฐอย่างเหมาะสมกับ เครือข่ายเหล่านี้ ให้มีการบริหารเครือข่าย
ที่เอื้อประโยชน์ระหว่างเครือข่ายด้วยกันเอง และเกื้อกูลระดับยุทธศาสตร์ของ
"ความ สามารถในการแข่งขันของประเทศ" ด้วย
ย่อมไม่ใช่เรื่องง่าย และก็ไม่ยาก จนเกินไป