Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2544
จากเซี่ยงไฮ้ถึงCeBit             
 





วันที่ไปถึงเมืองเซียงไฮ้ เป็นช่วงที่เมืองใหญ่แห่งนี้ของจีน มีอากาศร้อนมากที่สุดในรอบ 10 ปี อุณหภูมิสูงถึง 39 องศาเซลเซียส บางวันอาจขึ้นสูงไปมากกว่า 40 กว่าองศา ก่อนหน้านี้ไม่กี่วัน เมืองเซี่ยงไฮ้ยังต้องเจอกับ พายุฝนที่ตกหนักมากที่สุด ในรอบ 30 ปี ทำเอาบรรยากาศ ในช่วงค่ำคืนของเมืองที่ได้ชื่อว่าไม่เคยหลับใหล ดูจะลด ความสว่างไสวลงไปบ้างเล็กน้อย

ไพเราะ เลิศวิราม pairoh@gotomanager.com

สัมผัสแรกที่ได้เยือนเซี่ยงไฮ้ คือ ความเจริญทางวัตถุที่เข้ามาปกคลุมเมืองใหญ่แห่งนี้อย่างเต็มที่ ตึกสูงเสียดฟ้าท่ามกลางการจราจร ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงความศิวิไลซ์ของเซี่ยงไฮ้ เมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ ของจีนที่กำลังทะยานขึ้นสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจ อาคารขนาดใหญ่ในเมืองเซี่ยงไฮ้ ล้วนแต่เป็นสมบัติของรัฐบาลจีนลงทุน ร่วมกับต่างชาติ เช่นเดียวกับธุรกิจขนาดใหญ่ทั้งหลายที่มีรัฐบาลเป็นเจ้าของต่อมาได้เปิดโอกาสให้ประชาชนลงทุน พร้อมกับกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่เริ่มผ่อนคลาย ลง

ความสว่างไสวยามค่ำคืนของเซี่ยงไฮ้ เป็นสัญลักษณ์ของเมืองที่ทำให้เมืองนี้ได้ชื่อว่าปารีสตะวันออก ที่รัฐบาลจีนต้องใช้จ่ายเงิน 6 แสนหยวน เป็นค่าไฟ เพื่อทำให้เมืองเซี่ยงไฮ้สว่างไสวไปด้วยสีสันของดวงไฟที่ติดตามอาคารสูง และบนถนนหนทาง รัฐบาลจีนถึงกับออกมาตรการให้ร้านที่ตั้งอยู่ริมถนนทุกแห่งจะต้อง เปิดไฟตลอดทั้งคืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมองลงมาจาก "หอไข่มุก" สถานที่ ท่องเที่ยวประจำเมืองเซี่ยงไฮ้ ที่กำลังได้รับความนิยมและเป็นความภูมิใจอย่าง หนึ่งของชาวเซี่ยงไฮ้ในเวลานี้

รัฐบาลจีนลงทุนสร้างหอไข่มุก เมื่อ 3 ปีที่แล้ว เพื่อใช้ติดตั้งเสาส่งสัญญาณ โทรทัศน์และเป็นหอชมวิว ที่ติดอันดับความสูงเป็นอันดับ 1 ในเอเชีย และเป็น อันดับ 3 ของโลก

เดิมทีหอไข่มุกแแห่งนี้ รัฐบาลจีนตั้งใจจะลงทุนร่วมกับออสเตรเลีย แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์นองเลือดที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน ออสเตรเลียจึงขอถอนตัวออก ไป รัฐบาลจีนจึงหันมาลงทุนเองทั้งหมด ทั้งออกแบบก่อสร้าง และโปรโมตให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากทั้งชาวต่างประเทศและชาวจีน ยิ่งช่วงเปิดบริการใหม่ๆ ถึงกับต้องเข้าคิวรอกันทีละครึ่งวัน หลังจากเปิดให้เข้าชมได้เพียงแค่ 2-3 ปี รายได้ที่รัฐบาลได้รับจากค่าเข้าชมก็สามารถคืนทุนได้ทั้งหมด รัฐบาลจีนจึงลดค่าเข้าชมให้กับชาวต่างประเทศเท่ากับชาวจีน

ถึงแม้ว่า จีนจะเปิดประเทศมาเพียงแค่ 12 ปี แต่หลังจากเปิดประเทศ จีนก็สลัดคราบของความเป็นประเทศคอมมิวนิสต์เข้าสู่ระบอบทุนนิยมได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในเมืองใหญ่อย่างเซี่ยงไฮ้

ท่ามกลางข่าวสารที่ถูกควบคุมจากรัฐบาลที่เป็นเจ้าของสื่อสิ่งพิมพ์ทุกฉบับ แต่ชาวจีนเวลานี้ก็รับเอากระแสโลกาภิวัตน์ของระบอบทุนนิยมไปอย่างเต็มที่ ร้านอาหารประเภทฟาสต์ฟู้ด แมคโดนัลด์ เคเอฟซี เป็นเรื่องปกติธรรมดา เช่นเดียวกับสาวจีนกับเสื้อสายเดี่ยว ร้านเสื้อผ้าแบรนด์เนมระดับโลกกลายเป็นเรื่องปกติของชาวเซี่ยงไฮ้ที่ชื่นชอบดารา และนักกีฬาฟุตบอล เป็นอาชีพที่สร้างความร่ำรวยให้ได้มากที่สุด ห่างจากเมืองเซี่ยงไฮ้ไม่กี่กิโลเมตร จะเห็นที่นาปลูกข้าวริมถนนทั้งสองข้าง ทาง ชาวนาของจีนเวลานี้ไม่ใช่ชนชั้นล่าง แต่พวกเขากลายเป็นชนชั้นกลางที่มีเงิน และด้วยการที่รัฐบาลจีนผ่อนคลายกฎเกณฑ์ พวกเขากลายเป็นเจ้าของบ้านขนาดใหญ่ ที่ปลูกสร้างอย่างสวยงามแทนกระต๊อบเก่าๆ เคยมีคำกล่าวที่ว่า ถ้าใครมาประเทศจีนแล้วได้เจอสุนัขและคนท้องแล้วต้อง ถือว่าเป็นเรื่องโชคดี

จีนเคยเผชิญกับปัญหาความอดอยาก อันเป็นรากฐานของปัญหาที่ทำให้เกิด การปฏิวัติเปลี่ยนแปลง ถึงกับมีคำกล่าวว่า สัตว์สี่ขาทุกชนิดสามารถกินได้ ยกเว้นเพียงแค่โต๊ะและเก้าอี้ การเลี้ยงสุนัขในประเทศจีนใช่ว่าจะทำได้ง่าย เฉพาะอย่างยิ่งในเมืองใหญ่อย่างเซี่ยงไฮ้ด้วยแล้ว จะต้องเสียภาษีราคาแพงให้กับรัฐ และอีกเหตุผลหนึ่งน่าจะมาจากข้อจำกัดในเรื่องของสถานที่พักอาศัย ที่ไม่เอื้ออำนวยเท่าที่ควร

สำหรับคนท้องนั้น มีนัยสำคัญที่สามารถสะท้อนความเป็นไปของประเทศที่ได้ชื่อว่ามีพลเมืองมากที่สุดในโลก เดิมทีธรรมเนียมของชาวจีนคือ ต้องมีลูกมากๆ เพื่อที่ว่าจะได้ช่วยทำมาหากิน แต่เนื่องจากรัฐบาลมีมาตรการคุมกำเนิดอย่างเข้มงวด เพื่อไม่ให้ปัญหาประชากรมากเกินไปอันเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ กำหนด ให้ครอบครัวที่แต่งงานแล้วมีลูกได้เพียงคนเดียว

ชาวเมืองเซี่ยงไฮ้เองแก้ปัญหาการมีลูกเกินโควตาที่รัฐบาลกำหนด ด้วยการ ส่งไปให้ญาติพี่น้องเลี้ยงในต่างจังหวัด จนกว่าจะมีอายุ 18 ปี จึงเข้ามาทำบัตรประชาชน

ถึงทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเป็นระบอบคอมมิวนิสต์หรือทุนนิยม หากพวกเขามีกินมีใช้มีชีวิตที่ดีขึ้น ไม่มีปัญหาเรื่องของปากท้อง ไม่ว่าจะเป็นระบอบไหนก็ไม่ใช่ปัญหาสำหรับชาวจีนอีกต่อไป

เดิมทีชาวจีนต้องนำรายได้ที่หามาได้ส่งให้รัฐบาลทั้งหมด ต่อมารัฐบาลจีน ปรับปรุงกติกาเข้าสู่ระบบสากลเปลี่ยนมาเก็บภาษีเงินได้ ทำให้ประชาชน มีโอกาส หารายได้เป็นของตัวเอง บวกกับเศรษฐกิจของจีนอยู่ในช่วงของการเติบโต กำลังซื้อของคนจีนเวลานี้มีอยู่อย่างเต็มที่ และนี่เองที่ทำให้จีนได้กลายเป็นตลาดใหญ่ ที่น่าจับตาที่สุดในเวลานี้

ดูเหมือนว่าร่องรอยที่ยังคงความเป็นประเทศหลังม่านไม้ไผ่ ที่ยังมีให้เห็น คือ จักรยานที่ยังคงเป็นพาหนะที่ชาวเซี่ยงไฮ้นิยมใช้ขับขี่ แต่เมื่อความเจริญเติบโตทาง วัตถุเข้ามาเยือน เซี่ยงไฮ้หนีไม่พ้นปัญหาการจราจร

แม้ว่าป้ายทะเบียนรถยนต์ของที่นี่มีราคาแพงระยับถึงกับต้องประมูล ราคาเฉลี่ยต่อป้ายอยู่ที่ 2 หมื่นหยวน ตกประมาณ 120,000 บาท แต่ก็ยังไม่สามารถสกัดกั้นกระแสทุนนิยม รถยนต์วิ่งอยู่ในเซี่ยงไฮ้ประมาณ 1 ล้านคัน ทำเอาการจราจรติดขัดไม่แพ้เมืองเล็กๆ อย่างกรุงเทพฯ

รถญี่ปุ่นในเมืองจีนหาได้น้อยมาก รถยนต์ส่วนใหญ่ที่ใช้งานเป็นรถแท็กซี่ หรือรถยนต์ส่วนตัว จะเป็นของยี่ห้อโฟล์คสวาเกน ที่มีโรงงานประกอบอยู่ที่เมืองจีน เยอรมนีเป็นประเทศที่มีสายสัมพันธ์กับจีน

แม่น้ำฮวงเหอ ที่คั่นกลางนครเซี่ยงไฮ้ ไม่ได้เป็น เพียงแม่น้ำประจำเมืองเซี่ยงไฮ้เท่านั้น แต่ยังเป็นเสมือน เส้นแบ่งระหว่างเขตเมืองเก่า และเมืองใหม่ ที่ชื่อ ผู่ตง หรือ pudong

เขตเมืองเก่าของเซี่ยงไฮ้นั้นเป็นเขตเช่าของบรรดาประเทศตะวันตก อังกฤษ ฝรั่งเศส ฮอลแลนด์ ที่ยังรักษาร่องรอยของอดีตกาล ต้นเมเปิลเรียงรายอยู่ริมถนนที่ฝรั่งเศสนำมาปลูกในอดีต งอกงามผลิดอกออกผลตามฤดูกาลที่เปลี่ยนแปลงไป เช่นเดียวกับ สถาปัตยกรรมตะวันตกของอาคารเก่าแก่ริมถนนในเขตเช่าของฝรั่งที่ยังคงอนุรักษ์ไว้เป็นอนุสรณ์ จากเขตเมืองเก่า ข้ามอุโมงค์ลอดใต้น้ำ รถไฟใต้ดิน หรือจะเลือกเดินทางข้ามสะพานแขวน "หวงปู่เจียน" ที่ยาวที่สุดในจีน ไปสู่เขตเมืองใหม่ที่มีชื่อว่า "ผู่ตง" หรือ pudong เป็นภาพสะท้อนความน่าเกรงขาม ของมังกรจีน ที่ต้องการก้าวขึ้นเป็นผู้นำในเอเชีย เป็น ส่วนหนึ่งของการพัฒนาเพื่อให้ทัดเทียมกับอารยประเทศ รัฐบาลจีนใช้เวลาไม่กี่ปีในการ "เนรมิต" เมืองที่เคยเป็นหมู่บ้านชาวนา ให้กลายเป็นเมืองใหม่ ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ ผู่ตงทุกวันนี้ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ที่สะท้อนความทันสมัยเท่าทันอารยประเทศ ด้วยตึกสูงเสียดฟ้าจำนวนมากผุดขึ้นราวกับดอกเห็ด ที่ถูกสร้างขึ้นมาในช่วง 2-3 ปีมานี้

ระบบสาธารณูปโภค ถนน 8 เลน สิ่งอำนวยความสะดวกทุก รูปแบบถูกสร้างขึ้นในเวลา อันรวดเร็ว ระบบขนส่งมวลชน อุโมงค์ลอดแม่น้ำ รถไฟฟ้าใต้ดิน สะพานแขวน "หวงปู่เจียน" ถูกสร้างขึ้นเพื่อเชื่อมระหว่างเมืองเก่าและเมืองใหม่ เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ ในช่วงแรกรัฐบาลต้องหามาตรการจูงใจหลายรูปแบบ เพื่อให้ชาวเซี่ยงไฮ้ที่เคยชิน กับการพักอาศัยในเมืองเก่าให้ย้ายมาตั้งรกรากที่เมืองใหม่ จนกระทั่งทุกวันนี้ ผู่ตงมีชาวเซี่ยงไฮ้ พักอาศัยไม่ต่ำกว่า 1.5 ล้านคน ในขณะที่อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของเซี่ยงไฮ้เวลานี้อยู่ที่ 11% แต่อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของเขตเมืองใหม่ผู่ตง กลับพุ่งไปถึง 15-20%

การเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ศักยภาพของเขตเมืองใหม่ผู่ตงทำให้เซี่ยงไฮ้ดูน่าเกรงขามในสายตาของนักธุรกิจทุกคน ที่ต้องการส่วนร่วมในตลาดเป้าหมายของ ผู้ประกอบธุรกิจทุกราย

สำหรับนักลงทุนชาวไทย ที่เข้าไปสร้างสายสัมพันธ์กับรัฐบาลจีน ก็หนีไม่พ้นกลุ่มซีพี ห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ "ซูเปอร์แบรนด์มอลล์" หรือที่ชาวจีนรู้จักกันในนาม เจี๋ยไต๋สแควร์ ของกลุ่มซีพี ก็ตั้งอยู่ในเขตเมืองใหม่ผู่ตงนี้ด้วย

กฎเหล็กต่างๆ ผ่อนคลายลงมาก คนจีนเวลานี้มีรายได้เป็นของตัวเอง ไม่ต้องส่ง ให้รัฐบาล กำลังในการซื้อของชาวจีนจึงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ตัวเลขของโทรศัพท์มือถือ ที่เพิ่มขึ้นไปถึง 100 ราย เช่นเดียวกับจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่มีถึง 22 ล้านคน ถึงแม้ว่า เนื้อหายังคงถูกควบคุมจากรัฐบาลอย่างเข้มงวดก็ตาม

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมืองเซี่ยงไฮ้ ที่มีประชากรอาศัยอยู่ 17 ล้านคน เมืองเซี่ยงไฮ้เวลานี้จึงไม่ต่างไปจากสาวเนื้อหอมที่กำลังถูกรุมตอมจากผู้ผลิตทั่วโลก

รัฐบาลจีนเองก็อาศัยโอกาสนี้ ดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติเข้ามาในประเทศ คาดว่าจะมีเงินทุนไม่ต่ำกว่า 120 ล้านเหรียญสหรัฐ ที่ได้รับการสนับสนุนจาก venture capital รวมทั้งบริษัทชั้นนำด้านไอทีที่เข้ามาตั้งโรงงานและพัฒนาศูนย์

ถึงแม้ว่าในเวลานี้ จีนจะได้ชื่อว่าเป็นแหล่งแรงงานราคาถูกที่ไร้ฝีมือแต่เป้าหมายอนาคตของเซี่ยงไฮ้ ไม่ใช่แค่นี้ พวกเขาต้องการผลักดันตัวเองให้เป็น ซิลิกอน วัลเลย์แห่งเอเชีย เงินทุนไม่ต่ำกว่า 5.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ จะถูกใช้ไปในการวางโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อรองรับกับการเป็นศูนย์กลางของข่าวสารข้อมูล งานแสดงนิทรรศการผลิตภัณฑ์ด้านไอที โทรคมนาคมขนาดใหญ่ระดับโลก อย่างงาน CeBIT ยังต้องเลือก "เซี่ยงไฮ้" เป็นการชิมลางในการขยายมาสู่ภูมิภาค เอเชีย หลังจากจีนแล้ว CeBIT ก็ได้กำหนดที่จะไปจัดแสดงนิทรรศการที่ออสเตรเลีย ตุรกี แต่รูปแบบของงานจะเปลี่ยนแปลงไปโดยจะแยกจัดไปตามผลิตภัณฑ์โทรคมนาคม บรอดคาสติ้ง และไอที

ปกติที่ผ่านมา งาน CeBIT จัดขึ้นที่เมือง hanover ประเทศเยอรมนีเป็นประจำทุก 4 ปี จะมีการจัดงานขึ้นสักครั้ง เนื้อหาของงานเป็นการรวบรวมเอาเทคโนโลยีทางด้านไอทีหลากหลาย ครอบคลุมทั้งผลิตภัณฑ์ด้านคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ เน็ทเวิร์คกิ้ง โทรคมนาคม รวมถึงผลิตภัณฑ์ทางด้านธนาคาร ต้องแบ่งออกเป็น hall ซึ่งแต่ละ hall จะมีขนาดใหญ่มาก เรียกว่าดูงานกัน 7 วันก็ไม่หมด มีคนมาเข้าชมงานจากทั่วทุกมุมโลก โรงแรมในเมือง hanover ถูกจองเต็มล่วงหน้าเป็นปี ส่วนใหญ่จึงต้องไปพักในเมืองใกล้ๆ ซึ่งมีการจัดรถไฟวิ่งเข้ามายังสถานที่จัดงานโดยเฉพาะ

ดังนั้นหากใครที่เคยไปงาน CeBIT ที่เยอรมนีแล้ว เมื่อมาที่งาน CeBIT ASIA ที่เซี่ยงไฮ้ มีชื่องานว่า Gateway to Opportunity หลายคนคาดว่าจะใหญ่โตสมกับขนาดของประเทศ แต่กลับต้องผิดหวัง เพราะไม่ว่าจะเป็นสถานที่ รูปแบบการจัดบริษัทที่เข้าร่วมแสดงสินค้า ที่ทั้งขนาด และรูปแบบของการจัดงานเรียกว่า เทียบกันไม่ติด

สถานที่จัดงานเป็นเพียงอาคาร 3 ชั้น ผู้เข้าชมงานส่วนใหญ่เป็นชาวจีน ชาวต่างชาติที่มาดูงานก็ล้วนแต่เป็นคนเอเชียด้วยกัน รูปแบบการจัดงานมักจะเป็นการนำเสนอจากพรีเซ็นเตอร์ สาวจีนหน้าตาทันสมัยออกนำเสนอผลิตภัณฑ์ผ่านเสียงเพลง และลีลาการเต้นบนเวที เพื่อดึงดูดผู้เข้าชม ถึงแม้ผลิตภัณฑ์ที่นำมาแสดงจะมีความหลากหลาย คือ มีตั้งแต่อุปกรณ์โทรคมนาคม คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์เครือข่าย โทรศัพท์มือถือ ผลิตภัณฑ์และ บริการที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ต โมบายอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ตดาต้าเซ็นเตอร์หรือไอดีซี ระบบไอทีที่ใช้งานสำนักงาน

แต่ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ยังคงมุ่งเน้นไปที่สินค้า ประเภท consumer product ที่มีตั้งแต่โทรศัพท์มือถือ อุปกรณ์เสริมต่างๆ Tablet PC และพรินเตอร์สี จอมอนิ เตอร์ แม้แต่อุปกรณ์เครื่องเสียง โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ มือถือหรือ PDA ที่มีมากมายหลายยี่ห้อทั้ง brandname ชื่อดัง และยี่ห้อที่ผลิตในจีน

เจ้าของเทคโนโลยีที่นำผลิตภัณฑ์มาแสดง จะเป็นผู้ผลิตในแถบเอเชียเป็นส่วนใหญ่ ค่ายญี่ปุ่นที่เป็นเจ้าของสินค้าแบรนด์ดังๆ อย่าง พานาโซนิค ริโก้ ซัมซุง ฟูจิซีร็อกซ์ แคนนอน เอปสัน และผู้ให้บริการจากสิงคโปร์ และไต้หวัน นอกนั้นจะเป็นผู้ผลิตรายย่อยจาก จีนเอง

ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความสนใจเป็นพิเศษ คือ แผ่นดิสก์ขนาดเล็กของพานาโซนิค ที่มีหน่วยความจำ 64MB อุปกรณ์ชิ้นนี้อยู่ที่โมดูลของ mp3 บรรจุอยู่ในแผ่นดิสก์ขนาดเล็กที่ใช้กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อย่างกล้องวิดีโอ เครื่องเสียง MP3 ซึ่งเป็นการเพิ่มเติม ประสิทธิภาพในการใช้งานให้กับอุปกรณ์เหล่านี้

ผลิตภัณฑ์ที่ยังคงได้รับความสนใจจากผู้เข้าชม งานชาวจีน ยังคงอยู่ที่โทรศัพท์มือถือ ยุคที่ 3 ที่ค่ายญี่ปุ่นต่างก็นำเทคโนโลยี 3G มาแสดงกันอย่างเต็มที่ ด้วยขนาดของตลาดโทรศัพท์ มือถือในจีนที่มีถึง 100 ล้านเครื่องในปีนี้

สิ่งที่ขาดหายไปในงาน CeBIT ครั้งนี้ ก็คือ ผู้ผลิตรายใหญ่ๆ จากฝั่งยุโรป จะมีก็เพียงเจ้าของผลิตภัณฑ์จากประเทศเยอรมนี ที่ยังคงให้ความสำคัญกับงานนี้ เช่น ซีเมนส์ ที่ยังคงขนผลิตภัณฑ์มาแสดง และที่ขาดไม่ได้ ก็คือ ผู้ผลิตอุปกรณ์สำหรับธนาคาร อย่าง DeLaRue เองไม่พลาดสำหรับงานนี้ แต่ก็นำผลิตภัณฑ์เพียง ไม่กี่ชิ้นมาแสดง แตกต่างจากที่เคยนำมาแสดงในงาน CeBIT ที่เยอรมนี

ในขณะที่รายใหญ่อย่างโนเกีย กลับไม่เข้าร่วม เหตุผลส่วนหนึ่งเป็นเพราะโนเกียเปลี่ยนนโยบายใหม่ เนื่องจากประเมินแล้วว่างานแสดงนิทรรศการในลักษณะนี้ ประโยชน์ที่ได้ไม่คุ้มค่ากับเงินทุน เพราะการจัดงานแต่ละครั้งต้องใช้จ่าย เงินไปเป็นจำนวนมาก สู้จัดนิทรรศการของตัวเองและพาลูกค้าเข้าเยี่ยมชม จะเห็น ผลได้ดีกว่า การที่งาน CeBIT ในครั้งนี้ไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่คาดหมายเอาไว้ น่า จะเป็นเพราะการจัดงานเป็นเพียงแค่การชิมลาง ทำให้ยังจับต้นชนปลายไม่ถูก และ เป็นการมุ่งเฉพาะเจาะจงไปที่ตลาดของจีนแต่เพียงอย่างเดียว แม้กระทั่งเอกสารที่แจกในงานยังหาที่เป็นภาษาอังกฤษได้ยาก

อย่างไรก็ตาม งาน CeBIT ก็ได้กลายเป็นลู่ทางหนึ่งของบรรดานักธุรกิจทาง ด้านไอทีจากทั่วโลก รวมทั้งในไทยเอง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทผู้พัฒนาซอฟต์แวร์รายย่อย ต่างก็อาศัยโอกาสนี้เข้าไปติดต่อกับนักลงทุนท้องถิ่นของจีน เพราะไม่ว่าจะเป็นขนาดของตลาด และช่วงเวลาของการสร้างการเติบโต จำเป็นที่จีนต้องพึ่งพา พัฒนาการทางด้านอุปกรณ์ไฮเทคอีกมาก

แต่จากการเข้าไปสัมผัสกับนักธุรกิจท้องถิ่นเหล่านี้ ต่างก็ยอมรับว่าโอกาสในการเข้าสู่ตลาดจีนยังไม่ใช่เรื่องง่ายนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาษา ซึ่งเป็นอุปสรรค สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสาร ตัวของผลิตภัณฑ์ที่ต้องเป็นภาษาจีน ส่วนหนึ่งการเติบโตของเมืองเซี่ยงไฮ้เวลานี้ยังคงเป็นเรื่องการเติบโตทาง ด้านกายภาพ ในขณะที่คนยังเติบโตไม่ทันกับขนาดของเมือง

ชาวจีนเวลานี้ ยังอยู่ในช่วงของการเรียนรู้กับการปรับตัวสำหรับการเปลี่ยน แปลงที่เกิดจากสภาพการเติบโตของเมืองเซี่ยงไฮ้ เฉพาะอย่างยิ่งปัญหาในเรื่องของภาษาที่ดูจะเป็นอุปสรรคที่สำคัญในเวลานี้ เพราะชาวจีนส่วนใหญ่ยังคงใช้ ภาษาจีนกลางในการสื่อสาร

แม้กระทั่งในงาน CeBIT ชาวจีนส่วนใหญ่ยังใช้ภาษาจีนแมนดาริน การพูดคุยต้องผ่านล่ามตลอด แม้กระทั่งเจ้าหน้าที่ประจำบูธแสดงสินค้า ยังไม่สามารถสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าอีกไม่นาน จีนจะปรับตัวเพื่อการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้

ไม่เพียงแต่งานแสดงนิทรรศการด้านไอทีอย่าง CeBIT เซี่ยงไฮ้ยังถูกเลือกในการประชุมเอเปค และที่มากไปกว่านั้นก็คือการเป็นเจ้าภาพจัดงานโอลิมปิกที่จะมีขึ้นที่เมืองปักกิ่งในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า และนี่คือแง่มุมหนึ่งของประเทศที่กำลังทวีบทบาทและความสำคัญของการเป็นผู้นำในภูมิภาคเอเชีย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us