อะไรจะเกิดขึ้นหากผู้นำองค์กรได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจมากเกินไป? นี่คือประเด็นคำถามซึ่งหยิบยกมาให้คิดในหนังสือ
ซึ่งรวบรวมข้อเขียนของนักคิดนักปฏิบัติเรื่องภาวะผู้นำคนสำคัญๆ อย่าง ชาร์ลส์
แฮนดี้ (Charles Handy), โทมัส สจ๊วร์ต
(Thomas Stewart), ทอม ปีเตอร์ (Tom Peters), เจมส์ คูเซส์
(James Kouzes) และแบรี โพสเนอร์ (Barry Posner)
เจมส์ โอทูล แห่งบริษัทที่ปรึกษาบูซ อัลเลน แอนด์ แฮมิลตัน (Booz Allen
& Hamilton) ตั้งคำถามว่า เหตุใดองค์กรบางองค์กรจึงเดินหน้าไปได้เรื่อยๆ
ไม่ว่าใครจะเป็นผู้นำกิจการ และเหตุใดประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) บางคนประสบความสำเร็จอย่างเหลือเชื่อในการบริหารกิจการแห่งหนึ่ง
แต่กลับพาบริษัทอีกแห่งหนึ่งล้มไม่เป็นท่าอย่างไม่น่าเชื่อเช่นกัน (เขายกตัวอย่างกรณีจอร์จ
ฟิชเชอร์ ที่นำโมโตโรลาให้ก้าวหน้าไปอย่างดี แต่กลับไม่สามารถพลิกฟื้นกิจการของโกดักได้)
ข้อสรุปของโอทูลก็คือ ภาวะผู้นำนั้นไม่ได้ขึ้นกับตัวผู้นำ แต่ขึ้นกับลักษณะการดำเนินงานเฉพาะตัวขององค์กรต่างหาก
โอทูลเป็นผู้นำทีมวิจัยศึกษา ซึ่งมีบูซอัลเลนและศูนย์ศึกษาองค์กรที่มีประสิทธิภาพของมหาวิทยาลัยเซาเทิร์น
แคลิฟอร์เนีย ร่วมกันจัดทำเพื่อนำเสนอในที่ประชุม World Economic Forum ผลการศึกษาระบุว่าคุณภาพของผู้นำที่เป็นตัวบุคคลไม่ใช่สิ่งยืนยันว่าองค์กรจะประสบความสำเร็จ
แต่ระบบงาน กระบวนการดำเนินการ และวัฒนธรรมองค์กรต่างหากที่จะนำพาให้องค์กรประสบความสำเร็จ
ยิ่งไปกว่านั้น หากพิจารณาให้ละเอียดเราก็จะพบ
ด้วยว่า ภาระหน้าที่หลักๆ ของผู้นำองค์กรนั้นก็มีกำหนดไว้แล้วภายในระบบ ระเบียบวิธีการปฏิบัติงานและในวัฒนธรรมองค์กรนั่นเอง
เมื่อเป็นเช่นนั้น เราจะมีวิธีการอย่างไรในการจัดระบบภายในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นกำหนดเป้าหมายและวางแผน
การบริหารความเสี่ยง การสรรหาพนักงาน การพัฒนาบุคลากร การสื่อสารและการส่งถ่ายความรู้ในองค์กร
เพื่อให้พร้อมสำหรับผลักดันองค์กรให้เดินหน้าไป โดยไม่ต้องพึ่งพาแต่เพียงประธานเจ้าหน้าที่บริหารหรือผู้นำที่เป็นบุคคลเท่านั้น
แด่ วอเรน เบนนิส
ข้อเขียนที่รวบรวมอยู่ใน The Future of Leadership นำเสนอเป็นครั้งแรกเพื่อเป็นเกียรติแก่วอเรน
เบนนิส (Warren Bennis) ปรมาจารย์ด้านภาวะผู้นำคนสำคัญ เนื้อหาแบ่งออกเป็น
5 ส่วน ดังนี้
1. การเตรียมตัวรองรับอนาคต
2. องค์กรแห่งอนาคต
3. ผู้นำแห่งอนาคต
4. ผู้นำจะครองความเป็นผู้นำได้อย่างไร
5. ความคิดอ่านอันลึกซึ้งของผู้นำรุ่นใหม่
ข้อเขียนชิ้นแรกเป็นของเบนนิส โดยเป็นการเสนอประเด็นท้าทาย 12 ประการที่ผู้นำในปัจจุบันและในอนาคตต้องเผชิญ
อาทิ
- ความแตกต่างของความรู้ความสามารถ ไม่ใช่ว่าใครก็จะเป็นผู้นำได้ แต่การที่รายได้ของผู้นำกับพนักงานในองค์กรมีความแตกต่างกันอย่างมาก
(เช่นอาจจะต่างกันถึง 419 ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ) เป็นประเด็นที่น่าวิตก "เราไม่ควรวิตกกับการทำให้เกิดช่องว่างของรายได้แบบเดียวกับประเทศบราซิลหรอกหรือ"
- การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร ปรากฏการณ์ที่มีคนรุ่นหนุ่มสาวที่ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็วขณะเดียวกัน
คนรุ่นเก่าก็ยังแข็งแรงและทำงานได้ดีมีประสิทธิภาพ "เราจะทำอย่างไรกับคนรุ่นก่อนเหล่านี้"
เบนนิสตั้งคำถาม "แล้วกับพวกเศรษฐีน่าเบื่อล่ะ?"
- รักษาดุลของความต้องการทำงานและการให้เวลากับครอบครัว เบนนิสตั้งคำถามว่ามีใครบ้างไหมที่รักษาสมดุลของภาวการณ์สองอย่างนี้ได้จริง
- คำถามตั้งต้นของเบนนิสเป็นกรอบในการอภิปรายใน
การประชุมดังกล่าวและนำมาสู่ข้อสรุปในลักษณะข้อเขียนที่รวบรวมในหนังสือ ที่เหมาะกับผู้นำองค์กรทั้งในปัจจุบันและ
ผู้ที่เตรียมขึ้นสู่ตำแหน่งสูงสุดในอนาคต