Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2544
Brand New             
 





แนนซี เคิห์น (Nancy F. Koehn) ผู้เขียน Brand New นำเสนอเรื่องราวความสำเร็จในการสร้างชื่อยี่ห้อผลิตภัณฑ์จาก มุมมองทางประวัติศาสตร์ โดยใช้ตัวอย่างผู้ประกอบการ 6 รายเป็นกรณีศึกษา และไล่เรียงให้เห็นถึงความคิดอ่านอันลึกซึ้งของ ผู้ประกอบการเหล่านี้ตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน

เนื้อหาจะอิงอยู่กับชีวประวัติของผู้ประกอบการตั้งแต่ โจวิอาห์ เวดจ์วูด (Josiah Wedgwood) ผู้ริเริ่มกิจการถ้วยชาม ดินเผาแบบมียี่ห้อในศตวรรษที่ 18 เรื่อยมาจนถึงผู้ผลิตเครื่องสำอางเอสเต้ ลอเดอร์ ผู้เขียนสรุปว่าผู้ประกอบการทั้งหกราย มีลักษณะร่วมกันบางประการทางด้านความคิดอ่าน และน่าจะ ถือได้ว่าเป็นกุญแจสู่ความสำเร็จของบุคคลเหล่านี้ บทเรียนจากความต้องการ

ตัวอย่างที่เคิห์นศึกษามีดังนี้

*โจซิอาห์ เวดจ์วูด (Josiah Wedgewood) เป็นกิจการเครื่องถ้วยชามดินเผารายแรกที่มีการประทับตราชื่อยี่ห้อลงไปในสินค้า (ตั้งแต่ช่วงกลางศตวรรษที่ 18) จึงทำให้สินค้ามีเอกลักษณ์เฉพาะตน และเมื่อได้รับมอบหมายให้เป็นผู้จัดเครื่องถ้วยชามสำหรับชุดอาหารเย็นจำนวน 952 ชิ้น ถวายแด่แคทเธอรีน มหาราชินี เวดจ์วูดก็อาศัยสายสัมพันธ์ที่มีกับเชื้อพระวงศ์ต่างๆ สร้างชื่อสินค้าและเพิ่มยอดขาย อีกทั้งยังริเริ่มเทคนิคการผลิตเครื่องถ้วยชามแบบใหม่ เสริมกับบริการลูกค้าและการตลาดด้วย

*เอช เจ ไฮนซ์ (H.J.Heinz) ในปี 1875 เฮนรี ไฮนซ์ ล้มละลายและถูกจับข้อหาฉ้อโกง แต่ให้หลัง 25 ปี เขากลับเป็น ผู้สร้างบริษัทอาหารที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ และเป็นกิจการ ข้ามชาติยุคแรกๆ ด้วย ไฮนซ์เน้นการใช้กลยุทธ์ด้านการจัดซื้อ ที่หลากหลาย และผลิตสินค้ามากมายสู่ตลาด โดยโฆษณาชุด "57 varieties" มีการติดตั้งป้ายโฆษณาในสถานีรถไฟและตามสัญญาณไฟเป็นครั้งแรกที่แมนฮัตตัน นอกจากนั้นยังทำให้ลูกค้ามั่นใจในด้านความสะอาดไร้สิ่งเจือปนโดยเปิดให้เข้าเยี่ยมชม โรงงานด้วย *มาร์แชล ฟีลด์ (Marshall Field) ฟีลด์เริ่มงานจากการเป็นเสมียนในร้านค้าแห่งหนึ่ง แต่ท้ายสุดกลับสร้างกิจการร้านจำหน่ายเสื้อผ้าชั้นนำที่มีชื่อเสียงด้านคุณภาพและสไตล์ โดยเจาะกลุ่ม เป้าหมายที่เป็นสตรี ปี 1902 เขาเปิดร้านสาขาที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่ชิคาโกและมีผู้ร่วมงานวันเปิดร้านถึงกว่าครึ่งล้าน

*เอสเต ลอเดอร์ (Estee Lauder) โจเซฟีน เอสเตอร์ เมนต์เซอร์ (Josephine Ester Mentzer) คือผู้ก่อตั้งกิจการเครื่องสำอาง ชั้นนำ เอสเต ลอเดอร์ ซึ่งเป็นชื่อที่เธอเปลี่ยนมาใช้ในวันเริ่มต้นธุรกิจนี้ด้วย ลอเดอร์เป็นผู้ที่มีความละเอียดลึกซึ้งกับความต้องการของลูกค้า และเป็นผู้สร้างเอกลักษณ์ให้กับสินค้าโดยทำให้ลูกค้า เชื่อมโยงตนเองกับคุณภาพ การแสดงออกของตัวตน การริเริ่ม ความภาคภูมิใจ และการดูแลตนเอง นอกจากนั้น ลอเดอร์ยัง เชื่อว่า การแจกตัวอย่างสินค้าฟรีเป็นกลยุทธ์หนึ่งที่จะกระตุ้นยอดขายสินค้าใหม่ได้

*โฮวาร์ด ชูลตส์ (Howard Schultz) เช่น ร้านกาแฟ สตาร์บัคส์ (Starbucks) มีสาขาเพียง 6 แห่ง เมื่อชูลตส์เข้าไปรับงานผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการและการตลาดในปี 1982 แต่อีกสามปีต่อมาเขาลาออกไปเปิดร้านกาแฟของตนเองและหวนกลับมาซื้อกิจการสตาร์บัคส์อีกครั้งในปี 1986 พร้อมกับเปลี่ยนสไตล์ร้านเป็นแบบอิตาเลียน แม้เขาจะประสบการขาดทุนต่อเนื่องไปอีก 4 ปี แต่ในปี 1990 ก็สามารถทำกำไรได้อีกครั้ง และในปี 1999 ก็มีเชนร้านถึง 2,300 แห่งทั่วโลก

*ไมเคิล เดล (Michael Dell) ต้นปี 1982 เดลมียอดจำหน่ายคอมพิวเตอร์อัพเกรดและชิ้นส่วนประกอบ 80,000 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อเดือน แต่ภายในสิ้นปีนั้นเองยอดขายกลับพุ่งพรวดเป็น 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้เป็นผลจากการทุ่มกลยุทธ์โฆษณาผนวกกับการพัฒนาชื่อยี่ห้อสินค้าโดยใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ มีการควบคุม ฐานลูกค้าและเน้นการบริการ นอกจากนั้น ยังใช้อินเทอร์เน็ต สร้างสายสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับลูกค้าและเสนอบริการสนับสนุนต่างๆ ยอดขายทางเว็บไซต์ของเดลสูงถึงราว 40 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อวัน

เป็นหนังสือที่เน้นไปที่การดำเนินการของผู้ประกอบการซึ่งจัดการกับความต้องการของลูกค้าได้อย่างลงตัว จึงทำให้กิจการทั้งหกสามารถผ่านพ้นช่วงต่างๆ ในยุคที่มีการขยายตัว ทางเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงทางสังคม ที่มีผลต่อความต้องการของผู้บริโภค นับเป็นบทเรียนที่ควรค่าแก่การอ่านเพื่อศึกษาในเชิงธุรกิจที่มุ่งเน้นการสนองความต้องการของลูกค้า

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us