Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2544
ปัญหาขาดแคลนครู วิกฤติการศึกษาของอังกฤษ             
โดย สมศักดิ์ ดำรงสุนทรชัย
 





หากเปรียบเทียบกระบวนการศึกษา เป็นประหนึ่ง จักรกลในการผลิต โดยมีบุคลากรที่มีคุณภาพ เป็นผลิตผลที่สำคัญของกระบวนการนี้ ครู ซึ่งถือเป็นหน่วยสำคัญที่สุดในกระบวนการศึกษา ก็คงมีฐานะไม่แตกต่างจากฟันเฟืองที่ทำหน้าที่เคี่ยวกรำให้ได้ผลิตภัณฑ์คุณภาพ แต่จะเกิดอะไรขึ้น เมื่อกลไกสำคัญนี้กำลังบิดเบี้ยว จนอาจเรียกได้ว่าอยู่ในสภาพที่ชำรุด

ในขณะที่นักเรียนจากประเทศในซีกโลกตะวันออกต่างพยายามดิ้นรนเพื่อหลีกหนี จากระบบการศึกษาที่เชื่อว่าล้มเหลวจนถึงกับต้องมีการปฏิรูป ด้วยการเดินทางไปศึกษา ต่อในประเทศตะวันตก ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐ อเมริกา อังกฤษ นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย หรือประเทศอื่นๆ ที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง ภายใต้ความหวังที่จะได้รับการศึกษาในระดับคุณภาพที่สูงกว่านั้น ปรากฏว่าในประเทศอังกฤษ ซึ่งนับเป็นดินแดนที่มีผู้นิยมส่งบุตรหลานไปเล่าเรียนมากที่สุดแห่งหนึ่งกำลังเผชิญกับวิกฤติการณ์สำคัญ

การรับสมัครครูและการจูงใจให้อยู่ในอาชีพนี้ ได้กลายเป็นปัญหาหนักอกสำหรับ รัฐบาลอังกฤษมาอย่างต่อเนื่อง และไม่มีทีท่า ว่าจะสามารถแก้ไขให้ลุล่วงไปได้โดยง่าย แม้ ว่าจะมีการผลักดันมาตรการใหม่ๆ เพื่อรองรับกับปัญหานี้ก็ตามที ซึ่งผลพวงของ ความล้มเหลวจากระบบการวางแผนที่ย่ำแย่ กำลังผลิดอกออกผลโดยมีนักเรียนเป็นเหยื่อที่แท้จริง

ปัญหาภาวะขาดแคลนครูของอังกฤษ ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะหลังจากที่การฝึกหัดครู ได้รับความนิยมอย่างสูงในช่วงทศวรรษที่ 1970 ต่อเนื่องถึงช่วงต้นของทศวรรษที่ 1980 แล้ว ดูเหมือนว่าแนวโน้มของการถดถอยในสาขาวิชาชีพนี้กลับกลาย เป็นสิ่งที่สามารถสังเกตได้อย่างชัดเจนตลอดช่วงทศวรรษที่ 1990

นักเศรษฐศาสตร์ ได้ลงมือทำการวิจัย เมื่อ 5 ปีที่แล้ว และพบว่าบุคลากรผู้สอนวิชา คณิตศาสตร์ลดลงอย่างมาก ซึ่งในขณะนั้นรัฐบาลได้ดำเนินความพยายามที่ จะเพิ่มจำนวนนักเรียนในสถาบันฝึกหัดครูให้มากขึ้นอีก 30% ในช่วง 5 ปี เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว กระนั้นก็ดี เป้าหมายที่กำหนดไว้ไม่สามารถปฏิบัติให้บังเกิดผลได้จริง แม้ว่ารัฐบาลพรรคแรงงานจะพยายามนำเสนอแรงกระตุ้นอื่นๆ ทั้งเงินอุดหนุนและโอกาสสำหรับโรงเรียนในการคัดเลือกและบรรจุอัตราครูก็ตาม

อาชีพครูได้กลายเป็นอาชีพที่ไม่ดึงดูด ใจหรือหากกล่าวให้ถึงที่สุด ครูได้กลายเป็นอาชีพไม่มีใครพึงปรารถนาอยากจะเป็นไปเสียแล้ว และทั่วทุกภาคส่วนของอังกฤษก็เผชิญกับปัญหาด้านคุณสมบัติของผู้ที่มาเป็น ครูไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน การเปิดภาคเรียนใหม่ประจำปีการศึกษาซึ่งจะเริ่มขึ้นในเดือนกันยายนนี้ คาดว่า การขาดแคลนอัตราครูจะส่งผลให้โรงเรียนหลายแห่งในอังกฤษ ถูกบังคับให้ลดจำนวนวันในการเรียนการสอนลงเหลือเพียง 4 วันต่อสัปดาห์ ขณะที่อีกบางแห่งจะปรับชั่วโมงเรียนและวิธีอื่นๆ เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว

สิ่งที่น่าเป็นห่วงในขณะนี้ก็คือ มาตรฐานการศึกษาที่ลดลง เพราะโดยปกติผู้สอนในโรงเรียนของรัฐจะต้องได้รับประกาศ- นียบัตรวิชาชีพครู หรือ Post Graduate Certificate of Education (PGCE) แต่ปรากฏ ว่าปัจจุบัน โรงเรียนหลายแห่งต้องว่าจ้างบุคลากรจากสาขาต่างๆ มาทำการสอนวิชา พิเศษเฉพาะทาง เช่น เต้นรำ และพลานามัย เพื่อลดปัญหาชั่วโมงเรียนขาดหาย

ทั้งนี้ยังไม่นับรวมถึงกรณีของโรงเรียน ระดับมัธยมศึกษาบางแห่ง ที่เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ (lab technician) ซึ่งเรียนสำเร็จมาทางด้านวิชาชีววิทยา ต้องเข้าสอนนักเรียน ในวิชาอิเล็กทรอนิกส์ อีกด้วย ภาระหนักอันเป็นผลพวงของปัญหาดังกล่าวนี้ ดูจะตกหนักอยู่ที่ครูอาจารย์ที่ยังทำการสอนอยู่ในโรงเรียนตามปกติ เพราะพวกเขาต้องสอนนักเรียนในสัดส่วนของกลุ่ม ที่ใหญ่ขึ้น รวมถึงการสอนในรายวิชาที่ไม่ใช่สาขาที่พวกเขาถนัดหรือเชี่ยวชาญมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว บรรดาครูชั้นผู้ใหญ่ที่ก้าวขึ้น สู่ตำแหน่งบริหาร ซึ่งไม่มีตารางการสอนจะเป็นผู้รับภาระดังกล่าวนี้

ความขาดแคลนครูไม่ได้ส่งผลกระทบ เพียงเรื่องของจำนวนนักเรียนต่อห้องมากขึ้น เท่านั้น หากแต่สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นเมื่อจำนวนครูในโรงเรียนต่างๆ ลดลงก็คือ การอบรมพัฒนาบุคลากรด้านการศึกษากลายเป็นสิ่งที่ เกิดขึ้นได้ยากไปด้วย และนำไปสู่วงจรของการลดต่ำลงในคุณภาพการศึกษาอย่างไม่ต้องสงสัย

ขณะเดียวกัน ภาวะดังกล่าวได้ส่งเสริมให้บุคลากรด้านการศึกษาแสวงประโยชน์พิเศษ ท่ามกลางความคิดคำนึงที่เกี่ยวเนื่องอยู่เฉพาะสมการว่าด้วยชั่วโมงการ ทำงานและผลตอบแทนที่จะได้รับ และเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ธุรกิจตัวแทนและการจัดหาครูเกิดขึ้นราวดอกเห็ด ซึ่งด้วยวิธีการเช่นนี้การเรียกร้องค่าตอบแทนและเงื่อนไขต่างๆ ในระดับสูงย่อมมีประสิทธิภาพมากกว่าการกระทำโดยครูในฐานะปัจเจก และทำให้สถาบันการศึกษาแต่ละแห่งจำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายด้านนี้มากขึ้น แทนที่จะนำเงินไปใช้จ่ายในทรัพยากรอื่นๆ

หนทางและมาตรการในการแก้ไขปัญหาขาดแคลนครู และความตกต่ำของมาตรฐานการศึกษา ในประเทศอังกฤษ ที่ดำเนินมาสู่ทางแพร่งเช่นนี้ ยังไม่ปรากฏชัดว่าจะมีลักษณะเช่นไร แต่สิ่งหนึ่งที่สามารถรับรู้ได้อย่างชัดเจนในเวลานี้ก็คือ แรงกดดัน ที่เกิดขึ้นกับบรรดาครูในสถานศึกษาแต่ละแห่งและนักเรียน ซึ่งมีฐานะเป็นผู้รับผลนี้อย่าง เต็มที่

ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นนี้ น่าจะเป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งในการส่งบุตรหลานไปเล่าเรียน ยังต่างประเทศของผู้ปกครองชาวไทยพอสมควร เพราะคงไม่มีผู้ใดปรารถนาที่จะเผชิญกับวิกฤติการณ์ ที่ไม่แตกต่างจากการหนีเสือปะจระเข้ เช่นนี้อย่างแน่นอน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us