Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2543
หมากกระดานที่มีชีวิตของก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์             
 


   
search resources

ก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์




ก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ประธานกรรมการบริหารบริษัทซี.พี.เซเว่นอีเลฟเว่น จำกัด (มหาชน) คือ จอมยุทธ์หมากล้อมของเมืองไทย ที่เซียนหมากล้อมทุกคนยอมสยบในฝีมือ

"โกะ" หรือ "หมากล้อม" ในภาษาไทย "เหวยฉี" ในภาษาจีน เป็นกีฬาหมากกระดานชนิดหนึ่ง ที่มีประวัติความเป็นมากว่า 3 พันปี โกะเป็น 1 ใน 4 ของศิลปะประจำชาติของจีน ซึ่งประกอบด้วย ดนตรี โครงกลอน การวาดภาพ และหมากล้อม ชาวจีนเปรียบเทียบการเล่นโกะไว้ว่า "เสมือนการสนทนาด้วยมือ" บางคนว่า "เหมือนฝิ่นของปัญญาชน" บางคนบอกว่าเป็น "หมากกระดาน ที่มีชีวิต"

ความสำคัญของโกะมิใช่เป็นเพียงศิลปะในการเล่นเกมกีฬา ที่ สนุก ตื่นเต้น และท้าทายเท่านั้น แนวความคิด และปรัชญา ที่เกิดจากทักษะ และความชำนาญของผู้เล่น เช่น การวางแผน การบริหารทรัพยากร ที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประสิทธิภาพ และผลตอบแทนสูงสุด ประสบการณ์เหล่านี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับงานด้านการบริหาร การปกครอง และแม้กระทั่งการดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างชาญฉลาด

"เรามองประเทศไทยทั้งประเทศเป็นเสมือนกระดานหมากล้อม (โกะ) กระดานหนึ่งเร่งเปิดร้านค้าของเราในจุดยุทธศาสตร์ ที่สำคัญ" ก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ เคยกล่าวเอาไว้ และด้วยความ ที่มั่นใจว่า หมากล้อม เป็นตัวแทนของสมรภูมิรบ เป็นยุทธจักรบู๊ลิ้ม ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับชีวิตจริงได้ทั้งทางด้านธุรกิจ และครอบครัว เขาจึงฝึกฝน และหลงใหลมันอย่างมากๆ ในขณะเดียวกันก็ได้ทำทุกวิถีทาง เพื่อให้การเล่นกีฬาประเภทนี้แพร่หลายในเมืองไทย

จุดสำคัญ ที่ทำให้ก่อศักดิ์สนใจเล่นหมากล้อมเป็นเพราะเขาเรียนภาษาจีนมาตั้งแต่เป็นเด็กชั้นประถม และยังเป็นคนที่ชอบอ่านนิยาย และวรรณกรรมของจีนเป็นอย่างมากจนถึงทุกวันนี้ จากการอ่านทำให้เขาทราบว่าหมากล้อม เป็นศิลปะชนิดหนึ่ง ที่บรรดาบัณฑิตของจีนให้ความสนใจ และยังเป็นกีฬาทางสมองของผู้บริหารปกครองประเทศ ทั้งจีน เกาหลี ญี่ปุ่น นิยมเล่นกัน และผู้บริหารประเทศเหล่านั้น ก็จะได้แง่คิด และปรัชญาชีวิตมากมายจากการเล่นกีฬาประเภทนี้ นักเขียนชาวจีนหลายคนที่เขาชื่นชอบส่วนใหญ่จะเล่นหมากล้อมเป็นกันทุกคนด้วย

แต่ในช่วงเวลาหลายปีตั้งแต่วัยเด็กจนย่างเข้าวัยรุ่น ก่อศักดิ์รู้จักหมากล้อมจากตัวหนังสือเท่านั้น แต่ไม่เคยได้เล่นอย่างจริงจังเลย สิ่งที่เขาเล่นได้ดีกลับเป็นหมากรุกจีน ที่เล่นกันแพร่หลายทั่วไป

"ถ้าหมากล้อมเทียบเท่ากับการเล่นโขน หรือละครในสถานที่ผู้ดีดู หมากรุกจีนจะเป็นได้เพียงลิเก ที่ชาวบ้านดูเท่านั้น " ก่อศักดิ์เปรียบ เปรยให้ฟัง แต่อย่างไรก็ตามเขาก็ไม่มีโอกาส ที่จะฝึกเล่นหมากล้อมเลย

จนวันหนึ่งในสมัยเรียนมัธยมเขาได้ไปเจอหนังสือภาษาจีนเล่มหนึ่งแนะนำเกมบนกระดาน 30 ประเภท ซึ่งมีหมากล้อมอยู่ด้วย จึงได้เริ่มหัดเล่นตั้งแต่นั้น มา แต่เมื่อเล่นไปตามทฤษฎี แต่ไม่เข้าใจความลึกล้ำของกลยุทธ์ต่างๆ ไม่มี คู่ซ้อม ที่จะร่วมกันคิดค้นกระบวนท่าในการเดินหมาก การดวลเม็ดหมากบนกระดานก็ไม่ใช่เรื่องตื่นเต้น เร้าใจ อีกต่อไป ก็เลยหยุดเล่นนับแต่นั้น มา

เวลาผ่านไปจนถึงปี พ.ศ.2526 ก่อศักดิ์ได้ดำรงตำแหน่งเป็นรองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหาร รับผิดชอบการค้าระหว่างประเทศ บริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด ประจำ ฮ่องกง จึงมีโอกาสได้กลับมาสัมผัสกับหมากล้อม กีฬา ที่ตนเองมีความประทับใจมานานอีกครั้งหนึ่ง เพราะนักธุรกิจชาวญี่ปุ่น และจีนส่วนใหญ่จะเล่นหมากล้อมเป็น ดังนั้น แทน ที่ก่อศักดิ์จะออกรอบเล่นกอล์ฟ เพื่อสร้างสัมพันธ์ทางธุรกิจก็กลายเป็นนั่งโต๊ะเล่นโกะแทน

อย่างไรก็ตาม ในครั้งนี้เขาก็ยังไม่ได้เล่นหมากล้อมอย่างเข้าใจ เพื่อนชาวญี่ปุ่นไม่มีใคร ที่จะให้ความสำคัญกับการสอนเขาอย่างจริงจัง ที่สำคัญภาษาจะเป็นอุปสรรค ที่สำคัญในการสื่อสาร คนญี่ปุ่นพูดอังกฤษนั้น ฟังให้เข้าใจก็ยากมากอยู่แล้ว ยิ่งเป็นภาษาญี่ปุ่น ที่เกี่ยวกับหมากล้อมก็เพิ่มความงุนงงเข้าไปอีก และเมื่อไม่มีใครสอนเขาก็ได้มุมานะพอสมควรทีเดียว ที่จะเล่นให้เก่ง โดยการพยายามค้นหาตำราเกี่ยวกับการเล่นหมากล้อมมาศึกษาด้วยตัวเองโดยเอาญี่ปุ่นเป็นคู่ซ้อม

"หมากล้อม 10 นาทีก็เล่นเป็นแล้ว แต่คุณต้องใช้เวลาทั้งชีวิตจึงจะเล่นให้เก่งได้" ก่อศักดิ์อธิบายให้ฟัง และด้วยความยากของมัน ดังนั้น เรียนมา 4 ปี ก่อศักดิ์จึงได้แค่ 2 คิวเท่านั้น (ผู้เล่นจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มผู้เริ่มเรียนรู้ เรียกว่า คิว จะเริ่มตั้งแต่ 15 คิว เมื่อสามารถเล่นได้แล้วพัฒนาเก่งขึ้นเรื่อยๆ เป็น 14, 13, 12 จนถึง 1 คิว ณ จุดนี้เปรียบเหมือนได้เรียนเทคนิคการเล่นต่างๆ มาครบถ้วนแล้ว จะทำการสอบ Comprehensive เพื่อขึ้น 1 ดั้ง (ระดับอาจารย์) จากนั้น ก็จะพัฒนาฝีมือเก่งขึ้นเรื่อยๆ เป็น 2, 3, 4 จนถึง 9 ดั้ง)

"โชคดี ที่ต่อมา เพื่อนชาวญี่ปุ่นได้แนะนำผมให้รู้จักกับอาจารย์โฆษา อารียา ท่านเป็นคนไทย ที่ไปสอนหนังสืออยู่ ที่ญี่ปุ่น จนถึงทุกวันนี้อยู่ ที่ญี่ปุ่นเป็นเวลา 40 กว่าปีมาแล้ว ท่านจะมาเมืองไทยปีละครั้ง 2 ครั้ง เป็นคนที่เล่นหมากล้อมเก่งมาก เป็นแชมป์จังหวัดนารา ที่ญี่ปุ่น ก็เลยโชคดี ได้อาจารย์เป็นคนสอนผม จนเข้าใจในหัวใจของหมากล้อม"

หมากล้อมมีจุดกำเนิดในประเทศจีน แต่ปัจจุบันเฟื่องฟูที่สุดในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีคนเล่นประมาณ 10 ล้านคน และมีนักเล่นมืออาชีพประมาณ 500 คน ขณะที่ในจีนมีเพียง 200 คนเท่านั้น เป็นเพราะในญี่ปุ่นมีการจัดการแข่งขันอย่างมีมาตรฐาน และต่อเนื่องมาโดยตลอด

หลังจากนั้น ก็ได้ก่อตั้งชมรมหมากล้อมแห่งประเทศไทยขึ้น เมื่อปี 2536 โดยใช้ชั้น 2 ของเซเว่นอีเลฟเว่น สาขางามดูพลีเป็นที่ทำการชมรมเป็นแห่งแรก และเขาก็เป็นประธานชมรมคนแรกถึงปัจจุบัน ขณะนี้ชมรมตั้งอยู่ ที่ชั้น 2 ของอาคารสีบุญเรือง 1 มีสมาชิกประมาณ 2,000 คน ตัวเลขยอดขายกระดานหมากล้อมในเซเว่นอีเลฟเว่น และ ที่ชมรมรวมกันประมาณ 5 หมื่นชุด หากตัวเลขนี้ไม่ผิดพลาดก็คาดว่ามีคนเล่นหมากล้อมในเมืองไทยไม่ต่ำกว่า 1 แสนคน

ส่วนตัวเขาเองมุ่งฝึกฝนจนสอบได้ขั้น 5 ดั้ง และเป็น 5 ดั้งคนเดียวของประเทศไทย รองลงมาคือ 4 ดั้ง ซึ่งมีเพียง 2 คนเท่านั้น และเมื่อเร็วๆ นี้ เขาได้เปิดตัวหนังสือชื่อ "ท่องยุทธจักรหมากล้อม" ซึ่งเป็นการบันทึกการดวลฝีมือบนกระดานหมากล้อมของจอมยุทธ์ครั้งสำคัญทั่วโลก หลังจากประสบ ความสำเร็จจากการเขียนหนังสือเล่มแรก "ก้าวแรกสู่หมากล้อม" ไปแล้วก่อนหน้านี้

นอกจากงานของชมรมก่อศักดิ์ยังได้บุกเบิกเผยแพร่หมากล้อมภายในองค์กรของบริษัท และได้ขยายเข้าสู่สถาบันการศึกษา จนได้รับการบรรจุอย่างเป็นทางการในกีฬามหาวิทยาลัยครั้ง ที่ 23 เมื่อปี 2539

ทุกวันนี้ เมื่อไปติดต่อธุรกิจต่างประเทศ ไม่ว่าฮ่องกง จีน เซี่ยงไฮ้ ก่อศักดิ์จะต้องหาโอกาสไปพบกับเซียนของเมืองนั้น ๆ หรืออาจารย์มืออาชีพ เพื่อฝึกปรือฝีมืออย่างสม่ำเสมอ

คลื่นลูกหลังไล่คลื่นลูกหน้า คนรุ่นใหม่แทน ที่คนรุ่นเก่า โลกจึงพัฒนาก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง เฉกเช่นกัน ยุทธจักร หมากล้อมก็ต้องมีหน่ออ่อนคอยแตกใบใหม่อยู่เสมอ

"ผมเชื่อว่าต่อไปต้องมีคนเก่งกว่าผม ความพร้อมเรื่องวัย เป็นเรื่องสำคัญในการเล่น และผมพร้อม ที่จะสนับสนุนพวกเขาเหล่านั้น เพราะผมเชื่อว่าปัญญาชนทั่วโลกในศตวรรษหน้าจะหันมาเล่นหมากล้อม" ก่อศักดิ์ทิ้งท้ายไว้อย่างมั่นใจ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us