Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2544
Interbrew ซื้อ Beck             
โดย ฐิติเมธ โภคชัย
 


   
www resources

Homepage Interbrew
Becks Beer Homepage

   
search resources

Interbrew




Interbrew ยักษ์ใหญ่ด้านตลาดเบียร์เบอร์ 2 ของโลก ซื้อ Beck สัญชาติเยอรมัน 1.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อขยายฐานลูกค้าในภูมิภาค

การรุกอย่างรวดเร็วเข้าสู่เยอรมนีของ Interbrew สัญชาติเบลเยียม เกิดขึ้น ในระยะใกล้เคียงกัน โดยในปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาเข้าถือหุ้น 80% ใน Diebels บริษัทเบียร์อันดับ 10 ของเยอรมนี แต่ไม่ได้เปิดเผยตัวเลขการลงทุนครั้งนั้น

ในเดือนถัดมา Interbrew ได้ตัดสิน ใจใช้เงินสด 3.5 พันล้านดอยช์มาร์ก หรือ 1.6 พันล้านเหรียญสหรัฐในการซื้อ Beck ยักษ์ใหญ่อันดับ 4 ในธุรกิจเบียร์เยอรมัน นอกจากนี้ Interbrew ยังต้องรับภาระหนี้ของ Beck จำนวน 60 ล้านยูโรอีกด้วย

สาเหตุการเข้าซื้อธุรกิจเบียร์ทั้งสองแห่งของ Interbrew เพื่อต้องการเลื่อน สถานะตนเองให้เป็นผู้ครองส่วนแบ่งตลาด เบียร์ขนาดใหญ่ที่สุดในยุโรป "Beck เป็นองค์กรเหมาะสมภายใต้กลยุทธ์การควบรวมกิจการของเรา และการพัฒนายี่ห้อให้ แข็งแกร่งในตลาดท้องถิ่น" Hugo Powell ประธานบริหารของ Interbrew กล่าว

ก่อนหน้านี้ Powell สามารถเพิ่มขนาดองค์กรขึ้นได้เกือบเท่าตัวจากตลาด โดยเฉพาะการจำหน่ายเบียร์ยี่ห้อ Stella Artois, Labatt และ Rolling Rock นอกจาก นี้ยังมาจากการเข้าเทกโอเวอร์กิจการในเอเชียและยุโรปอีก 6 แห่ง รวมถึงการซื้อธุรกิจเบียร์ในสหราชอาณาจักร Whitbread และ Bass เมื่อปีที่แล้ว

การดำเนินการรูปแบบดังกล่าวเกิดจากความมุ่งมาดปรารถนา ที่จะเข้าไปแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดในยุโรปจาก Heineken คู่แข่งที่สำคัญ แต่หากพิจารณาเฉพาะ ปริมาณผลิตภัณฑ์แล้ว Interbrew เป็นรองแค่ Anheuser- Busch เจ้าของเบียร์ยี่ห้อ Bud ที่มีฐานการผลิตในเซ็นต์หลุยส์

เดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว Interbrew ประสบความสำเร็จในการซื้อ Whitbread Beer ยักษ์ใหญ่เบอร์ 3 ของสหราชอาณาจักรด้วยเม็ดเงิน 590 ล้านเหรียญสหรัฐ

ขณะเดียวกันก็ล้มเหลวในการซื้อ Bass Brewers จากบริษัท Bass แม้ว่าจะเสนอ เงินสูงถึง 3.3 พันล้านเหรียญสหรัฐเมื่อเดือนสิงหาคมในปีที่ผ่านมา จากอุปสรรคของกฎหมายสหราชอาณาจักรที่มองว่าเป็นเรื่องการผูกขาดตลาด

อย่างไรก็ตาม ประเด็นดังกล่าวไม่ใช่ ว่า Interbrew จะหมดความหวังไปเสียทีเดียว ถ้าหากพวกเขายินยอมขายเบียร์บางยี่ห้อของ Bass ออกไป ดีลนี้ก็ดำเนินต่อไปทันที และหากถึงจุดนั้น Interbrew จะมีส่วนแบ่งตลาดเบียร์ในสหราชอาณาจักรถึง 32%

สำหรับการซื้อ Beck เป็นเรื่องที่ Interbrew มีความมั่นใจสำหรับอนาคต "เป็น ศักยภาพสูงสุดทั้งด้านปริมาณและมูลค่า" Luc Missorten เจ้าหน้าที่บริหารการเงินของ Interbrew บอก

อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์ระบุว่ามูลค่า ของ Beck สูงเกินไป แต่ก็ไม่เป็นปัญหาต่อ Interbrew ในการสร้างผลกำไรด้วยการเพิ่มการส่งออกไปยังบางประเทศ เช่น อเมริกา ซึ่งเป็นตลาดที่ Beck ส่งออกเป็นอันดับหนึ่งอยู่แล้ว

"มันไม่ใช่ราคาถูกๆ" Han Van Lamoen นักวิเคราะห์จาก Delta Lioyd Bank ในเนเธอร์แลนด์กล่าว "แต่ถ้าพวกเขาสามารถใช้ประโยชน์ของเครือข่ายแล้วดันยอดขายเพิ่มได้ 20% จะเป็นเรื่องที่ยอดเยี่ยม แต่ถ้าทำไม่ได้จะเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่า"

การรุกเข้าสู่เยอรมนีครั้งนี้เป็นการรวมกิจการที่จะสร้างศักยภาพอันยิ่งใหญ่ให้ กับ Interbrew เพราะได้ซื้อเบียร์ยี่ห้อชั้นนำระดับโลกเพื่อเพิ่มผลประกอบการให้สำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม

สำหรับราคาของดีลนี้ Interbrew ยอม รับว่าเป็นมูลค่าในระดับที่ใจกว้างอย่างมาก อย่างไรก็ตามบริษัทยินดีที่จะจ่าย เนื่องจากมองเห็นความแข็งแกร่งของ Beck ในการทำ การตลาดในเยอรมนี "เหตุผลที่เราซื้อเพราะ สนใจยี่ห้อ ซึ่งเป็นชื่อที่ดีมากสำหรับตลาดโลก" Corneel Maes โฆษกของ Interbrew บอก

เช่นเดียวกับความเห็นของ Johan van Geeteruyen นักวิเคราะห์แห่ง Petercam SA ในกรุงบรัสเซลส์ "พวกเขาจ่ายในราคาที่สูงอย่างแท้จริง ในระยะสั้นอาจจะเป็นความ กดดัน แต่ในระยะยาวเป็นกลยุทธ์ที่ดีสำหรับ Interbrew"

กระนั้นก็ดี van Geeteruyen ยังเป็นห่วงกรณีการโปรโมต Beck ในตลาดอเมริกา เพราะต้องเจอกับคู่แข่งที่สำคัญอย่าง Heine-ken "ตลาดเบียร์นำเข้าในอเมริกา Heineken เข้าครอบคลุมทั้งหมดแล้ว ซึ่งเป็นการเดิมพันครั้งสำคัญของ Interbrew ในการเข้าไปยึดตลาด"

อย่างไรก็ตาม นี่คือจุดเริ่มต้นที่ดีและ ดูเหมือนจะเป็นชัยชนะของ Interbrew ยกแรก เพราะคู่แข่งที่เจรจาขอซื้อ Beck และพ่ายแพ้ นั้นล้วนแล้วแต่เป็นคู่แข่งทั้งนั้น ได้แก่ Anheuser-Busch และ Scottish & Newcastle Breweries

ในปี 1873 Heinreck Beck นักปรุงเบียร์, Luder Rutenberg ผู้ก่อสร้าง และนักธุรกิจอย่าง Thomas May รวมตัวกันเพื่อจัดตั้งบริษัทผลิตเบียร์ชื่อ Beck&Co ในเมืองเบรเมนและโรงงานแล้วเสร็จในปี 1875 โดยช่วงแรกผลิตขายเฉพาะตลาดท้องถิ่น จนกระทั่งปี 1900 เริ่มส่งออกไปต่างประเทศ ในปี 1917 บริษัทเทกโอเวอร์กิจการเบียร์ท้องถิ่น Wilhelm Remmer และในปี 1921 เข้าควบรวมกิจการกับ Hemelinger Brauerei และ C.H.Haake Brauerei แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น Brauerei Beck & Co. ในปี 1948

ปัจจุบัน Beck เข้าไปตีตลาด 120 ประเทศทั่วโลก มีเบียร์หลายยี่ห้อ อาทิ Beck Dark, Haake-Beck Dunkel, Haake-Beck Pils และ Rostocker

ส่วนประวัติศาสตร์ของธุรกิจเบียร์เบลเยียม เริ่มจากพระแห่งโบสถ์ Leffe Abbey ที่รู้จักปรุงเบียร์มาตั้งแต่ปี 1240 จนกระทั่งปี 1366 โรงผลิตเบียร์ Den Horen ได้ถูกบันทึกไว้ว่าเป็นโรงเบียร์ที่อยู่รอดจากยุคเริ่มต้น

ในปี 1717 นักปรุงเบียร์ชื่อ Sebastien Artois เจ้าของเบียร์ยี่ห้อ Stella Artois เข้าซื้อกิจการ Den Horen จากนั้นในปี 1853 ตระกูล Piedboeuf ก่อตั้งโรงผลิตเบียร์ขึ้นอีกแห่งโดย ใช้ยี่ห้อ Jupiler อีก 67 ปีต่อมาบริหารงานโดย Albert Van Damme ขณะที่ตระกูล Artois และ Piedboeuf ได้ขยายกิจการออกไปด้วยการเทกโอเวอร์โรงผลิตเบียร์ โดยแต่ละตระกูลให้ทายาทของตนเองเป็นผู้บริหาร จนกระทั่งในปี 1987 แต่ละฝ่ายเห็นว่าหากต้องการเห็นการเติบใหญ่ควรควบรวมกิจการกันซึ่งกลายเป็นบริษัท Artois-Piedboeuf Interbrew ในปี 1989 บริษัทได้ควบรวมกิจการกับโรงผลิตเบียร์ Hoegaarden จากนั้นอีก 3 ปีถัดมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น Interbrew พร้อมกับรวมกิจการกับ Belgian brewery และซื้อกิจการเบียร์ในบัลกาเรีย, โครเอเทีย และฮังการี และในปี 1995 ซื้อกิจการ Oranje-boom ในเนเธอร์แลนด์ ปี 1998 จ่ายเงิน 250 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อถือหุ้น 50% ใน Doosan Group Oriental กิจการเบียร์อันดับ 2 ของเกาหลีใต้ และเทกโอเวอร์ Russian brewer Roser ปีถัดมาซื้อ Sun Brewing กิจการเบียร์เบอร์ 2 ของ รัสเซีย พร้อมกับซื้อ Korea Jinro-Coor Brewery

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us