Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2544
Super Holding Super Hoping             

โดย ฐิติเมธ โภคชัย
 


   
search resources

บรรษัทรัฐวิสาหกิจแห่งชาติ




วิธีการกอบกู้เศรษฐกิจและสร้างรายได้ให้กับประเทศ ทางหนึ่งต้องแปรรูปรัฐวิสาหกิจ แต่จากอุปสรรคที่ไม่เอื้อต่อ การดำเนินการ รัฐบาลชุดนี้จึงแกไขด้วยการจัดตั้ง บรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติขึ้นมา

บรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติ หรือ บวช. มีชื่อตามภาษาอังกฤษว่า State Investment Corporation : SIC แต่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า Super Holding กำลังเป็นองค์กรแห่งความหวังต่อรัฐบาลชุดปัจจุบันเกี่ยวกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน

Super Holding มีหน้าที่กำหนดนโยบายในการพัฒนาและบริหารรัฐวิสาหกิจ และสามารถตัดสินใจได้ในเชิงกลยุทธ์ โดยโอนรัฐวิสาหกิจเข้ามาบริหารแทนรัฐบาล

หมายความว่าองค์กรดังกล่าวจะนำรัฐวิสาหกิจทั้งหลายเข้ามาดูแลแล้วทำให้กลายเป็นบริษัทจำกัด พยายามปรับปรุงหรือ บริหารทรัพย์สินของรัฐวิสาหกิจให้มีคุณภาพ มากขึ้น

"ภาครัฐมีรัฐวิสาหกิจเต็มไปหมด ถ้า หากมีองค์กรในรูปแบบโฮลดิ้งคอมปานีขึ้นมาบริหารด้วยมืออาชีพจะส่งผลให้การบริหาร งานที่มีอยู่ดีขึ้น" ดร.อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม นักวิชา การคลัง 9 ชช., กระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มวิเคราะห์การแปรรูปรัฐวิสาหกิจกล่าว โดยเป้าหมายหลักของรัฐวิสาหกิจทั้งหมดภายใต้การบริหารงานของ Super Holding คือ การแปรรูปเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ภายใน 3 ปีข้างหน้า โดยภาครัฐต้องลดสัดส่วนการถือหุ้นลงแต่รัฐ วิสาหกิจเหล่านั้นยังอยู่ในโฮลดิ้งคอมปานีต่อไป

"พวกเขาไม่ได้เข้มงวดเกินไปที่จะแปรรูปได้ทั้งหมด แต่ก็น่าจะทำได้เนื่องจากขั้นตอนการทำงานลดน้อยลง" ขนิษฐา สรรพอาษา กรรมการผู้จัดการทรีนีตี้ แอ็ดไว ซอรี่ 2001 กล่าว

เหตุผลในการจัดตั้ง Super Holding ของทางการไทย ที่เห็นว่าน่าจะมีองค์กรที่เหนือคนอื่น ต้องมีอำนาจเด็ดขาดที่จะทำอะไรสักอย่างจากที่ในอดีตถึงปัจจุบันยังไม่เคยมี เพราะประเทศอื่นๆ โดยทั่วไปแล้วกระทรวงการคลังจะเป็นผู้มีอำนาจเด็ดขาด แต่ประเทศไทยกลับไม่ได้เป็นเช่นนั้น รัฐวิ-สาหกิจแต่ละแห่งจัดตั้งขึ้นตามวัตถุประสงค์ ในพระราชบัญญัติ ทำให้กระทรวงการคลังไม่เคยมีอำนาจเด็ดขาดเช่นประเทศอื่นๆ จึง จำเป็นต้องมีโฮลดิ้งคอมปานีขึ้นมา

สำหรับรูปแบบการจัดตั้ง Super Holding ขึ้นมาครั้งนี้ รัฐบาลได้ศึกษารูปแบบในหลายประเทศ เช่น เยอรมนี สิงคโปร์ และ อิตาลี จากนั้นก็กลายมาเป็นรูปแบบของไทย คือ มีโครงสร้างลักษณะแห่งความเป็นไทย

"ได้เกิดวิวัฒนาการที่เหมาะสมในบ้านเราว่าการที่รัฐวิสาหกิจจะเข้าจดทะเบียน มีความซับซ้อน การที่รัฐมนตรีเข้ามาดูแลอย่างใกล้ชิดจะทำให้การทำงานรวดเร็วขึ้น" ดร.อารีพงศ์บอก

อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาถึงรูปแบบการบริหารงานของ Super Holding ดูเหมือนจะมีความใกล้เคียงกับโฮลดิ้งของ Temasek ของสิงคโปร์ซึ่งถือเป็นตัวอย่างองค์กรที่ดี

"แน่นอนว่าไทยไม่เหมือนกับประเทศ ใดๆ ทั้งนั้น สำหรับกรณีสิงคโปร์กับไทยอาจ จะมีบางอย่างที่คล้ายๆ กัน แต่ความแตกต่างย่อมมีแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องขนาดประเทศ จำนวนประชากร ระดับการพัฒนา เศรษฐกิจซึ่งสิงคโปร์พัฒนาไปมากกว่าและไทยก็ยังต้องตามมาอีก" ไซมอน เลียรี่ กรรม การสายงานที่ปรึกษาด้านการปรับโครงสร้าง ภาครัฐและการจัดหาเงินทุนสำหรับโครงการ ประจำประเทศไทยและอินโดจีน ไพร้ซวอเตอร์ เฮาส์คูเปอร์สกล่าว

นอกจากนี้ตัวผลักดันเศรษฐกิจของ 2 ประเทศนี้จะไม่เหมือนกัน โดยสิงคโปร์เน้นภาคบริการและเทคโนโลยี ขณะที่ไทย เน้นด้านการผลิตและการเกษตร "อย่านำ 2 ประเทศนี้มาเปรียบเทียบกัน" เลียรี่เล่าว่า "Temasek มีผลต่อสิงคโปร์แห่งเดียว รูปแบบ นี้ประเทศไหนจะนำไปใช้ก็ไม่ได้ผล และยังไม่เคยเห็นว่ามีใครที่นำรูปแบบ ดังกล่าวไปใช้แล้วได้ผล"

อย่างไรก็ดี Super Holding ก็มีจุดดีอยู่ในตัว เพราะในอดีตที่การแปรรูปรัฐ วิสาหกิจล่าช้ามีความเกี่ยวข้องกับเรื่องนโยบายและเจ้าสังกัดของแต่ละรัฐวิสาหกิจ ผลก็คือ ไม่มีจุดศูนย์กลางในการตัดสินใจ ดังนั้นองค์กรโฮลดิ้งที่จัดตั้งขึ้นจึงกลายเป็นจุดตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบาย "แนว ทางการทำธุรกิจของรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่ง มีการตัดสินใจอยู่ที่จุดเดียวทำให้ลดขั้นตอนการทำงานลง" ขนิษฐาชี้ "อีกทั้งจะมีความชัดเจนมากขึ้นระหว่างธุรกิจเพื่อสังคมและเชิง พาณิชย์ ซึ่งจะผลักดันให้ออกไปแข่งขันกับภาคเอกชนได้ ทั้งในแง่การทำงาน หาแหล่ง เงินทุนโดยไม่ต้องพึ่งพารัฐบาลอีกต่อไป"

ขณะเดียวกันภาครัฐเองก็ตัดสินใจ ง่ายว่าจะทำอย่างไรกับธุรกิจเชิงพาณิชย์ เช่น การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) ได้แยกธุรกิจท่อส่งออกมา นี่คือหน้าที่หนึ่งหลังจากแปรรูปแล้วที่รัฐวิสาหกิจ ต้องมองตัวเองว่าอยากจะทำงานอะไร และทำให้ Super Holding ตัดสินใจได้ว่าจะทำอย่างไร

"นี่คือความเด่นชัดในด้าน policy thinking ในเชิงการผลักดันให้หน่วยงานรัฐวิสาหกิจเป็นอิสระเพื่อความมีประสิทธิ ภาพ" ขนิษฐาอธิบาย

มีคำถามตามมาว่าหากสภาพตลาดยังไม่ฟื้นตัวอย่างเข้มแข็ง องค์กรอย่าง Super Holding จะปฏิบัติงานได้มีศักยภาพหรือไม่ "การมีโฮลดิ้งหรือไม่มีนั้น คือ การบริหารงานให้มีคุณภาพมากขึ้น ต้องเปรียบเทียบการมีโฮลดิ้งกับไม่มีในสภาพตลาดที่เหมือนกัน ถ้าคิดว่าโฮลดิ้งทำงานได้ดีกว่าก็ต้องดีกว่าการที่ไม่มี" ดร.อารีพงศ์บอก

นอกจากนี้เขายังยืนยันอีกว่าการแปรรูปรัฐวิสาหกิจท่ามกลางสภาพเศรษฐกิจ ยุคปัจจุบันสามารถดำเนินการได้ "เราดูความ ต้องการแล้วว่านักลงทุนสนใจเข้ามาลงทุนในธุรกิจที่มั่นคง"

ความมั่นใจเช่นนี้ อาจจะมาจากกรณี ความผิดพลาดในการกระจายหุ้นการบินไทย ซึ่งถือเป็นบทเรียนของรัฐบาลที่สำคัญ เนื่อง จากกระจายหุ้นเข้าตลาดเพียง 7% ส่งผลให้ภาพลักษณ์ยังเป็นรัฐวิสาหกิจและผู้ถือหุ้นรายย่อย ไม่สามารถเข้าไปตรวจสอบการบริหารงานได้เพราะอุปสรรคโครงสร้างการ ถือหุ้น

นอกจากนี้ความกังวลของนักลง ทุนอีกประการหนึ่ง คือ เมื่อเข้าตลาดแล้ว ราคาหุ้นจะลดต่ำลง หากพิจารณาแล้วราคาหุ้นที่ลดต่ำลงไม่ใช่เฉพาะหุ้นรัฐ วิสาหกิจและการลงทุน ทั่วๆ ไปก็มีความ เสี่ยงด้านราคา

หากมองกันอย่างยุติธรรมหุ้นบางตัวจะมีช่วงจังหวะที่ทำกำไรได้ แต่ขณะที่ ช่วงขาลงกลับพยายามกล่าวโทษ เพราะการเข้าไปลงทุนต้องดูแลตนเองให้ดี

กระนั้นก็ตาม ระดับราคาหุ้นของรัฐวิสาหกิจในการเข้าตลาดที่เหมาะสม ควรอยู่ในระดับไหน หากมองในแง่วาณิชธนกิจ คำว่าราคาดีที่สุดก็คือช่วงที่ทำราคา ขาย IPO เป็นราคาที่เหมาะสมและราคานี้ เมื่อเข้าซื้อขายในตลาดก็ยังสามารถทำให้นักลงทุนขายแล้วมีกำไรได้บ้าง

"นี่เป็นราคาที่เหมาะ" ขนิษฐาชี้ "แต่ระดับราคาหุ้นรัฐวิสาหกิจจะอยู่ระดับ ไหนนั้นสุดท้ายขึ้นอยู่กับเจ้าของรัฐวิสาหกิจ หากบริษัทที่ปรึกษาบอกว่าราคานี้เหมาะแต่รัฐบาลมีสิทธิ์ที่จะไม่ขายหากดูแล้ว ไม่ใช่ราคาที่เหมาะสมซึ่งต้องคุยกันทั้งสองฝ่ายซึ่งไม่น่าจะเป็นปัญหา"

อีกไม่กี่เดือนข้างหน้ารัฐบาลตั้งความหวังไว้ว่า จะได้เห็นบรรยากาศที่นักลงทุนยืนเข้าแถวเพื่อจองซื้อหุ้นรัฐวิสาหกิจ เช่นเดียวกับภาพที่เกิดขึ้นมาก่อนหน้ากรณีโรงไฟฟ้าราชบุรี

อย่างไรก็ตาม หากจะมีอะไรเกิดขึ้นกับ Super Holding นั้นไม่น่าจะเกิดที่นโยบาย แต่ถ้าจะมีคงจะอยู่ที่รัฐวิสาหกิจ เองว่าจะดำเนินได้ตามแผนงานหรือไม่

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us