Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2544
เกษียณอายุอย่างมั่นคง             
โดย ฐิติเมธ โภคชัย
 


   
search resources

วรวรรณ ธาราภูมิ
วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ
สมจินต์ ศรไพศาล
Funds




คนวัยเกษียณจากการทำงานดูไม่ค่อยตื่นเต้นกับอนาคต เพราะสังคมภูมิภาคเอเชียเป็นสังคมแห่งการเกื้อกูล บุตรหลานต้องเลี้ยงดู ฉะนั้นการวางแผนเกษียณที่ดีที่สุด คือ การมีลูกสาวมากๆ ก็เป็นหลักประกันเพียงพอแล้ว

การเกษียณจากการทำงานเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของชีวิตและนำมาซึ่งความรู้สึก หลากหลาย ทั้งความรู้สึกดีๆ ความภาคภูมิ ใจที่ได้ทำหน้าที่ของตนมาจนตลอดรอดฝั่ง ความตื้นตันใจที่มีเพื่อนร่วมงาน มีลูกน้องมา ร่วมแสดงความยินดี ความอาลัยรัก

ขณะที่บางคนกลับรู้สึกที่ไม่ดี มีความ กังวลใจด้านการเงินว่าจะใช้ชีวิตอย่างมั่นคงได้ขนาดไหน ความรู้สึกดังกล่าวอาจจะผุด ขึ้นมาในใจได้โดยเฉพาะสำหรับคนที่ไม่ได้มีแหล่งรายได้อื่นหรือมีลูกหลานที่มีฐานะทาง การเงินมั่นคงอุ้มชู

หลายๆ คนต้องเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิต ที่เคยสุขสบายมาเป็นการดำรงชีวิตอย่างกระเบียดกระเสียร ทำอย่างไรจึงจะสามาถหลีกเลี่ยงปัญหาความกังวลด้านการเงินยาม เกษียณได้

ปัจจุบันสามารถหลีกเลี่ยงความกังวล ดังกล่าวได้และไม่ต้องเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิตแบบหน้ามือเป็นหลังมือ หากวางแผนการลงทุนอย่างเหมาะสมไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ

มีคำถามเกิดขึ้นว่าควรจะมีเงินจำนวนเท่าใดในวัยเกษียณอายุจึงจะสามารถ ใช้ชีวิตได้อย่างไม่ขัดสน และเพื่อบรรลุเป้าหมายกองทุนเพื่อการเกษียณควรจะลงทุนอย่างไร

ปัจจุบันภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำและเป็น สถานการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ดังนั้นคนเกษียณจากการทำงานบางคน กับเงินก้อนสุดท้ายจะไปหวังพึ่งผลตอบแทนจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารคง จะเป็นวิธีที่ไม่ถูกต้อง

"ที่ผ่านมาสังคมไทยชอบการออมเงินกับธนาคารแต่ไม่คิดลงทุน" วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ กรรมการผู้จัดการ บลจ. วรรณ ชี้

ความจริงแล้วการจัดการทางการเงิน มี 2 ระดับ คือ การออมและการลงทุน แต่สำหรับคนไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันยังจัดการกับเงินของตนเองไม่ค่อยเหมาะสม สาเหตุมาจากที่ผ่านมาอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูงมากเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน ดังนั้นจึงไม่แสวงหาวิธีการลงทุนอย่างอื่นนอกเหนือจากนำไปฝากธนาคาร

"พวกเขากำลังหาทางออกเมื่อถึง จุดที่อัตราดอกเบี้ยตกต่ำและเงินเฟ้อ" วิวรรณบอก

สำหรับบางคนหลังจากเกษียณไปแล้วไม่ได้นึกถึงอะไรได้แต่รอคอยให้ลูกหลาน เลี้ยงดูซึ่งไม่ใช่ความคิดที่ผิด แต่ปัจจุบันจะเห็นว่าลูกหลานทั้งหลาย ไม่สามารถดูแลได้ แม้กระทั่งจะหาเลี้ยงตนเองยังลำบาก หรือไม่มีความสามารถที่จะออมเงินได้ พวกเขายังต้องการเงินเริ่มต้นจากพ่อแม่ ดังนั้นคนวัยเกษียณต้องนึกถึงตัวเองว่าจะทำอะไรบ้างกับเงินก้อนสุดท้าย ซึ่งจะต้องเลือกการบริหารเงินให้เหมาะสมว่าจะลงทุนอะไรบ้าง และต้องแยกออกมาว่าถึงประเภทของการลงทุน และความเสี่ยงที่รับได้

วรวรรณ ธาราภูมิ แห่ง บลจ.เอ็ม เอฟซี อธิบายว่าหากเป็นไปได้ คือ กันเอาไว้ใช้และ สูญเงินต้นไม่ได้ จากนั้นถ้ามีส่วนเกินนำไปหาประโยชน์จากช่องทางอื่นที่มีความเสี่ยงมากขึ้น

"การที่ไม่สูญเงินต้นคือการนำไป ฝากธนาคาร หรือหากวางแผนดีควรลงทุนพันธบัตรรัฐบาลที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าในอัตราดอกเบี้ยเงินฝากแต่มีความเสี่ยงต่ำ"

อย่างไรก็ตาม การลงทุนในพันธบัตร ในแต่ละครั้งต้องใช้เงินจำนวนค่อนข้างมาก ซึ่งคนวัยเกษียณไม่ทุกรายที่เข้าไปลงทุนได้ ทางออกอาจจะพิจารณาเรื่องการลงทุนกองทุนตราสารหนี้ หรือพันธบัตรรัฐบาล แต่ ถ้าเป็นหุ้นกู้ภาคเอกชนควรดูคุณภาพหุ้นกู้ที่กองทุนรวมเลือกลงทุน

หากนักลงทุนซื้อพันธบัตรโดยตรงและถือครบอายุจะไม่มีปัญหาเรื่องอัตราดอก เบี้ย แต่ข้อเสียคือ จะต้องเสียภาษีตามผลตอบแทนที่ได้รับและไม่มีสภาพคล่อง แต่หาก ลงทุนผ่านกองทุนรวมจะได้พันธบัตรหลายชนิด

"ข้อดี คือ ลงทุนด้วยจำนวนเงินเล็กน้อย ประหยัดภาษี ข้อเสีย คือ ช่วงพันธบัตร ยังไม่หมดอายุจะมีการ mark to market" วรวรรณบอก

ปัจจุบันพันธบัตรรัฐบาลอายุ 20 ปีให้ผลตอบแทนอยู่ที่ระดับ 7.2% ต่อปี ส่วนหุ้นกู้ภาคเอกชน เช่น หุ้นกู้โรงไฟฟ้าขนอมให้ผลตอบแทนประมาณ 7% ต่อปี หรือหุ้นกู้แทคที่ให้ผลตอบแทนประมาณ 6.8% ต่อปี

สำหรับหุ้นกลุ่มที่น่าสนใจในปัจจุบัน กลุ่มพลังงานเป็นกลุ่มที่ไม่ค่อยผันแปรต่อดัชนีตลาดหลักทรัพย์ แต่ควรลงทุนในระยะปานกลางขึ้นไป แต่หากมองหุ้นที่เติบโตดีที่สุดในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ได้แก่ BIGC และ MAKRO

"ทุกจังหวะของเศรษฐกิจจะมีส่วนที่ไปได้ แต่ควรระลึกไว้เสมอว่าซื้อหุ้นแบบถือยาวไม่มีในบ้านเรา" วรวรรณกล่าว

อย่างไรก็ดี นักลงทุนยังไม่ค่อยเข้าใจ กับการลงทุนในกองทุนรวม บางคนถึงกับมองในแง่ลบ สาเหตุเกิดจากพัฒนาการของอุตสาหกรรมกองทุนรวมซึ่งเริ่มต้นจากกองทุน หุ้นทุนเมื่อ 26 ปีที่แล้ว ขณะที่กองทุนตรา สารหนี้เพิ่งเริ่มต้นในปี 2537

หากเป็นกองทุนหุ้นทุน ความกระตือ รือร้นหมดไปตั้งแต่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ เพราะ พวกเขาจะลงทุนก็ต่อเมื่อเห็นการเติบโตตลาด หุ้นอย่างต่อเนื่อง "ปรากฏการณ์แบบนั้นเห็น ครั้งสุดท้ายเมื่อปลายปี 2536" วิวรรณเล่า "จากนั้นได้ตั้งกองทุนตราสารหนี้ขึ้นมาและหลังวิกฤติเศรษฐกิจก็มีปัญหาเช่นเดียวกัน"

หลังจากนักลงทุนไม่วางใจส่งผลให้บรรดากองทุนรวมและคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) พยายามแก้ภาพพจน์และกระตุ้นนักลงทุนอีกครั้ง

ล่าสุด ก.ล.ต. กำลังพิจารณากองทุนตลาดเงิน (Money Market Fund) คาดว่าจะออกได้ในระยะเวลาอันใกล้นี้ แต่กองทุนดังกล่าวผลตอบแทนจะต่ำกว่ากองทุนชนิดอื่น ความเสี่ยงต่ำเพราะเป็นการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีอายุสั้นไม่เกิน 1 ปี

"กองทุนตลาดเงินเหมาะสำหรับคนที่ย้ายงานบ่อย กิจการที่มีเงินสดหมุนเวียนระยะเวลาสั้น นอกจากนี้ยังเหมาะสำหรับคนที่กำลังเกษียณ เพราะมีความเสี่ยงที่ต่ำมาก โดยรูปแบบของกองทุนพวกเขาเลือกลงทุนเองได้" วรวรรณกล่าว

แต่อุปสรรคก็คือ ทำอย่างไรที่จะให้นักลงทุนเข้าใจโดยเฉพาะพื้นฐานความเสี่ยงของการลงทุน ซึ่งต้องใช้ระยะเวลานานพอสมควร อย่างไรก็ตามกองทุนตลาดเงินเป็นพัฒนาการอีกขั้นของตลาดทุนไทย และเป็น การเจาะตลาดรูปแบบใหม่ของอุตสาหกรรมกองทุนรวม จากอดีตที่มองตลาดรวมหรือมองตามกลุ่มอุตสาหกรรมเป็นหลัก ปัจจุบัน เริ่มสนใจนักลงทุนเป็นรายบุคคลแล้ว

"กองทุนตลาดเงินเป็นกองทุนชนิดแรกที่ควรเกิดขึ้นในประเทศไทย" วรวรรณชี้

อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่านักลงทุนยังมีความกังวลต่อผลตอบแทนและความมั่นคงเช่นเดียวกับภาพที่เป็นมาตั้งแต่อดีต สิ่งที่กองทุนรวมพยายามจะอธิบาย คือ ผลตอบแทนที่ได้รับอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยไม่มี อีกต่อไป ดังนั้นต้องทำให้รู้จักกับความเสี่ยง ซึ่งไม่มีการลงทุนชนิดใดที่ปราศจากความเสี่ยงแม้กระทั่งการฝากออมไว้กับธนาคาร

"กองทุนที่มีความเหมาะสมกับนักลงทุนไทยจะต้องมีส่วนผสมการลงทุนในตลาดเงิน ตราสารหนี้และหุ้นทุน และไม่ควร เน้นลงทุนแบบใดแบบหนึ่ง เช่น ต้องการกำไรก็ไปลงทุนในหุ้นที่มีความเสี่ยงสูง หรือลงทุนในตลาดเงินซึ่งมีผลตอบแทนต่ำแต่มีความเสี่ยง กับอัตราเงินเฟ้อ" ดร.สมจินต์ ศร ไพศาล ผู้อำนวยการอาวุโส บลจ.วรรณกล่าว

เขาอธิบายต่อไปว่ากราฟชีวิตของคน มี 3 ช่วง เมื่อจบการศึกษาหรือเริ่มทำงานจะมีเงินสะสมมากกว่าค่าใช้จ่ายและรายได้จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่ถึงช่วงเวลาหนึ่งรายได้จะหยุดการเติบโต ในที่สุดจะคงที่และลดลงเมื่อถึงช่วงวัยเกษียณ

"เราสามารถหาเงินจากกำลังนั้นสุดท้ายจะหยุดลง ดังนั้นหลังเกษียณไปแล้วจะลงทุนอย่างไร ซึ่งต้องเตรียมการเมื่อ 30 ปี ที่แล้วว่าอีก 30 ปีข้างหน้าเพื่อเตรียมเงินไว้เลี้ยงคนแก่และคนแก่คนนั้นก็คือตัวเราเอง"

หากพูดถึงการลงทุนเป็นเรื่องของการ วางแผน ฉะนั้นจงให้เวลากับเรื่องนี้เพราะแต่ละคนมีฐานการเงินและวัตถุประสงค์แตกต่างกัน "แต่ยังไม่สายสำหรับคนที่ยังไม่ วางแผน" วรวรรณบอก

แน่นอนความเสี่ยงมีตลอดเวลาแต่ใครก็ตามที่วางแผนตั้งแต่เริ่มต้นจะสามารถรับความเสี่ยงในช่วงเวลาที่เลวร้ายได้ ที่สำคัญ ต้องเข้าใจด้วยว่าตนเองต้องตัดสินใจลงทุนและรับผลกำไรขาดทุนเอง

นักลงทุนที่จะกำหนดเป้าหมายในการลงทุนที่ดีที่สุดคือตัวเองเพราะจะทราบความต้องการ ความกลัว ความกังวล หรือข้อจำกัดการลงทุนได้ดี แต่เนื่องจากว่าไม่ค่อยชินกับการกำหนดเป้าหมายอย่างเป็นระบบ การเริ่มต้นเป็นสิ่งที่ลำบาก

เวลาไปพบผู้จัดการกองทุนเพื่อขอให้ วางแผนการลงทุนให้ จะพบคำถามหนึ่งจากผู้จัดการกองทุน คือ รับความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหน หลายๆ คนคิดว่าตนเอง รับความเสี่ยงได้มาก แต่พอถามว่าหากสูญเสียเงินไปจะมีปัญหาทางการเงินหรือไม่เกือบทุกคนจะบอกว่ามี

ถ้านักลงทุนมองไกลต้องวางแผน แบบที่เงินกองทุนสามารถเติบโตได้เท่าๆ กับ อัตราเงินเฟ้อหลังเกษียณ เพื่อให้ดอกผลที่กองทุนสร้างขึ้นในแต่ละปีมีอำนาจซื้อไม่ลดลงควรเตรียมเงินให้สามารถสร้างผลตอบแทน มากกว่าที่ต้องการใช้ไว้เพื่อให้มีส่วนเหลือไป ทบกองทุนให้เติบโตบ้าง

ถ้าสามารถมีส่วนที่เหลือสมทบกองทุนให้ใหญ่ขึ้นได้สักเท่าๆ กับอัตราเงิน เฟ้อในแต่ละปีได้ก็จะดีที่สุด เพราะจะทำให้ดอกผลจากการลงทุนเพิ่มขึ้นเท่าๆ กับอัตรา เงินเฟ้อ และทำให้อำนาจซื้อไม่ลดลงตามเวลาที่เปลี่ยนไป

เงินกองทุนดังกล่าวอาจจะเป็นมรดก ที่มีค่าสูงทีเดียวสำหรับลูกหลานผู้โชคดี

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us