ไม่เพียงแต่การสร้างเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ
แต่สิ่งที่พวกเขาต้องทำมากไปกว่านั้น ก็คือ
เครือข่ายธุรกิจชุมชน
ธุรกิจสื่อสารโทรคมนา คมเป็น 1 ใน 3 ธุรกิจหลักของ กลุ่มซีพีกำลังเดินหน้าไปอย่าง
เข้มข้น ไม่แพ้เครือข่ายธุรกิจครัวของโลกและธุรกิจค้าปลีก
กลุ่มซีพีเริ่มปูทางเข้าสู่ ธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมด้วย โครงการโทรศัพท์
2 ล้านเลขหมาย แม้ว่าซีพี จะสร้างความพร้อมให้กับตัวเอง ด้วยการวาง เป้าหมายไปที่การสร้างทางด่วนข้อมูลในการ
ลำเลียงบริการเสริมประเภทต่างๆ ที่จะมาจากโครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสง ที่ไม่ใช่แค่
โทรศัพท์พื้นฐานเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม อัตราการเติบโตของโทรศัพท์มือถือที่กำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ทั้งในแง่ของประโยชน์ใช้สอย พัฒนาการของ เทคโนโลยีด้านการสื่อสารข้อมูล เป็นสิ่งที่ทีเอ
ไม่อาจมองข้ามได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นการ เติบโตที่สวนทางกับโทรศัพท์พื้นฐาน
ถึงแม้ว่า ทีเอจะมีบริการพีซีทีออกมา นำร่อง แต่ก็ยังไม่ใช่คำตอบของเรื่องนี้
เนื่อง จากเทคโนโลยีของพีซีทียังมีข้อจำกัดในเรื่อง ของการใช้งานขณะเคลื่อนที่
ทางออกของพวกเขาคือ การซื้อกิจการ WCS ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ
บริษัท WCS เปลี่ยนชื่อมาเป็น ซีพีออเรนจ์ ที่ผู้บริหารของซีพีใช้เวลาในการเจรจาเพียง
3 เดือน ในการดึงออเรนจ์ ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถืออันดับ 3 จาก อังกฤษเข้ามาเป็นพันธมิตร
ซึ่ง กำลังต้องการขยายฐานธุรกิจมายังภูมิภาคเอเชียพอดี เป็นการก้าวสู่เวทีการแข่งขันของโทรศัพท์มือถืออย่างเต็มตัว
ปัญหาของซีพีออเรนจ์ คือ ปัญหาของ ผู้มาใหม่ที่มีจุดอ่อนอยู่ที่เครือข่าย
ซึ่งยังต้อง ใช้เวลาไปอีกพักใหญ่กว่าจะมีเครือข่ายครอบ คลุมทั่วประเทศ
และสิ่งหนึ่งที่มองข้ามไม่ได้ก็คือ ประสบการณ์ในการทำโทรศัพท์มือถือของออเรนจ์ที่มีอยู่ทั่วโลก
บวกกับความแข็งแกร่ง ของเครือข่ายธุรกิจของซีพี ทำให้ซีพีออเรนจ์ ถูกจับตามองจากคู่แข่งทั้ง
2 รายที่เป็นเจ้าตลาดเดิม
อย่างไรก็ตาม กลยุทธ์การตลาดและ การให้บริการหลายอย่างที่ออเรนจ์ทำสำเร็จมาแล้วในอังกฤษ
และเตรียมจะนำมาให้บริการในไทย แต่ปรากฏว่าได้มีผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือบางรายที่นำมาให้บริการเวลา
นี้ ไม่ว่าจะเป็นการคิดค่าโทรเป็นวินาที การประกันสายหลุดแล้วคืนเงิน
ซีพีออเรนจ์เองก็รู้ดีว่ากลยุทธ์เหล่านี้กำลังจะกลายเป็นเรื่องสากลไปแล้ว
สำหรับผู้ให้บริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคู่แข่งข้ามชาติ ที่ต่างก็เคยมีประสบการณ์ในระดับโลกมาแล้ว
สิ่งที่ซีพีออเรนจ์ต้องทำมากกว่านั้น ก็คือการใช้ประโยชน์จากเครือข่ายธุรกิจของกลุ่มซีพี
ซึ่งเป็นสิ่งที่คู่แข่งไม่มี นำมาสร้างเป็น จุดแข็งให้กับตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายร้านค้าปลีก
ฐานข้อมูลในการเข้าถึงลูกค้าใน ระดับผู้บริโภคปลายทาง ที่จะได้จากร้าน เซเว่นอีเลฟเว่น
โทรศัพท์พื้นฐาน ธุรกิจอาหาร
ฐานข้อมูลเหล่านี้ จะถูกนำไปใช้ประโยชน์ เพื่อใช้ในการเข้าถึงความต้องการ
ของลูกค้าในระดับชุมชน ซึ่งเป็นฐานลูกค้าขนาดใหญ่ ที่จะมีบทบาทเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
และ เป็นกลุ่มลูกค้าที่ซีพีคุ้นเคยดีอยู่แล้ว
ในอีกด้านหนึ่ง กลุ่มซีพี กำลังรื้อฟื้นความสัมพันธ์กับบรรดาร้านโชวห่วย
ในการจะทำหน้าที่เป็นผู้ป้อนสินค้าให้กับร้านโชวห่วย ในราคาที่จะทำให้ร้านค้าเหล่านี้สามารถ
"อยู่รอด" ได้ ภายใต้ระบบดิสทริบิวชั่นเซ็นเตอร์ เพื่อสร้างเป็นเครือข่ายในการจัดจำหน่ายสินค้าให้กับร้านโชวห่วย
โดยจะใช้ประโยชน์จากระบบขนส่ง กำลังคน เครือข่าย ของซีพีที่มีอยู่เดิม
"ทุกวันนี้เราก็ต้องขนส่งสินค้าไป ที่ร้านเซเว่นอีเลฟเว่นอยู่แล้ว
เพียงแค่จะมีระบบซัปพลายเชน แมเนจเมนต์ การจัดการสินค้าตั้งแต่ผลิตมาจนถึงมือร้านค้าโชวห่วย
ที่เรากำลังดูกันอยู่เข้ามาช่วย" สารสิน วีระผล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหาร
บริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด กล่าว
ประโยชน์ที่ซีพีจะได้รับจากการออกมาเคลื่อนไหวเช่นนี้ ไม่เพียงแต่จะอุด ช่องว่างในเรื่องของกระแสการต่อต้านจากร้านโชวห่วย
ที่กำลังคุกรุ่นในภาวะกระแสนิยมไทยกำลังมาแรง ซึ่งไม่เป็นเรื่องดีสำหรับซีพีนัก
ในอีกด้านหนึ่งเครือ ข่ายร้านค้าโชวห่วยเหล่านี้จะเป็นช่องทาง จัดจำหน่ายที่เข้าถึงลูกค้าในระดับชุมชน
ให้กับซีพีออเรนจ์
แต่เหนือสิ่งอื่นใด เครือข่ายและ คุณภาพของการให้บริการที่ดี เป็นจุดหนึ่ง
ที่ซีพีออเรนจ์ จะให้ความสำคัญมากๆ ก็คือ ระบบ call center ศูนย์บริการที่ให้ลูกค้าในการสอบถามข้อมูล
ที่ซีพีออเรนจ์ จะใช้เป็นจุดแข็งของซีพี
นี่ก็คือ ส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ของผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ เจ้าของสัญลักษณ์สีส้ม
ที่กำลังจะเริ่มต้นในอีกไม่นานนี้