หลังเปิดตัวมากว่า 1 ปี บีสไดเมนชั่น เจ้าของเว็บไซต์ Food MarketExchange.com
ได้มีผลงานที่เป็นรูปธรรมครั้งแรก ในฐานะผู้นำระบบเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการซื้อขายสินค้าการเกษตร
โดย การเข้าไปจัดการประมูลกุ้งกุลาดำผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
การประมูลครั้งนี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 18-20 กรกฎาคมที่ผ่าน มา แต่บีสไดเมนชั่นเพิ่งประกาศผลงานออกมาเมื่อปลายเดือนก่อน
ว่ากันว่างานนี้ ธีรพงศ์ จันศิริ ให้ความสำคัญค่อนข้างมาก ถึงกับต้องบินไปดูการประมูลด้วยตัวเองที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี
เพราะหากการประมูลประสบความสำเร็จ ย่อมจะส่งผลให้เว็บไซต์ FoodMarketExchange.com
มีธุรกรรมอื่นๆ ต่อเนื่องตามเข้ามาอีก
บีสไดเมนชั่น จัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนมีนาคมและได้เปิดตัวเว็บไซต์ FoodMarketExchange.com
ขึ้นเมื่อเดือนกันยายนปีก่อน ในช่วงที่ผ่านมา เว็บไซต์แห่งนี้อยู่ระหว่างการจัดทำฐานข้อมูล
ซึ่งประกอบ ด้วยข่าวสารที่เกี่ยวกับวงการอุตสาหกรรมอาหาร ราคาสินค้าซึ่งเป็น
วัตถุดิบ ตลอดจนช่องทางการซื้อขายฯลฯ
ธุรกรรมที่เป็นการซื้อขายโดยอาศัยเว็บไซต์แห่งนี้เป็นตัวกลาง ยังเกิดขึ้นน้อยมาก
เพิ่งจะมีอย่างเป็นชิ้นเป็นอัน ก็คือการเป็นตัวกลาง ประมูลกุ้งกุลาดำในครั้งนี้
รูปแบบการประมูล บีสไดเมนชั่นได้ร่วมมือกับชมรมผู้เลี้ยงกุ้ง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ซึ่งเป็นเจ้าของบ่อเลี้ยงกุ้ง โดยมีโรงงานผู้ผลิตและส่งออกอาหารแช่แข็ง 6
ราย ได้แก่ บริษัทห้องเย็นเอเชี่ยนซีฟู้ด บริษัทปากพนังห้องเย็น บริษัทไทยยูเนี่ยน
โฟรเซ่น โปรดักส์ บริษัท ไทยยูเนี่ยน ซีฟู้ด บริษัทเอสทีซี ฟู้ดแพค และบริษัทสุรพลฟู้ด
เป็นผู้เสนอราคาประมูล
โดยในวันเปิดประมูล เจ้าของบ่อเลี้ยงกุ้ง จะคีย์ข้อมูลเกี่ยวกับกุ้งที่นำออกมาประมูล
เช่น ขนาดและน้ำหนัก อายุของกุ้ง และสภาพทางกายภาพ เข้าไปในเว็บไซต์ FoodMarketExchange.com
โดยจะมีบริษัท กลาง 2 ราย คือห้างหุ้นส่วนจำกัดไพบูลย์ กุ้งทอง และ แพเจริญทรัพย์
เป็น ผู้ร่วมตรวจสอบข้อมูลว่าถูกต้องตรง กับความเป็นจริงหรือไม่
เมื่อคีย์ข้อมูลครบแล้ว บริษัทผู้ประมูลจะดูข้อมูลที่เกษตรกร คีย์เข้ามาในเว็บไซต์ที่สำนักงานใหญ่
แล้วเสนอราคาประมูลเข้าไป ซึ่ง ราคาที่เสนอถือเป็นข้อมูลปิดที่ผู้ประมูลรายอื่นไม่สามารถมองเห็นได้
หลังจากครบกำหนดเวลา ระบบของเว็บไซต์จะเป็นผู้สรุปว่า บริษัทใดเป็นผู้ประมูลได้
หลังจากนั้นบริษัทกลาง ก็จะเป็นผู้จับกุ้ง และนำส่งโรงงานของผู้ชนะประมูลภายในกำหนดเวลาไม่เกิน
12 ชั่วโมง
"รูปแบบการประมูลเช่นนี้ ทำให้โรงงานได้วัตถุดิบที่มีคุณภาพ เพราะใช้เวลาในการรอรับสินค้าเพียง
12 ชั่วโมง ในขณะที่เกษตรกร ก็จะสามารถขายสินค้าได้ราคามากขึ้น" ตัวแทนของโรงงานผู้ประมูล
รายหนึ่งกล่าว
การประมูลซื้อกุ้งจากบ่อเลี้ยงกุ้งโดยตรงผ่านเว็บไซต์ Food MarketExchange.com
ครั้งนี้ ถือเป็นรูปแบบใหม่ในการซื้อขายกุ้ง จากที่ผ่านมาโรงงานจะต้องไปซื้อด้วยตนเองที่หน้าบ่อเลี้ยงกุ้ง
หรือที่ตลาดกุ้งมหาชัยและตลาดกุ้งปากพนัง หรือไม่ก็ซื้อผ่านคนกลาง
ดร.ผณิศวร ชำนาญเวช รองประธานอาวุโส บริษัทปากพนัง ห้องเย็น กล่าวว่า หากรูปแบบนี้ได้รับความนิยมและได้รับการพัฒนา
เพิ่มขึ้น จะส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมอาหารแช่แข็งเพื่อส่งออกของไทย ได้อย่างมาก
การประมูลซื้อกุ้งโดยผ่านเว็บไซต์ FoodMarketExchange. com เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา
ถือเป็นเพียงโครงการนำร่อง โดย มีการเปิดประมูลเพียง 4 บ่อ ซึ่งเมื่อทุกฝ่ายมองเห็นแล้วว่ารูปแบบการประมูลครั้งนี้ประสบผลสำเร็จจนสามารถประกาศเป็นผลงานได้
เมื่อปลายเดือนที่ผ่านมา บีสไดเมนชั่น ก็มีแผนการที่จะเปิดประมูลเพิ่มขึ้นอีก
30 บ่อ ในช่วงต้นเดือนกันยายน
และหากรูปแบบการซื้อขายวัตถุดิบด้วยวิธีประมูล เริ่มได้รับ ความนิยม บีสไดเมนชั่นก็มีโครงการจะขยายบทบาทออกไปยังสินค้า
ประเภทอื่นเพิ่มขึ้น