Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2544
NEW SPEAKER             
โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์
 


   
search resources

อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย, บมจ.
ปีเตอร์ โกธาร์ด




เมื่อ 4 ปีที่ผ่านมา ทุกคนรู้จักเอ็ฟเฟ็คทีฟ แพลนเนอร์ส ขณะเดียวกันได้รู้จักแอนโทนี่ นอร์แมน ในฐานะผู้ทำแผนฟื้นฟูกิจการ ทีพีไอ ปัจจุบันเขากำลังถูกตรวจสอบ ชื่อของปีเตอร์ โกธาร์ด จึงได้รับความสนใจขึ้นมาแทน

การต่อสู้ระหว่าง บมจ.อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย หรือทีพีไอกับเอ็ฟเฟ็คทีฟ แพลนเนอร์ส ในฐานะผู้ทำแผนฟื้นฟูกิจการทำให้ได้รับรู้ถึงความเป็นไปในหลายๆ ด้านจนกลายเป็นกรณีศึกษา ในสายตาของกลุ่มคนบางกลุ่ม

การรับรู้ในหลายเรื่องราวระหว่างทีพีไอกับเอ็ฟเฟ็คทีฟ แพลน เนอร์สได้ถูกส่งผ่านมาจากตัวบุคคลทั้งสองฝ่ายซึ่งในที่สุด ได้กลายมาเป็นความขัดแย้งที่ยังไม่มีทีท่าจะยุติลงโดยเร็วและถือเป็นบทเรียน ของทั้งสองฝ่าย สำหรับภาพลักษณ์ของประชัย เลี่ยวไพรัตน์ เป็นที่รู้จักดีในฐานะผู้ก่อตั้งทีพีไอจนกลายเป็นธุรกิจปิโตรเคมีครบวงจรที่สมบูรณ์แห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชีย และทุกคนรู้จักเขาและตระกูลของเขาดีมาก ขึ้นหลังจากทีพีไอขาดสภาพคล่องทางการเงิน

ขณะที่ชื่อของแอนโทนี่ นอร์แมน กรรมการผู้จัดการเอ็ฟเฟ็ค ทีฟ แพลนเนอร์ส ได้รับรู้ในวงสังคมโดยกว้างก็ต่อเมื่อเข้ามามีบทบาทในปัญหาทีพีไอ และในฐานะผู้ที่ให้ข้อมูลกับมวลชนในการแก้ปัญหาทีพีไอ จนกระทั่งชื่อและภาพของเขากลายเป็นเนื้อเดียวกับชื่อบริษัท จนแยกไม่ออก

อย่างไรก็ตาม หลังจากนอร์แมนมีปัญหาต่อ กรณีการไม่มีใบอนุญาตเข้ามาทำงานในประเทศไทย และถูกทางการไทยสอบสวน ดูเหมือนว่าชื่อของเขากำลังถูกทำให้หายออกไปจากวงสังคม

เมื่อเป็นเช่นนี้ปีเตอร์ โกธาร์ด ในฐานะผู้อำนวยการเอ็ฟเฟ็คทีฟ แพลนเนอร์สได้รับการวางตัวให้ขึ้นมาทำหน้าในฐานะเป็น Spearker แทนนอร์แมน

การเปิดตัวของโกธาร์ดอาจจะไม่หวือหวาหรือตื่นเต้น เหมือนกับผู้บริหารคนอื่นๆ เขาเพียงแค่ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนก่อนที่จะรับภารกิจเต็มตัว แต่ก็ไม่ได้เป็นปัญหาในการทำงานเพราะโกธาร์ดเป็นคนหนึ่ง ที่รับผิดชอบในการแก้ปัญหาทีพีไอตั้งแต่เริ่มต้น ดังนั้น ความคิดที่มีต่อทีพีไอของโกธาร์ดจึงไม่แตกต่างไปจากนอร์แมน

"กรณีของทีพีไอเป็นปัญหาที่แก้ไขยากที่สุดกรณีหนึ่งของ โลก" โกธาร์ดเล่า "พวกเราได้ทำไปได้หลายอย่างตามแผนงานที่กำหนดไว้ โดยเฉพาะการแปลงหนี้เป็นทุน 32 พันล้านบาท ทำให้หนี้ลดลงได้ประมาณ 20%"

สิ่งสำคัญที่เขามองเห็นปัญหาของทีพีไอ คือ การลดหนี้ของบริษัทลงซึ่งจะทำให้ภาระดอกเบี้ยลดลงตามไปด้วย โดยแผนการในช่วงแรกเอ็ฟเฟ็คทีฟ แพลนเนอร์ส ตั้งใจไว้ว่าจะให้นักลงทุนเข้ามา ลงทุนในทีพีไอประมาณ 500 ล้านเหรียญสหรัฐ ภายในระยะเวลา 4 ปีข้างหน้า แต่เมื่อพิจารณาแล้วพบว่ากว่าจะถึงช่วงระยะเวลาดังกล่าว ภาระดอกเบี้ยอาจจะสูงกว่า 500 ล้านเหรียญสหรัฐ

"เราจึงคิดว่าจะให้เจ้าหนี้เข้ามาถือหุ้นในทีพีไอเลย"

อีกทั้งยังมีแผนการเป้าหมายในการขายสินทรัพย์ที่ไม่ใช่ตัวหลักทรัพย์ออกไปเพื่อนำเงินเข้ามาให้ได้ 200 ล้านเหรียญสหรัฐ ล่าสุดได้ขายหนี้ทีพีไอโพลีนในส่วนที่ทีพีไอเป็นเจ้าหนี้ออกไป 1,273 ล้านบาท

ในอนาคต มีแผนที่จะขายโรงไฟฟ้าออกไปซึ่งกำลังอยู่ใน ขั้นตอนการเจรจาหานักลงทุนที่สนใจ "หลายคนเข้าใจว่าทีพีไอจะต้องแตกออกเป็นธุรกิจๆ ไป" โกธาร์ดเล่า "แต่ความจริงไม่ใช่อย่างนั้น เช่น การขายโรงไฟฟ้าเมื่อขายไปแล้วเขาจะต้องขายไฟฟ้า ให้กับทีพีไอ พวกเราเชื่อว่าทีพีไอไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของหรือลงทุน เองทั้งหมด แม้ว่าการเป็นเจ้าของจะสามารถควบคุมการทำงานได้แต่ก็ต้องใช้เงินลงทุนสูง"

นอกจากนี้แผนการดั้งเดิม ก็คือ จะให้ผู้ถือหุ้นเดิมอย่างประชัย และ ดร.ประมวล เลี่ยวไพรัตน์ นั่งเป็นผู้บริหารเหมือนเดิม และทั้งสองต้องเข้ามาช่วยเหลือในการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผน แต่ในที่สุดทั้งสองก็ได้ตัดสินใจไม่เข้าร่วมงานกับเอ็ฟเฟ็คทีฟ แพลน เนอร์ส

"พวกเราเข้าใจดีว่าเป็นการยากที่ทั้งสองท่านจะอยู่ต่อ" โกธาร์ดกล่าว

อย่างไรก็ดี ทั้งประชัย และ ดร.ประมวล เป็นผู้ถือหุ้นส่วนน้อยและเป็นพนักงานของทีพีไออยู่ โดยได้รับตำแหน่งที่ไม่ค่อย active รวมถึงความรับผิดชอบได้เปลี่ยนไป "แต่ก็อยากให้ทั้งสองเข้ามาร่วมงาน"

สำหรับในส่วนพนักงานของทีพีไอ โกธาร์ดบอกว่าทุกคนยังเป็นส่วนหนึ่งของแผนการฟื้นฟูกิจการ ที่สำคัญต้นทุนในส่วนพนักงาน มีเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับต้นทุนด้านอื่นๆ

ขณะที่คนของทีพีไอตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับต้นทุนการดำเนินงานสำหรับบุคลากรของเอ็ฟเฟ็คทีฟ แพลนเนอร์ส ว่าสูงพอสมควร "มันไม่ได้แพงเลยเพราะสิ่งที่เราทำให้กับบริษัทคุ้มค่าในเชิงมูลค่า"

คำตอบเช่นนี้อาจจะมองเห็นนัยว่า คนของทีพีไอไม่มีประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ "เราไม่ได้หมายความว่าอย่างนั้น เพียงแต่พวกเขาไม่มีเทคนิคที่ทันสมัยที่สุด ดังนั้นจึง พยายามนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามา"

ท่ามกลางบรรยากาศขมุกขมัวภายในองค์กรทีพีไอนับตั้งแต่เอ็ฟเฟ็คทีฟ แพลนเนอร์ส ภายใต้นอร์แมนเข้ามาทำงานแก้ปัญหาให้กับทีพีไอดูเหมือนว่า ความขัดแย้งนับวันซับซ้อนทั้งเรื่องส่วนรวมและส่วนตัว

นับจากนี้ไปเมื่อโกธาร์ดเข้ามาบรรยา กาศภายในทีพีไอจะสดใสมากขึ้นหรือไม่นั้นไม่มีใครคาดเดาได้ เพราะปัญหาไม่ใช่มีเฉพาะ เรื่องการทำงานเท่านั้นแต่ความรู้สึกส่วนตัวยังเป็นอุปสรรคของทั้งสองฝ่าย

โกธาร์ดเป็นผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ทางด้านการฟื้นฟู และบริหารธุรกิจในภาวะหนี้สินล้นพ้นตัวเป็นระยะเวลานานร่วม 15 ปี โดยได้ร่วมงานกับเฟอร์เรียร์ ฮอดจ์สัน นครซิดนีย์ บริษัทแม่ของเอ็ฟเฟ็คทีฟ แพลนเนอร์ส มาตั้งแต่ปี 2530

ที่ผ่านมาเขาได้ร่วมดำเนินการฟื้นฟูและบริหารธุรกิจในภาวะหนี้สินล้นพ้นตัวให้แก่อุตสาหกรรมการผลิต เทคโนโลยีสารสนเทศ โรงแรม การก่อสร้าง การเกษตร และสื่อสารมวลชน

ระหว่างปี 2538-2539 โกธาร์ดได้ร่วมงานกับคาร์น คอนซัล ติ้ง อิงก์ บริษัทในเครือของเฟอร์เรียร์ ฮอดจ์สัน ในกรุงนิวยอร์กเป็นระยะเวลาปีครึ่ง โดยรับผิดชอบด้านการปรับโครงสร้างทางการ เงิน การฟื้นฟูธุรกิจ การให้คำแนะนำในการดำเนินคดีความ และการให้คำปรึกษาด้านการบริหาร หลังจากเดินทางกลับจากอเมริกาเขาได้มีบทบาทสำคัญ ในการพัฒนาธุรกิจให้บริการในการดำเนินคดีความของเฟอร์เรียร์ ฮอดจ์สัน ทั้งยังรับผิดชอบโครงการขนาดใหญ่ตลอดจนการดำเนินการวิเคราะห์ และประเมินมูลค่าธุรกิจเพื่อนำมากำหนดลักษณะและปริมาณความเสียหาย หรือนำมาใช้พิจารณาข้อฟ้องร้องในคดีต่างๆ

ส่งผลให้โกธาร์ดมีประสบการณ์ที่ครอบคลุมในอุตสาหกรรม และธุรกิจหลากหลายประเภท ตลอดจนความเข้าใจในเรื่องระบบกฎหมายโดยละเอียดและชัดเจนมากยิ่งขึ้น

โกธาร์ดเข้ามาร่วมงานกับเฟอร์เรียร์ ฮอดจ์สัน ในประเทศไทยเมื่อปลายปี 2540 โดยรับผิดชอบงานด้านการปรับโครงสร้างหนี้ของบริษัทขนาดใหญ่ซึ่งมีมูลหนี้รวมทั้งสิ้นกว่า 4,500 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและปูนซีเมนต์

เขาจบการศึกษาระดับปริญญาโทสาขาบริหารธุรกิจ และได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้ตรวจสอบบัญชี และเป็นสมาชิกสมาคมการบริหารธุรกิจในภาวะหนี้สินล้นพ้นตัวแห่งออสเตรเลีย (The Insolvency Practitioners Association of Australia)

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us