Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2544
ณรงค์ บุณยสงวน กรรมการผู้จัดการ "บางจาก" คนใหม่             
โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์
 


   
search resources

บางจากปิโตรเลียม, บมจ.
ณรงค์ บุญยสงวน




ในที่สุด บริษัทบางจากปิโตรเลียม ก็ได้ตัวกรรมการผู้จัดการ ใหญ่คนใหม่ โดยคณะกรรมการบางจาก ได้มีมติแต่งตั้งให้ณรงค์ บุณยสงวน เข้ารับตำแหน่งดังกล่าว ตั้งแต่เมื่อวันที่ 24 สิงหาคมที่ผ่านมา ณรงค์ เข้ารับตำแหน่งแทนศิริชัย สาครรัตนกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่คนเก่า ที่ขอลาออก เพื่อกลับไปทำงานที่บรรษัทเงินทุน อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยตามเดิม

ศิริชัย เข้ามาทำงานที่บางจากได้ไม่ถึง 2 ปี โดยเป็นการเข้า มาในลักษณะขอยืมตัว หลังจากเมื่อกลางปี 2542 โสภณ สุภาพงษ์ อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ ที่ร่วมก่อตั้งบางจากมาตั้งแต่ต้น ประกาศลาออกเพื่อประท้วงนโยบายของรัฐบาลในขณะนั้น ที่ต้องการ ขายหุ้นของบางจากให้กับต่างชาติ การประกาศลาออกของโสภณช่วงนั้น ทำให้เขาได้รับแรงสนับสนุนจากมวลชนในเวลาต่อมา จนได้รับเลือกตั้งเข้ามาเป็นสมาชิกวุฒิสภาในปัจจุบัน

การเข้ามาของศิริชัยในบางจาก สามารถลดกระแสต่อต้านนโยบายของรัฐบาลที่จะนำหุ้นบางจากออกขายให้กับต่างชาติลงไปได้ระดับหนึ่ง เพราะเขาได้เสนอแผนระดม ทุนของบางจากใหม่ โดยการออกหุ้นขายให้กับประชาชนชาวไทย แต่ในทางตรงข้าม แนวทางของศิริชัยในการแก้ไขปัญหาฐานะการเงินของบางจาก กลับก่อให้เกิดกระแสต่อต้านภายในขึ้นอย่างค่อนข้างรุนแรง ศิริชัย มีพื้นฐานทางด้านการเงิน เขาเป็นศิษย์เก่าแบงก์ชาติ รุ่นใกล้เคียงกับธีรชัย ภูวนารถนรานุบาล ผู้ช่วย ผู้ว่าการแบงก์ชาติ และประสาร ไตรรัตน์วรกุล เลขาธิการ ก.ล.ต. ก่อนที่จะออกไปอยู่บรรษัท

เมื่อเขาเข้ามารับรู้ข้อเท็จจริงถึงปัญหาของบางจาก แนวทาง แก้ไขที่เขามองเห็นคือต้องมีการปรับโครงสร้างของบริษัทใหม่ ด้วยการแยกธุรกิจการกลั่น และธุรกิจการจัดจำหน่าย ออกจากกัน

เพราะธุรกิจการกลั่น มีปัญหาค่อนข้างมาก ทั้งในด้านภาระ หนี้สิน ต้นทุนดำเนินงาน แต่ธุรกิจการตลาด หรือการจัดจำหน่าย ยังสามารถเดินหน้าต่อไปได้

แนวทางที่ศิริชัยเสนอออกมา กลับไปกระทบกับผลประโยชน์ บางอย่างของผู้บริหารที่เคยมีการวางรากฐานกันไว้ตั้งแต่เริ่มต้น จน ถูกต่อต้าน

เมื่อศิริชัยจำเป็นต้องโบกมือลาบางจาก ภาระในการแก้ไขปัญหาของบางจาก โดยเฉพาะยอดการขาดทุนที่สูงถึงปีละกว่า 1,000 ล้านบาท จึงต้องตกอยู่กับณรงค์ ที่เข้ามารับช่วงต่อ

ณรงค์ไม่ใช่คนใหม่ ปัจจุบันเขาอายุ 52 ปี จบปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเข้าทำงานกับเอสโซ่ แสตนดาร์ด (ประเทศไทย) ตำแหน่งล่าสุดก่อนที่จะออกมาอยู่ที่บางจากเมื่อปี 2539 เป็นถึงผู้บริหารสูงสุดฝ่ายปฏิบัติการด้านการตลาด

เขาย้ายมาอยู่บางจากในตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการ ใหญ่ ดูแลกิจการโรงกลั่น แต่ต่อมาภายหลังได้ย้ายมาดูแลงานด้าน การตลาด

ดังนั้นเขาจึงเป็นผู้ที่รู้ถึงปัญหาของบางจากอย่างดีคนหนึ่ง

ก่อนการเข้ารับตำแหน่ง รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังได้มีนโยบายที่จะยังไม่แปรรูปบางจาก ภายใน 3 ปี รวมทั้งยังไม่มีการแยกกิจการโรงกลั่นกับการตลาดออกจาก กัน

การไม่แปรรูป ส่งผลต่อแผนการระดมทุนของบางจากโดยการออกหุ้นขายให้กับประชาชน

"ภายใน 3 ปีนี้ รัฐบาลประกาศแล้วว่าจะยังไม่แปรรูป บางจาก ดังนั้นเราจะต้องทำให้บางจากดีขึ้น" สมหมาย ภาษี ประธานกรรมการบางจากกล่าว

ภารกิจแรกที่ณรงค์ต้องรีบทำ คือการหาเม็ดเงินเข้ามาแก้ไข ปัญหาการขาดทุนสะสมที่ค้างอยู่ ตลอดจนการหาแหล่งเงินทุนอัตราดอกเบี้ยต่ำ เพื่อนำเงินมารีไฟแนนซ์หนี้เงินกู้ที่มีอยู่เดิม

"สิ่งที่เราจะต้องทำตอนนี้คือ ทำอย่างไรให้เลือดหยุดไหล" ณรงค์หมายถึงกระแสเงินสดในระบบของบางจาก ที่ปัจจุบันมีเงินไหลออกมากกว่าไหลเข้า "ผมเชื่อว่าตามแผนของเรา ภายใน 3 ปีนี้ เลือดจะต้องหยุดไหล"

ตามแผนการภายใน 2 ปีนี้ บางจากจำเป็นต้องระดมเงินทุนอัตราดอกเบี้ยต่ำวงเงินประมาณ 6,000 ล้านบาท ซึ่งลักษณะที่ทำได้ขณะนี้คือ การออกหุ้นกู้ โดยมีกระทรวงการคลังค้ำประกัน ซึ่ง จะทำให้บางจากสามารถระดมเงินในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าปกติได้ถึง 2-2.5%

"กระทรวงการคลังเป็นเสมือนแม่ บางจากเป็นลูก ดังนั้นแม่จะต้องป้อนนมลูก" เขายกตัวอย่างเปรียบเทียบ

เขาเตรียมการที่จะออกหุ้นกู้สกุลเงินบาทก้อนแรกในวงเงินประมาณ 3,000 ล้านบาท ช่วงประมาณเดือนตุลาคม-พฤศจิกายนที่จะถึง

นอกจากปัญหาฐานะการเงินแล้ว บางจากยังมีปัญหาทั้งทางด้านการผลิต และการตลาด ซึ่งณรงค์ได้วางแผนไว้ว่าในด้านการผลิต จะต้องลดต้นทุนให้ต่ำลงได้มากที่สุด ด้วยการร่วมมือกับโรงกลั่นไทยออยล์ ในด้านการจัดหา และขนส่งน้ำมัน ตลอดจนปรับเปลี่ยนระบบการจัดเก็บน้ำมันสำรอง ส่วนด้านการตลาดจะเน้นในเชิงรุก ด้วยการสร้างภาพลักษณ์ ของสถานีบริการน้ำมันใหม่ สร้างปั๊มชุมชน และสร้างระบบการค้าแบบผูกพัน เช่นการออกบัตรส่วนลดบางจากเชื่อมโยงไทย มีการมองว่าแนวทางแก้ปัญหาของบางจาก ที่ณรงค์ได้วาดหวังไว้ ในรายละเอียดแล้วไม่ค่อยแตกต่างจากแนวทางที่ศิริชัยพยายามทำในช่วงที่เขาดำรงตำแหน่ง แต่ศิริชัยไม่สามารถทำได้อย่างเต็มที่ เพราะมีคลื่นใต้น้ำคอยพัดมาให้สะดุดอยู่ตลอด

สิ่งที่ต้องจับตามองหลังจากนี้ต่อไป คือแนวทางที่ว่าจะประสบความสำเร็จได้ จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากหลายฝ่าย โดยเฉพาะตัวพนักงานของบางจากเอง แต่จะได้รับมากน้อยแค่ไหน ถือเป็นโจทย์ข้อใหญ่ที่ณรงค์จะต้องขบคิด

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us