ชาญชัย ตุลยะเสถียร
อดีตมือการเงินจากไทยออยล์ที่เข้ามาเป็นกรรมการผู้จัดการ บงล.เจ้าพระยา
ในยุคหุ้นบูม เขาถูกกล่าวโทษจากแบงก์ชาติพร้อมกับพวกว่าปล่อยกู้ให้กับคนรับใช้
ก่อให้เกิดความเสียหายถึงกว่า 500 ล้านบาท แต่เมื่อคดีถึงที่สุดแล้วศาลยกฟ้อง
สิริฉัตร อรรถเวทย์วรวุฒิ
อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารแหลมทอง เธอเป็นคนแรกๆ ที่ถูกแบงก์ชาติกล่าวโทษข้อหาปล่อยสินเชื่อให้กับบริษัทที่มีผลประกอบการขาดทุน
และมีหลักประกันไม่ครบเต็มจำนวน มูลค่าความเสียหาย 135 ล้านบาท แต่เมื่อคดีมาถึงชั้นอัยการ
กลับสั่งไม่ฟ้อง
ปิ่น จักกะพาก
อดีตกรรมการผู้อำนวยการ บง.เอกธนกิจ เขาถูกทางการไทยกล่าวหาว่ายักยอกทรัพย์
โดยการปล่อยสินเชื่อให้กับบริษัทในเครือ และเดินทางไปทำงานอยู่ที่ประเทศอังกฤษ
เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม ศาลอุทธรณ์ของอังกฤษ ก็ได้ประกาศคำตัดสินออกมาว่า
เขาไม่มีความผิดต้องเป็นผู้ร้ายข้ามแดนเพื่อส่งกลับมาดำเนินคดีในประเทศไทย
เนื่องจากเห็นว่าธุรกรรมที่เขาทำนั้น เป็นแค่การทำผิดระเบียบ และที่ผ่านมา
แบงก์ชาติเองก็รับรู้
เริงชัย มะระกานนท์
อดีตผู้ว่าแบงก์ชาติที่อยู่ในช่วงการประกาศลอยตัวค่าเงินบาท วันนี้เขามีโอกาสที่จะหลุดข้อกล่าวหาทำให้ประเทศชาติเสียหาย
จากการนำเงินทุนสำรองไปใช้ในการปกป้องค่าเงินบาทในช่วงก่อนวันที่ 2 กรกฎาคม
2540 เนื่องจากเมื่อเดือนพฤษภาคม แบงก์ชาติได้สรุปความเห็นเสนอต่อกระทรวงการคลังไปแล้วว่าเขาไม่มีความผิด
ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์
อดีตผู้ว่าแบงก์ชาติอีกผู้หนึ่ง ซึ่งเข้ามารับช่วงงานต่อจากเริงชัย เขาโดนข้อกล่าวหาเดียวกันกับเริงชัย
และแบงก์ชาติก็มีความเห็นว่าเขาไม่ผิดเช่นกัน ปัจจุบันเขาเป็น
ที่ปรึกษา ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ดร.สม จาตุศรีพิทักษ์
เขาถูกกล่าวหาพร้อมพวกรวม 12 คน ว่าร่วมกันอนุมัติให้ธนาคารซื้ออสังหาริมทรัพย
์และสิทธิการเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์จากบริษัทสินชฎาทองในราคา ที่สูงผิดปกติ
และมีพฤติกรรมถ่ายเทกำไร จนธนาคารเสียหาย 926 ล้านบาทเศษ เมื่อกลางเดือนสิงหาคมกองบังคับการสืบสวนสอบสวนคดีเศรษฐกิจ
ในฐานะ เจ้าพนักงานสอบสวนได้สรุปสำนวนคดี โดยมีความเห็นสั่งไม่ฟ้อง