Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2544
นโยบายจับคนผิด "หม่อมอุ๋ย" "ถ้าผมจะทำ ต้องชนะ"             
โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์
 

   
related stories

บางส่วนของผู้ที่แบงก์ชาติยังเอาผิดไม่ได้

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
ปรีดิยาธร เทวกุล, ม.ร.ว.




แนวคิดที่แตกต่างกันของผู้ว่าแบงก์ชาติคนปัจจุบันกับผู้ว่าคนก่อนเริ่มปรากฏให้เห็นเพิ่มขึ้นอีก หลังจากที่ได้มีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตร ประเภท 14 วัน จากระดับ 1.5% เป็น 2.5% ไปเมื่อ 3 เดือนก่อน เพื่อให้โครงสร้างอัตราดอกเบี้ยของระบบเป็นรูป เป็นร่าง

คราวนี้ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ได้ประกาศออกมาอย่างชัดเจนว่า นโยบายการเอาผิดกับผู้บริหารสถาบันการเงินที่ทำผิด กฎหมายในช่วงที่เขาเป็นผู้ว่าการฯ จะกระทำอย่างมีความรอบคอบ มากขึ้น

"ถ้าผมจะทำอะไรต้องแน่ใจพอควรว่าทำแล้วต้องชนะ ผมเป็นคนที่ถ้าจะทำอะไรแล้วต้องชนะ ซึ่งแปลว่ายังมีน้ำยาอยู่" ม.ร.ว.ปรีดิยาธรกล่าวเมื่อกลางเดือนก่อน หลังทราบผลจากอัยการอังกฤษที่ได้แจ้งกลับมายังประเทศไทยว่าไม่สามารถยื่นเรื่องไปยังศาลสูงสุด ให้พิจารณาคำร้องเพื่อขอนำตัว ปิ่น จักกะพาก อดีตกรรมการผู้อำนวยการ บริษัทเงินทุนเอกธนกิจ กลับมาดำเนินคดีในประเทศไทยได้

การที่ไม่สามารถยื่นคำร้องไปยังศาลสูง ส่งผลให้ปิ่นไม่มีสภาพเป็นผู้ร้ายข้ามแดนในเกาะอังกฤษ ทุกวันนี้ เขาจึงสามารถทำ ธุรกรรมต่างๆ ได้เฉกเช่นกับคนธรรมดาทั่วไป เพราะก่อนหน้านั้นเพียง 2 อาทิตย์ ศาลอุทธรณ์ของอังกฤษเพิ่งตัดสินให้เขาไม่มีความผิดตามข้อกล่าวหาของอัยการไทย

คดีของปิ่น จักกะพาก ใช้เวลาถึงกว่า 2 ปี จึงเพิ่งได้ข้อยุติ

คดีนี้เริ่มขึ้นในยุคของ ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล ผู้ว่าแบงก์ชาติคนก่อน ซึ่งได้ประกาศนโยบายอย่างชัดเจนทันทีที่ขึ้นรับตำแหน่ง ว่าจะต้องนำผู้บริหารสถาบันการเงินที่บริหารงานผิดพลาดจนเป็น ต้นตอของวิกฤติการเงินในปี 2540 มาลงโทษให้ได หลังการเข้ารับตำแหน่ง ม.ร.ว.จัตุมงคลได้มีการยกเครื่องฝ่ายกฎหมายของแบงก์ชาติ โดยดึงรัฐกรณ์ นิ่มวัฒนา จากสำนักงาน อัยการสูงสุด มาเป็นผู้ช่วยผู้ว่าการฯ เพื่อให้เข้ามาดูแลเรื่องการ กล่าวโทษผู้บริหารสถาบันการเงินโดยเฉพาะ

ในช่วง 3 ปีที่ ม.ร.ว.จัตุมงคล เป็นผู้ว่าแบงก์ชาติได้มีการกล่าวโทษผู้บริหารสถาบันการเงินไปถึง 45 คดี คิดเป็นวงเงินความเสียหายถึง 42,667 ล้านบาท (รายละเอียดดูจากตาราง)

ยังไม่รวมกับความพยายามที่จะเอาผิดกับอดีตผู้ว่าในช่วงก่อนหน้าอย่างเริงชัย มะระกานนท์ และชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ ซึ่งมีส่วนร่วมกับการปกป้องค่าเงินบาท ในช่วงที่ถูกโจมตีจากกองทุนต่างประเทศในปี 2540 จนเป็นเหตุให้ต้องมีการประกาศลอยตัวค่าเงินบาทตามมา

เรียกได้ว่าเป็นความพยายามที่จะกล่าวโทษผู้บริหารสถาบันการเงิน ทั้งของรัฐและเอกชนครั้งมโหฬารที่สุดในประวัติ ศาสตร์ของระบบการเงินไทย

มีผู้บริหารสถาบันการเงินหลายคน มองความพยายามดังกล่าวของ ม.ร.ว.จัตุ-มงคลว่าทำเพื่อต้องการสร้างภาพ เพราะในช่วงที่เขาเข้ามารับตำแหน่งผู้ว่าแบงก์ชาติใหม่ๆ เป็นช่วงที่มีกระแสเรียกร้องสูงในสังคมไทย ที่ต้องการหาตัวผู้กระทำผิด ซึ่งเป็นตัวต้นเหตุที่ทำให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ

และความพยายามที่จะเอาผิดกับผู้บริหารสถาบันการเงินนั้นเอง ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจหยุดชะงัก เพราะผู้บริหารสถาบันการเงินหลายแห่งถึง กับเกิดอาการเกร็ง ไม่กล้าแม้กระทั่งจะพิจารณาปล่อยกู้ เนื่องจากกลัวว่าหากเกิด ผิดพลาดไปแล้วจะต้องติดคุก

ปัจจุบัน ผลของคดีส่วนใหญ่ได้เริ่ม ปรากฏข้อสรุปออกมา และเริ่มเห็นแนวโน้ม แล้วว่าเป็นเรื่องค่อนข้างยากพอสมควรที่แบงก์ชาติจะนำผู้บริหารที่ถูกกล่าวโทษเหล่านั้นมารับผิดได้

ก่อนหน้าคดีของปิ่นจะได้ข้อสรุป จากจำนวนคดีที่มีการกล่าวโทษไปแล้ว 45 คดี เป็นคดีที่แบงก์ชาติไม่สามารถนำผู้ถูกกล่าวหามาลงโทษได้ถึง 5 คดี ขณะที่มีคดีที่ศาลชั้นต้นได้ตัดสินให้แบงก์ชาติเป็นฝ่ายชนะเพียง 2 คดี แต่คดียังไม่สิ้นสุด เพราะอยู่ระหว่างการอุทธรณ์และฎีกา

นอกจากนี้ หลังจากคดีของปิ่นได้ข้อสรุปออกมาเพียงไม่กี่วัน กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ก็ได้สั่งไม่ฟ้องคดีที่แบงก์ชาติกล่าวโทษ ดร.สม จาตุศรีพิทักษ์ กับพวกในกรณีธนาคารนครหลวงไทยเพิ่มเข้ามาอีก มีการประมวลกันว่า เหตุผลที่การกล่าวโทษเพื่อนำผู้บริหารสถาบันการเงินมารับผิดของแบงก์ชาติ ไม่ประสบผลสำเร็จมีหลายประการ เช่น หลักฐานอ่อนเกินไป พฤติกรรมไม่เข้าข่าย หรือมูลความผิดไม่แน่ชัด แม้กระทั่งการประสานงานระหว่างตำรวจกับผู้ร้องคือเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายของแบงก์ชาติเองยังติดขัด ฯลฯ

แต่เหตุผลสำคัญที่มีหลายคนมองก็คือ ความพยายามที่จะเอาผิดกับผู้บริหารสถาบันการเงินเหล่านี้ในยุคของ ม.ร.ว. จัตุมงคลนั้น ทำไปอย่างไม่จริงจังเท่าไรนัก ซึ่งเหตุผลนี้เอง ที่น่าจะทำให้ ม.ร.ว. ปรีดิยาธร ผู้ว่าฯ คนปัจจุบัน ต้องออกมาย้ำ ให้ชัดถึงแนวคิดที่กล่าวถึงไปแล้วข้างต้น "แม้ผมจะไม่ใช่ลูกหม้อ แต่การที่ผมมาดำรง ตำแหน่งผู้ว่าการแบงก์ชาติ ก็จะรักษามาตร-ฐาน คุณภาพตามเดิม สิ่งใดควรทำผมก็ทำ สิ่งใดทำไม่ได้ ก็จบ"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us