Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2544
ดีบีเอสรู้จักดี             
 


   
search resources

ธนาคารดีบีเอสไทยทนุ
DBS Bank




ดีบีเอส (The Development Bank of Singapore) ธนาคารอันดับหนึ่งของสิงคโปร์ วาดฝันจะครองความเป็นผู้นำในภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เริ่มรุกสร้างฐาน ธุรกิจในประเทศที่มีการขยายตัวทาง เศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว

ภาพสถาบันการเงินของรัฐอย่าง ดีบีเอส ออกจะดูขัดกับการบริหารอย่างมือ อาชีพในภาวะการแข่งขันสูง อีกทั้งยังเป็น บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ ซึ่งมีความระมัดระวังเป็นพิเศษในการเลือก พันธมิตรทางธุรกิจและลูกค้าที่ "ดีบีเอส รู้จักดี"

สำหรับในประเทศไทย ดีบีเอส เริ่มก่อตั้งสำนักงานในไทยเมื่อปี 2534 ด้วย การเข้ามาถือหุ้นในธนาคารไทยทนุประมาณ 3-4% และในทีเอสดี ลิสซิ่ง กิจการในเครือ ไทยทนุอีก 18%

การเลือกพาร์ตเนอร์อย่างไทยทนุ ซึ่งเป็นสถาบันท้องถิ่น ช่วยดีบีเอสในการ เรียนรู้การทำธุรกิจและวิธีปฏิบัติต่างๆ ในไทย รวมถึงการสร้างฐานลูกค้าภายในประเทศ และปัจจุบันได้กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่และควบคุมการบริหารงานในไทยทนุอย่างเบ็ดเสร็จ

นโยบายการซื้อกิจการสถาบันการเงิน ในภูมิภาคนี้เป็นทิศทางสำคัญของดีบีเอส ในช่วงจังหวะที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจเอเชีย ด้วยปรัชญาความใหญ่เป็นประเด็นสำคัญของ กิจการสถาบันการเงินนานาชาติ

อย่างไรก็ดี มีคำถามขึ้นมาว่าพวก เขาจะสามารถปรับเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาส ฉวยจังหวะนี้ทำตนเป็นนักลงทุนซื้อกิจการ สถาบันการเงินที่มีปัญหาเพื่อใช้เป็นฐาน ขยายตัวในระดับภูมิภาคอย่างแท้จริงได้ มากน้อยเพียงใด

การพลิกวิกฤติเป็นโอกาสในกรณี ไทยทนุไม่ใช่เรื่องง่าย และยังไม่รู้ว่าโอกาสนี้ จะให้ผลลัพธ์อย่างไร

นโยบายการซื้อกิจการสถาบันการเงิน ในภูมิภาคนี้เป็นทิศทางสำคัญของดีบีเอสใน ช่วงจังหวะที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจเอเชีย มัน เป็นไปในทิศทางเดียวกับที่รองนายกรัฐมนตรี สิงคโปร์ Lee Hsien Loong กล่าวไว้เมื่อเดือน มิถุนายน 1998 ว่า "ความใหญ่เป็นประเด็น สำคัญของกิจการสถาบันการเงินนานาชาติ" คำพูดที่กระตุ้นให้มีการมองโอกาสใน การซื้อหรือควบกิจการในต่างประเทศซึ่ง ดีบีเอสมีภาระต้องผลักดันนโยบายนี้ให้ เกิดดอกออกผลเร็วที่สุด

แต่จนถึงปัจจุบันหากดูผลประกอบ การดีบีเอสไทยทนุภาระของบริษัทแม่อย่าง ดีบีเอสยังหนักหนาสาหัสท่ามกลางวิกฤติ เศรษฐกิจที่อาจจะเกิดขึ้นเป็นรอบที่สอง

แม้ว่าดีบีเอส จะเข้ามาดำเนิน ธุรกิจในไทยเพียง 10 ปีแต่ดูเหมือนว่า ผลลัพธ์ที่ออกมา ความตั้งใจที่จะเป็น Universal Banking ที่ครอบคลุมทั้งด้าน พาณิชย์และธนาคารเพื่อการบริโภค ธนาคาร เพื่อการลงทุนประสบความสำเร็จเร็วเกินคาด เมื่อเริ่มก่อตั้งในปี พ.ศ.2511 นั้น ดีบี เอสมีลักษณะเป็นสถาบันเงินทุนเพื่อการ พัฒนา แต่แล้วก็ขยายกิจการออกไปจน กลายเป็นธนาคารพาณิชย์เต็มรูปในทศวรรษ 1980 มีการให้บริการทุกอย่างแบบธนาคาร พาณิชย์

ปัจจุบันดีบีเอสเป็นผู้นำในตลาด IPO และการทำรายการด้านหลักทรัพย์ในตลาด Public Offering และในตลาดทุนสิงคโปร์ นอกจากนี้ธนาคารยังมีชื่อเสียงชั้นนำในการ รับฝากหลักทรัพย์หรือ Custodian และเป็น Global Custodian ด้วย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us