หากพิจารณาถึงกลยุทธ์การขยาย ธุรกิจของกลุ่มธนาคารอย่างลึกซึ้งจะพบว่า
ธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด มุ่งเน้นการ ลงทุนในประเทศเกิดใหม่หรือประเทศกำลัง
พัฒนาเป็นหลัก
ทั้งนี้ เนื่องจากตลาดของประเทศ เหล่านี้อยู่ในช่วงเริ่มต้นของการพัฒนา การ
เข้าไปในฐานะผู้บุกเบิกจะช่วยเสริมให้สถานะและความสามารถในการแข่งขันแข็งแกร่ง
มากขึ้น
กรณีสาขาในประเทศไทย ธนาคาร สแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด ได้เข้ามาเปิดสำนัก งานในปี
พ.ศ.2437 ภายหลังจากที่ธนาคาร ฮ่องกงเข้ามาจัดตั้งเพียง 6 ปี เท่านั้น ทำให้ธนาคารสามารถ
แข่งขันกับคู่แข่ง โดยเฉพาะธนาคารต่างชาติที่เข้ามาภาย หลังได้ไม่ลำบากเพราะมีฐาน
ลูกค้าที่แน่นหนากว่า
อย่างไรก็ตามธนาคาร ต่างชาติที่เข้ามาทำธุรกิจในไทย ส่วนใหญ่เน้นให้บริการทางการเงิน
แก่ลูกค้ารายใหญ่เป็นหลัก แตกต่างจาก สแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด ที่เน้นบริการทางการ
เงินแก่ลูกค้ารายย่อย
ตลอดระยะเวลา 105 ปีที่สแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด ดำเนินธุรกิจในประเทศไทยภายใต้สาขาเดียวและโอกาสก็มาถึงภายหลังการ
ล่มสลายทางเศรษฐกิจด้วยการเข้าซื้อหุ้น 75% ของธนาคารนครธนในปี 2542
ส่งผลให้กลายเป็นธนาคารที่น่ากลัวสำหรับคู่แข่ง โดยสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด
ให้ บริการกับลูกค้าข้ามชาติขนาดใหญ่ ส่วน สแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด นครธน มุ่งเน้นลูกค้า
รายย่อยด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีและระบบ ใหม่ ปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของ
สาขาและธุรกรรมการเงินใหม่ๆ
สแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด เป็นชื่อของ การควบรวมกิจการเมื่อ 32 ปีที่ผ่านมา ระหว่างธนาคารสแตนดาร์ด
แบงก์แห่งบริติช เซ้าท์แอฟริกา กับชาร์เตอร์ดแบงก์แห่งอินเดีย ออสเตรเลียและจีน
ณ วันนี้สแตนดาร์ด ชาร์ เตอร์ด คือ ผู้นำธุรกิจธนาคารใน ตลาดเกิดใหม่ที่มีพนักงาน
30,000 คน 600 สาขา 56 ประ-เทศทั่วโลก