เมื่อเดือนกรกฎาคม 2541 บริษัทสตาร์ บัคส์ ซึ่งเป็นร้านกาแฟยักษ์ใหญ่ที่มีสาขาถึง
4,000 แห่งทั่วโลกและขายกาแฟวันละ15 ล้านถ้วย ได้มาเปิดดำเนินกิจการร้าน
กาแฟในประเทศไทย โดยใช้เซ็นทรัล ชิดลม เป็นสาขาแรก
เพียงแค่ 3 ปีร้านกาแฟสตาร์บัคส์ใน เมืองไทยมีถึง 22 สาขาและภายใน 5 ปีข้าง
หน้าจะมีถึง 60 สาขา
ปรากฏการณ์ของร้านกาแฟสตาร์ บัคส์ในช่วงที่ผ่านมา คือ มีผู้นิยมรักการดื่ม
กาแฟเพิ่มขึ้นมากพอสมควรและหากเปรียบ เทียบกับฮ่องกงและไต้หวันโอกาสการเติบโต
ยังมีอีกมาก เนื่องจากวัฒนธรรมของผู้บริโภค ยังจำกัดเฉพาะวัยหนุ่มสาวเท่านั้น
กลยุทธ์ที่สตาร์บัคส์นำมาใช้ทางด้าน การตลาดถือว่าเป็นกรณีศึกษาได้ทีเดียวที่
สามารถสร้างกระแสความต้องการของ ผู้บริโภคได้ที่ไม่เพียงแต่ดื่มกาแฟอย่างเดียว
แต่สิ่งที่ดื่ม คือ ดื่มประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และกระบวนการ
หมายความว่าสตาร์บัคส์พยายามที่ ใช้ยี่ห้อเป็นเพื่อนกับผู้บริโภค สร้างสัมพันธ์ที่ดี
ที่เรียกว่า experiential marketing ส่งผลให้ การอธิบายโจทย์ที่บอกว่าทำไมผู้บริโภคถึง
ยอมจ่ายเงินแพงๆ สำหรับกาแฟสตาร์บัคส์ คำตอบคือ ต้องการประสบการณ์ เสียงดนตรี
และศิลปะการตกแต่ง ผู้บริโภคกำลังได้สัมผัส บรรยากาศที่แตกต่างไปจากสิ่งที่ประสบมา
ในอดีต
สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้สตาร์บัคส์ใน ประเทศไทยเติบใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็วภายใต้
ความกดดันทางเศรษฐกิจ
ในปี 2514 สตาร์บัคส์ได้เปิดร้านแรก ที่ Pike Place Public Market ที่ซีแอตเติล
ซึ่งในขณะนั้นเป็นช่วงเวลาที่กาแฟกระป๋อง กำลังได้รับความนิยม ฉะนั้นการเปิดร้านขาย
เมล็ดกาแฟคั่วโดยเฉพาะจึงถือเป็นสิ่งแปลก ใหม่ของตลาดกาแฟในขณะนั้น
การก่อกำเนิดของสตาร์บัคส์เกิดจาก คอกาแฟ 3 คน คือ กอร์ดอน โบเคอร์, เจอรี่
บัลด์วิน และซิฟ ซีเกิล โดยใช้รูปไซเรนสอง ปลายที่โดดเด่นเป็นสัญลักษณ์ ทั้งสามตั้ง
เป้าหมายว่าจะจำหน่ายกาแฟชั้นเลิศและถั่ว ต่อมาในปี 2525 สตาร์บัคส์มีสาขา
5 แห่งพร้อมกับการเข้ามาร่วมงานของโฮเวิร์ด ชูลทส์ ในด้านการตลาดและค้าปลีก
เมื่อชูลทส์เดินทางไปอิตาลีในปีถัดมา พบว่าบาร์กาแฟเป็นที่นิยม เขาจึงเสนอให้
สตาร์บัคส์ เปิดบาร์กาแฟในเมืองซีแอตเติล ในปี 2527 และประสบความสำเร็จ ขณะที่
ชูลทส์ลาออกจากบริษัทในปีถัดมา เพื่อไปเปิดบาร์กาแฟของตนเองในชื่อ อิล จิออร์เนล
และจำหน่ายกาแฟสตาร์บัคส์
ต่อมาสตาร์บัคส์พบปัญหายุ่งยาก เนื่องจากไม่สามารถ ควบคุมคุณภาพสินค้า
ได้จึงต้องขายกิจการ ขายส่งไปในปี 2530 อีกหนึ่งปีให้หลังอิลจิ ออร์เนลก็ซื้อกิจการค้าปลีกของสตาร์
บัคส์ไว้ ราคา 4 ล้าน เหรียญสหรัฐ พร้อม กับเปลี่ยนชื่อกิจการเป็นสตาร์บัคส์
คอร์ปอ เรชั่น เตรียมขายกิจการทั่วทั้งอเมริกา ส่วน เจ้าของกิจการเดิมก็ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับ
กาแฟที่เหลืออยู่ในชื่อ พีท คอฟฟี่ แอนด์ ที
ในช่วงทศวรรษ 1980 สตาร์บัคส์ ประสบปัญหาขาดทุน เนื่องจากไปมุ่งเน้น อยู่แต่เรื่องการขายกิจการ
กล่าวคือ ขยาย จำนวนร้านสาขาถึงสามเท่าตัวเป็น 55 แห่ง ในช่วงปี 2530-2532
ชูลทส์แก้ปัญหาด้วย การจ้างนักบริหารมืออาชีพเข้ามาดูแลจน ในปี 2534 สตาร์บัคส์เป็นบริษัทเอกชนแห่ง
แรกของอเมริกาที่จัดสรรหุ้นให้กับพนักงาน
สำหรับสตาร์บัคส์ในเอเชียเข้ามา ครั้งแรกเมื่อปี 2539 ในญี่ปุ่นและสิงคโปร์
ในปีนั้นเองบริษัทริเริ่ม คอฟฟี่ สตาร์บัคส์ ซึ่งเป็นบริการระบบออนไลน์ โดยอาศัยเครือ
ข่ายของเอโอแอลจนประสบความสำเร็จ