Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2544
General Motors การรุกคืบสู่เมืองไทยของหมายเลข 1             
 


   
search resources

เจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย), บจก.




จะนำ, จะตาม หรือออกไปให้พ้นทาง ถ้อยคำเหล่านี้ย่อมมิได้เป็นเพียงคำขวัญ ประดับท้ายรถยนต์ หากแต่นี่คือภาพสะท้อน ทางยุทธศาสตร์ทางธุรกิจของ General Motors : GM บรรษัทผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ ที่สุดของโลก จากเมือง Detroit อย่างยากจะแยกออก

GM เป็นผู้ผลิตรถยนต์ภายใต้เครื่อง หมายการค้ามากมาย ไม่ว่าจะเป็น Buick, Cadillac, Pontiac, Oldsmobile, Chevrolet, GMC ซึ่งล้วนแต่เป็นสัญลักษณ์ของวัฒนธรรม อเมริกัน ขณะเดียวกันยังมีรถยนต์ Holden, Opel, Saab และ Vauxhall ที่เปิดตลาดระดับ โลกด้วย การขยายตัวของ GM ดำเนินไปท่าม กลางการซื้อกิจการของผู้ผลิตรถยนต์หลาก หลายในต้นของศตวรรษที่ 20 เมื่อ William Durant เล็งเห็นว่าผู้ผลิตรถยนต์ที่มีอยู่จำนวน มากสามารถผลิตรถยนต์ในแต่ละ model ได้ อย่างจำกัด การรวมผู้ผลิตแต่ละรายเข้าด้วย กันย่อมเป็นประโยชน์ในการทำตลาดและการพัฒนารถยนต์แต่ละรุ่น

ความคิดดังกล่าวทำให้เขาเข้าซื้อ กิจการของ Buick Motors ในปี 1904 และติดตามด้วยการซื้อกิจการของผู้ผลิตรถยนต์อีก 17 รายซึ่งรวมถึง Oldsmobile, Cadillac และ Pontiac ในช่วงปี 1910 ด้วย

ภายใต้ขนาดขององค์กรที่มีขนาด ใหญ่มหึมา ในช่วงทศวรรษที่ 1990 GM พยายามที่จะหันกลับมาเน้นในธุรกิจหลัก และการลดทอนค่าใช้จ่ายอย่างต่อเนื่อง ด้วย การขายกิจการรถเช่า และกิจการของ Elec-tronic Data System ออกไปในช่วงปี 1995-1996 รวมทั้งการขายกิจการ Hughes Electro-nics ซึ่งดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับระบบป้องกันและความมั่นคงออกไปในปี 1997

ในห้วงเวลาดังกล่าว GM ได้ขยาย การลงทุนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกด้วยการ ร่วมทุนกับผู้ผลิตรถยนต์ของญี่ปุ่นหลายราย ไม่ว่าจะเป็นการตกลงร่วมผลิตรถยนต์กับ Suzuki ในปี 1998 และเข้าถือหุ้นในสัดส่วน 49% ใน Isuzu ซึ่งเป็นผู้ผลิตรถยนต์บรรทุก ขนาดเบารายใหญ่ในปีถัดมา ผลพวงจากวิกฤติเศรษฐกิจในเอเชีย กลายเป็นจังหวะโอกาสที่สอดคล้องกับยุทธ ศาสตร์การขยายตัวของ GM ไปโดยปริยาย โดยมีประเทศไทยเป็น jigsaw สำคัญในกระบวนการผลิตนี้

ในช่วงปี 1997 GM ได้รุกเข้ามาลง หลักปักฐานในประเทศไทย เพื่อสร้างฐาน การประกอบรถยนต์ ด้วยการลงทุนสร้าง โรงงานบนเนื้อที่ 440 ไร่ รวมมูลค่าการลงทุน กว่า 25,000 ล้านบาทสำหรับการประกอบ รถยนต์ Chevrolet Safira รถยนต์นั่งขนาด 7 ที่นั่ง โดยรถยนต์ที่ผลิตได้ส่วนใหญ่จะถูก ส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ มีเพียง 15% เท่านั้นที่จะจัดสรรมาจำหน่ายในประเทศไทย

ยุทธศาสตร์ด้านเครื่องหมายการค้า ส่งผลให้ Chevrolet Safira ที่ผลิตได้จาก โรงงานในประเทศไทยมีชื่อเรียกแตกต่างกัน ไปตามความแข็งแกร่งของ brand ในแต่ละประเทศ เช่นในญี่ปุ่น รถยนต์รุ่นดังกล่าวจะอยู่ภายใต้เครื่องหมายการค้าของ Subaru ขณะที่ในยุโรปจะอยู่ภายใต้ชื่อของ Opel อย่างเป็นด้านหลัก

การเข้ามาของ GM ในประเทศไทย อาจทำให้แนวความคิดว่าด้วยการเป็น "Detroit แห่งตะวันออก" ที่เป็นภาพฝันมา ตลอดมีความเป็นจริงเป็นจังขึ้นมาได้ใน อนาคต

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us