ซิตี้แบงก์วางตัวเองเป็นธนาคารแห่ง เอเชียแปซิฟิก ซึ่งเป็นแนวทางที่ไม่ใหม่เลย
เนื่องจากการเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในเอเชีย นั้นได้อาศัยเวลาตลอดระยะเกือบศตวรรษ
เพื่อวัตถุประสงค์นี้มาตลอด
ในอีกด้านหนึ่ง ความพยายามที่จะทำให้องค์กรเป็นเสมือนสถาบันการเงิน ท้องถิ่นอื่นๆ
ซิตี้แบงก์จึงต้องเข้ามาแข่งขัน กับพันธมิตรท้องถิ่นอย่างช่วยไม่ได้
พวกเขามองตัวเองว่าไม่ใช่ธนาคาร ต่างประเทศ แต่เป็นธนาคารที่ทำงานในไทย
ให้เป็นเหมือนบ้านและให้บริการกับลูกค้าใน ท้องถิ่นเป็นด้านหลัก
ซิตี้แบงก์เข้ามาเปิดสาขาดำเนิน ธุรกิจการธนาคารอย่างเต็มรูปแบบในปี 2528
ทว่าก่อนหน้านี้เพียงปีเดียว ซิตี้แบงก์เข้ามา มีส่วนร่วมในตลาดไทยในนามของธนาคารเมอร์แคนไทล์
สาขาประเทศไทย ต่อมาภาย หลังจากที่ซิตี้คอร์ปเข้าซื้อกิจการของธนาคาร เมอร์แคนไทล์สำเร็จ
ซิตี้แบงก์จึงได้คืนใบ อนุญาตของธนาคารเมอร์แคนไทล์และจัดตั้ง ธนาคารซิตี้แบงก์
สาขาประเทศไทยขึ้นมา อย่างเป็นทางการ ปัจจุบันกิจการของธนาคาร และบริษัทในเครือซิตี้คอร์ปให้บริการแก่
ลูกค้ามากกว่า 5 แสนราย
นับตั้งแต่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ บรรดา ธนาคารต่างชาติที่เข้ามาดำเนินธุรกิจในไทย
ขยายสาขาแทบทุกแห่ง ด้วยการซื้อกิจการธนาคารท้องถิ่น ขณะที่ซิตี้แบงก์ดำเนินธุรกิจ
ที่มีสำนักงานใหญ่แห่งเดียว
ซิตี้แบงก์มองไม่เห็นอุปสรรคในการ ทำงาน เนื่องจากความก้าวหน้าทางเทคโน
โลยีสารสนเทศซึ่งได้มีส่วนสำคัญในการ ทำงาน โดยอาศัยเทคโนโลยีให้บริการทาง
การเงิน ผ่านทางโทรศัพท์ ผ่านคอมพิวเตอร์ บุคคลและอินเทอร์เน็ต ทำให้เครือข่ายสาขา
และขนาดธนาคารไม่ใช่ข้อจำกัดในการแข่ง ขัน อีกต่อไป ซึ่งซิตี้แบงก์เองมองแนวโน้ม
ลูกค้าของธนาคารจะใช้บริการธนาคารผ่าน โทรศัพท์ และคอมพิวเตอร์มากขึ้น
ปัจจุบันซิตี้แบงก์เพิ่มส่วนแบ่งตลาด ได้มากขึ้น ขณะเดียวกันได้พยายามปล่อย
สินเชื่อให้กับลูกค้าที่มีธุรกิจที่ดี มีการบริหาร ที่ดี ขณะที่ธนาคารบางแห่งมีปัญหา
ซิตี้แบงก์ เข้าไปดูแลลูกค้าบางกลุ่มจากธนาคารที่ถอน ตัวออกจากการปล่อยสินเชื่อ
การดำเนินการดังกล่าว เป็นความได้ เปรียบของซิตี้แบงก์อย่างเห็นได้ชัด
นอกจาก จะอยู่ที่กลไกการดำเนินงานที่มีขอบเขตกว้าง ขวางแล้ว ส่วนหนึ่งเกิดจากการประเมินช่อง
ทางในการประกอบธุรกรรมที่แตกต่างออกไป จากสถาบันการเงินแห่งอื่นๆ
อย่างไรก็ตาม ซิตี้แบงก์จะไม่ทำงาน แบบ aggressive แต่ดำเนินการแบบ inno-vative
bank ฉะนั้นจะมีการเปลี่ยนแปลง ตลอดเวลา
การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนอกจากจะถูกแรงบีบคั้นจากสถานการณ์ประเทศไทย ที่ยังหนักหนาสาหัสแล้ว
กระแสโลกาภิวัตน์ เป็นสิ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ การทำธุรกิจจะยากลำบากมากขึ้น
อำนาจผูกขาดหรือทำธุรกิจ แบบเสือนอนกินคงยาก
ต้นกำเนิดของซิตี้แบงก์ คือ New York State chartered City Bank of New
York เปิดทำธุรกิจที่วอลล์สตรีทและประชุมบอร์ด ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2355
และในปี พ.ศ.2380-2400 เกิดความผันผวนทางการเงินอย่าง รุนแรง แต่ซิตี้แบงก์ยังยืนอยู่ได้
อีก 8 ปีต่อมา เข้าร่วมระบบธนาคารใหม่ของอเมริกาและกลายเป็น The National
City Bank of New York
ปี 2472 National City Bank รวม กิจการกับ Farmer Loan and Trust กลาย เป็น
City Bank Farmer Trust อีก 26 ปีต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น The First National
City Bank of New York
จัดตั้ง First National City Corporation เพื่อเป็นโฮลดิ้งคอมพานี และเปลี่ยนชื่อเป็น
ซิตี้คอร์ป ในปี 2517 ส่วน The First National City Bank เป็นซิตี้แบงก์
ในอีก 2 ปีถัดมา
ปัจจุบันซิตี้แบงก์เป็นบริษัทในเครือของซิตี้กรุ๊ป หลังจาก ซิตี้คอร์ปรวมกิจการกับทราเวลเลอร์ส
กรุ๊ป ในปี 2540