หากมีการตั้งคำถามสำรวจว่า ครัว เรือนแต่ละแห่งใช้อะไรในการซักล้าง คำตอบ ที่ได้รับส่วนใหญ่ย่อมต้องเอ่ยถึง
FAB แม้ว่า ในความเป็นจริงอาจจะใช้ผลิตภัณฑ์ภายใต้ ตราสินค้าชนิดอื่นก็ตาม
FAB กลายเป็นชื่อสามัญ (generic name) ในการกล่าวถึงผงซักฟอกในประเทศ ไทยมาอย่างเนิ่นนาน
ซึ่งกรณีเช่นนี้ย่อมแสดง ให้เห็นถึงนัยบางประการของสินค้าชนิดนี้ว่า มีอิทธิพลต่อการรับรู้ของผู้คนในสังคมไทย
มากน้อยเพียงใด
ขณะเดียวกัน Colgate Palmolive ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตผงซักฟอกชนิดนี้ มิได้มี
ความโดดเด่นเฉพาะในสินค้าดังกล่าวเท่านั้น หากแต่บริษัทที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ใน
New York แห่งนี้ ยังเป็นผู้ผลิตยาสีฟันรายใหญ่ที่สุด ของโลก ภายใต้เครื่องหมายการค้า
Colgate ซึ่งถือเป็นสินค้าเรือธงของบริษัทอีกด้วย
William Colgate ได้ก่อตั้งบริษัท Colgate ขึ้นที่ Manhattan เมื่อปี 1806
หรือ กล่าวอีกนัยหนึ่งเมื่อเกือบ 2 ศตวรรษที่แล้ว โดยผลิตสบู่ เทียนไข และแป้งสำหรับรีดผ้า
ก่อนที่จะผลิตยาสีฟันในปี 1873 และพัฒนา ผลิตภัณฑ์ต่อมาสู่การผลิตยาสีฟันชนิดครีม
ในหลอดในปี 1896
การเติบโตของ Colgate เกิดขึ้นท่าม กลางบริษัทผู้ผลิตสบู่มากมายในสหรัฐ
อเมริกา โดยในปี 1916 ผู้ผลิตสบู่จากไข น้ำมันปาล์ม และน้ำมันมะกอก ภายใต้ชื่อ
Palmolive ได้รับการจัดตั้งขึ้นก่อนที่ Palmolive จะผนวกกิจการของ Peet Brothers
ผู้ผลิตสบู่ อีกรายจาก Kansas City โดยใช้ชื่อ Palmolive-Peet ในปี 1926
และต่อมาในปี 1928 Palm olive-Peet ได้ผนวกกิจการกับ Colgate โดย ใช้ชื่อ
Colgate-Palmolive-Peet และเหลือเพียง Colgate-Palmolive มาตั้งแต่เมื่อปี
1953
ในปี 1947 หรือภายหลังสงครามโลก ครั้งที่สองยุติได้เพียง 2 ปี Colgate-Palmolive
ได้นำผงซักฟอก FAB ออกสู่ตลาด และสามารถครองส่วนแบ่งผงซักฟอกในยุโรป ในฐานะผู้นำได้อย่างรวดเร็ว
ขณะที่ในช่วง ทศวรรษที่ 1950 การรุกเข้าสู่ภูมิภาคเอเชีย ก็เริ่มขึ้น และภายในระยะเวลาไม่นานนับ
จากนั้น ยอดการจำหน่ายในต่างประเทศ ของ Colgate ก็พุ่งทะยานสู่ระดับ 52%
ของ ยอดการจำหน่ายรวมที่บริษัทมี
ทศวรรษที่ 1960 ต่อเนื่องสู่ทศวรรษ ที่ 1970 เป็นช่วงเวลาที่ Colgate พยายาม
ขยายธุรกิจด้วยการเข้าซื้อกิจการอื่นๆ นอก เหนือจากธุรกิจดูแลสุขภาพในช่องปาก
และสบู่ ไปสู่ธุรกิจหลากหลายกว่า 70 ชนิด ก่อน ที่ในทศวรรษที่ 1980 ธุรกิจที่
Colgate ซื้อ เข้ามาหลายแห่งจะถูกจำหน่ายออกไป เพื่อ เน้นธุรกิจที่ถนัดเท่านั้น
Colgate รุกขยายธุรกิจในเอเชีย แปซิฟิกมากขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1980 ด้วยการซื้อหุ้น
50% ใน Darkie บริษัทผู้ผลิต ยาสีฟันรายใหญ่ของ เอเชียตะวันออกเฉียง ใต้
เมื่อปี 1985 และเปลี่ยนชื่อเป็น Darlie ในปี 1989 เพื่อหลีก เลี่ยงกรณีว่าด้วยการ
เหยียดผิว หลังจาก ได้มีการประท้วง เกี่ยวกับการใช้รูปคนผิวดำเป็นเครื่องหมาย
การค้า ขณะเดียวกันได้เข้าซื้อกิจการผลิต ภัณฑ์ทำความสะอาดในช่องปากของ Ciba-Geigy
ในอินเดีย ซึ่งเป็นการเพิ่มส่วน แบ่งการตลาดในอนุภูมิภาคอย่างกว้างขวาง
ธุรกิจหลักของ Colgate ในช่วงปลาย ทศวรรษที่ 1980 จวบจนถึงปัจจุบันเน้นหนัก
อยู่ในผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสุขลักษณะในช่อง ปากอย่างเด่นชัด ด้วยการทุ่มเทพัฒนาผลิต
ภัณฑ์ให้มีความหลากหลายและคุณภาพ พิเศษในการขจัดคราบชนิดต่างๆ ได้มากขึ้น
โดยในปี 1996 Colgate มีผลิตภัณฑ์รวมกว่า 602 ชนิดในตลาดเครื่องอุปโภคบริโภค
และในปี 1997 สิ่งที่ Colgate พยายามดำเนินการ มาตลอดเวลาหลายสิบปี ก็สัมฤทธิผลเมื่อ
สามารถครองส่วนแบ่งการตลาดยาสีฟัน ในสหรัฐอเมริกาได้มากที่สุด เป็นครั้งแรกใน
รอบ 35 ปี หลังจากที่ P&G ครอบครองมา อย่างยาวนาน