Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2543
H&Q 10 ปีในประเทศไทย             
 


   
search resources

เอช แอนด์ คิว (ประเทศไทย)




ด้วยรูปแบบธุรกิจในปัจจุบัน ที่มีความเป็นสากล และเต็มไปด้วยการแข่งขัน การขยายขอบข่าย ศักยภาพเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งนั่นต้องอาศัยเงินลงทุน ที่เพียงพอต่อการรองรับการขยายตัว

เอช แอนด์ คิว เอเชีย แปซิฟิค (H&Q Asia Pacific) ประสบความสำเร็จอย่างมากมายด้านการบริหารเงินร่วมลงทุน (venture capital) ในอเมริกาเกี่ยวกับธุรกิจเชิงอิเล็กทรอนิกส์ และเทคโนโลยีใน แถบ silicon valley

H&Q ได้รับความไว้วางใจจากนักลงทุนให้บริหารเงินทุนทั้งสิ้น 16 กองทุน เป็นเงินกว่า 1,600 ล้านเหรียญสหรัฐ

สำหรับการลงทุนในประเทศไทย H&Q ภายใต้การลงทุนผ่านเอช แอนด์ คิว (ประเทศไทย) ก่อตั้งเมื่อปี 2533 เริ่มแรก ได้บริหาร Country Fund มูลค่า 20 ล้านเหรียญสหรัฐ ภายใต้ชื่อกองทุน Siam Venture Fund โดยเข้าไปลงทุนในธุรกิจต่างๆ ในไทยอย่างมาก มาย อาทิ ส่งออกอาหารทะเล ฟอกหนัง ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ สื่อโฆษณา ก่อสร้าง โรงพยาบาล สื่อสารโทรคมนาคม

"เราเข้าไปมีบทบาทอย่างสูงในการร่วมสนับสนุนให้ภาคธุรกิจต่างๆ สามารถประสบความสำเร็จมากมาย ทำให้ H&Q ได้รับความเชื่อมั่นจากนักลงทุน" ดร.ทา-ลิน ชู ประธานกรรมการ เอช แอนด์ คิว เอเชีย แปซิฟิคกล่าว

เหตุผลที่ H&Q เข้าไปร่วมลงทุน เกิดจากบริษัทเหล่านั้น ไม่สามารถกู้เงินจากสถาบันการเงินได้ เพราะบางโอกาสการกู้เงินอาจเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก ใช้เวลานาน และมีความเสี่ยงสูงหากธุรกิจประสบปัญหา

"ทางเลือก ที่กำลังเป็นที่สนใจของนักธุรกิจ คือ รูปแบบธุรกิจเงินร่วมลงทุน" ดร.ทา-ลิน ชูบอก

หลังจาก H&Q ประสบความสำเร็จใน Siam Venture Fund อีก 2 ปี ถัดมาได้ก่อตั้งกองทุนระดับภูมิภาค (Regional Fund) ขึ้นมาภายใต้ชื่อ Asia Pacific Growth Fund LP (APGF) มูลค่ากองทุน 75 ล้านเหรียญสหรัฐ

แม้ในช่วงต้นของกองทุน APGF จะไม่ได้มาลงทุนในไทยมากนัก เนื่องจากติดปัญหาเรื่องภาษีระหว่างประเทศ และอเมริกา (Tax Treaty) "แต่ในที่สุด เราก็มีโอกาสได้ลงทุนถึง 4 ล้านเหรียญสหรัฐ ในธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคม คือ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือ TAC" วีรพันธ์ พูลเกษ กรรมการผู้จัดการ เอช แอนด์ คิว ประเทศไทยอธิบาย

ปลายปี 2539 H&Q เปิดกองทุน APGF 2 ด้วยเงินกองทุน 278 ล้านเหรียญสหรัฐ และเริ่มลงทุนในไทยเมื่อกลางปี 2540 ซึ่งเป็นช่วงวิกฤติการณ์ค่าเงินบาท แต่นั่นไม่เป็นปัญหาของบริษัทเพราะมีความเชื่อมั่นในพื้นฐานเศรษฐ-กิจของไทย ประกอบกับการลงทุนแบบ venture capital เป็นการลงทุนระยะยาว จึงนำเม็ดเงิน 40 ล้านเหรียญสหรัฐเข้ามาลงทุน

" ที่ผ่านมาธุรกิจเงินร่วมทุนได้เข้าไปมีส่วนสนับสนุนฟื้นฟูธุรกิจภาคต่างๆ ให้สามารถดำเนินการต่อเนื่องได้อย่างราบรื่น ซึ่งธุรกิจเงินร่วมทุนมีจุดเด่น หลายประการ บริษัท ที่ดำเนินงานทางด้านนี้จะเข้าร่วมลงทุนในภาคเอกชน โดยผ่านการพิจารณา เพื่อเลือกลงทุน คือ มีพื้นฐาน และมีแนวโน้มที่ดีในอนาคต" ดร.ทา-ลิน ชูบอก

สังเกตได้จากแม้ในช่วง ที่บริษัทเหล่านั้น มีปัญหา H&Q ยังต้องแบกรับภาระเหล่านั้น เช่น เข้าไปร่วมลงทุนในบมจ.ไทยเคนเปเปอร์ หรือ TCP ผู้ผลิต กระดาษคราฟท์รายใหญ่รายหนึ่งในประเทศ แต่ประสบปัญหาหนี้สินล้นพ้นตัวจำนวน 4,834 ล้านบาท และมีเจ้าหนี้ รวม 122 รายจนต้องยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการตนเองต่อศาลล้มละลายกลาง โดยปัญหาดังกล่าว H&Q จะต้องเป็นหัวหอกในการพิจารณาเนื่องจากเป็น ผู้ถือหุ้นใหญ่ และวีรพันธ์ยังนั่งเป็นกรรมการผู้จัดการอยู่ด้วย

อย่างไรก็ตาม ด้วยความเชื่อมั่น ที่มีต่อศักยภาพของภาคธุรกิจในภูมิภาคเอเชียรวมถึงไทย เนื่องจากมองเห็นอัตราการเจริญเติบโตของภูมิภาคนี้ แม้จะเผชิญกับภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ ที่ส่งผล ต่อเศรษฐกิจ ดังนั้น ต้นปีที่ผ่านมา H&Q ได้ออกกองทุน APGF 3 ด้วยจำนวน เงิน กองทุน 750 ล้านเหรียญสหรัฐ

"เราให้ความสำคัญอย่างยิ่งในการร่วมฟื้นฟูการขยายตัวทางเศรษฐกิจในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก" ดร.ทา-ลิน ชูกล่าว

สำหรับในไทยกองทุนดังกล่าวได้จัดสรรเงินกว่า 30 ล้านเหรียญสหรัฐเข้ามาลงทุนแล้ว "เราลงทุนไปแล้วในบมจ.เอสวีไอ เซมิคอนดัคเตอร์ เวนเจอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล หรือ SVI" วีรพันธ์กล่าว

สำหรับ SVI ปัญหาก็เหมือนกับ TCP คือ มีหนี้สิน และขาดทุนมาช้านาน "แต่เรามองเห็นโอกาสในระยะยาวในแง่ธุรกิจมีความสดใส และมีตลาดที่ใหญ่ และส่งออกได้" วีรพันธ์บอก ซึ่งปัจจุบัน H&Q ได้เข้าไปช่วยเหลือ SVI ในการเข้าไปปรับโครงสร้างหนี้รวมไปถึงการหาผู้บริหารเข้าไปช่วยทำงานด้วย

ดังนั้น หลังจาก ที่ H&Q เข้าไปร่วมลงทุนกับ TCP และ SVI จึงเกิดคำถามตามมาว่า 10 ปีกับการใช้เม็ดเงิน เกือบ 100 ล้านเหรียญสหรัฐในไทย H&Q ประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจต่อนักลงทุนแล้วหรือยัง

ดร.ทา-ลิน ชู จบปริญญาตรีคณะฟิสิกส์จาก The National Taiwan University ปริญญาโทด้านอิเล็กทรอ นิกส์ จาก The Polytechnic Institute of Brooklyn และปริญญาเอกด้านวิศวกรรมไฟฟ้าจาก University of California Berkeley

ในอดีตเคยทำงานกับ IBM Re-search Laboratories เป็นเวลา 12 ปี ตำแหน่งสุดท้ายคือ ผู้จัดการอาวุโส ของ Storage Systems and Technology ในแผนกวิจัยของ IBM

ปี 2528 ได้เข้าร่วมงานกับบริษัท Hambrecht & Quist และได้ก่อตั้งบริษัทบริหารร่วมลงทุนในเอเชีย โดยได้รับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ เอช แอนด์ คิว เอเชีย แปซิฟิค ปัจจุบันขึ้นเป็นประธานกรรมการบริษัท

ด้านวีรพันธ์ จบปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า และวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และปริญญาโทสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า จากมหาวิทยาลัยโคโรราโด อดีตเป็นผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการบริษัทไทยเสรีห้องเย็น และเป็นกรรมการสมาคมผู้ผลิต และส่งออกอาหารแช่เยือกแข็งไทย

วีรพันธ์เข้าทำงานในเอช แอนด์ คิว ประเทศไทย เมื่อปี 2533 ปัจจุบันดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ และนายกสมาคมไทยธุรกิจเงินร่วมลงทุน ที่ผ่านมาเขาบริหารเงินลงทุนหมุนเวียนในไทยประมาณ 3,500 ล้านบาท

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us