ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล เคยให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า ตอนแรกที่จะทำหนังเรื่องนี้คิดหนักมากเพราะรู้อยู่ว่าภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์นั้น
เป็นเรื่องที่ทำได้ยากอย่างมากและต้องใช้งบประมาณในการก่อสร้างมหาศาล เพราะต้องสร้างฉากที่ยิ่งใหญ่เหมือนจริงทั้งหมด
รวมทั้งต้องใช้เวลาในการศึกษาค้นคว้าข้อมูลในทุกเรื่อง แต่เมื่อท่านได้ลองลงลึกในเนื้อหาก็ติดใจและมั่นใจว่าจะต้องเป็นหนังที่สนุก
และ
ดีที่สุดเรื่องหนึ่ง
ข้อมูลที่ยึดเป็นฐานสำหรับการศึกษาค้นคว้าของภาพยนตร์เรื่องนี้ก็คือ พงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์
พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา และบันทึกการเดินทางของปินโต (The Travels
of Pinto) ซึ่งเป็น
ชาวโปรตุเกสที่เข้ามากรุงศรีอยุธยาหลังพระศรีสุริโยไทสิ้นพระชนม์แล้วประมาณ
20 ปี
ข้อมูลทั้งหมดต้องผ่านการตีความแต่ละบรรทัดจากทีมงานทางด้านประวัติศาสตร์
และขยายความสร้างเป็น
เรื่องราว ผสมผสานกับจินตนาการของท่านมุ้ยเอง กลายเป็นภาพยนตร์ "สุริโยไท"
ซึ่งถ่ายทอดเรื่องราวในสมัยพระราชอาณาจักรอโยธยา ช่วงพุทธศักราช 2067-2092
(ค.ศ.1562-1542) โดยเน้นถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตของตัวละคร
คือ พระสุริโยไท พระมเหสีของพระมหาจักรพรรดิแห่ง
กรุงศรีอยุธยา
เรื่องราวของเหตุการณ์ได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในพระชนม์ชีพของพระสุริโยไท
ตั้งแต่พระชนมายุ 15 พรรษา
นับตั้งแต่เรื่องความรักความผูกพัน การอภิเษกสมรส การย้ายเข้าสู่ถิ่นฐานของราชธานี
ชีวิตในราชสำนัก การดำรงรักษาสถานภาพและเกียรติยศของพระราชวงศ์
ภาพยนตร์เรื่องนี้ถ่ายทอดชีวิตของตัวละครที่มีชื่อปรากฏอยู่ในพงศาวดาร
ผนวกกับจินตนาการจำลองภาพชีวิต ความเป็นอยู่ในราชสำนัก และวิถีชีวิตของชาวบ้าน
ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีแต่โบราณในราชอาณาจักรอโยธยา ยามสงบและยามศึกสงคราม
ความเปลี่ยนแปลงอันเกิดจากการสืบทอดราชสมบัติ ผลัดแผ่นดิน สะท้อนให้เห็นถึงธรรมชาติของมนุษย์ปุถุชนที่มีทั้งความเข้มแข็ง
ความอ่อนแอ ความซื่อสัตย์ ความจงรักภักดี ความทะเยอทะยานมักใหญ่ใฝ่สูง ความเห็นแก่ตัว
การแก่งแย่งแข่งดีและการเสียสละเพื่อความอยู่รอด
เรื่องจบลงด้วยสงครามยุทธหัตถี อันเป็นความเด็ดเดี่ยวกล้าหาญและความตายของวีรกษัตรีย์
"สุริโยไท"
(เรื่องย่อจาก www.suriyothai.
mweb.co.th)
ฉากยิ่งใหญ่ที่ปรากฏใน
ภาพยนตร์เช่นฉากยุทธหัตถีนั้น
"ท่านมุ้ย" ได้ปรับไถที่ดินในบ้านอาโพน จ.สุรินทร์ ซึ่งกินเนื้อที่มากกว่า
100 ไร่ สร้างฉากป้อมค่ายของกรุงศรีอยุธยา
โดยระดมทหารจากกองทัพภาคที่ 2 กว่า 3,000 นายทั่วอีสานร่วมฉากใหญ่ รวมถึงทหารม้าจากกรมทหารที่
21
ขนม้านับ 100 ตัวตั้งแคมป์แรมเดือน
และถ่ายทำกันท่ามกลางอุณหภูมิที่ร้อนกว่า 40 องศา
ส่วนฉากอื่นๆ ที่ทุ่มทุนสร้างในโรงถ่าย เช่น พระตำหนักทรงไทยนั้นทีมงานต้องศึกษาจากสถาปัตยกรรม
ที่พอหลงเหลืออยู่เพื่อให้ได้รายละเอียด
ที่สมจริง เช่นเดียวกับข้าวของเครื่องใช้ และเสื้อผ้า เครื่องประดับที่ต้องดูหรูหรา
อลังการ และที่สำคัญ ลวดลายที่ปรากฏตามเสื้อผ้า และภาชนะต่างๆ นั้น
จะต้องสอดคล้องกับความเป็นจริงในยุคนั้นๆ ด้วย
รวมทั้งการดึงเอาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาช่วยในการสร้างฉากที่
ตื่นเต้นเร้าใจต่างๆ ที่หาดูได้ยากในภาพยนตร์ไทย
และทั้งหมดนั้นคือที่มาของการ
เข้ามาขอร่วมเป็นผู้สนับสนุนหนังของ
แผ่นดิน จากสปอนเซอร์รายใหญ่ เช่น ธนาคารไทยพาณิชย์ เบียร์สิงห์ ปูนซีเมนต์นครหลวง
การบินไทย ฯลฯ