Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2544
Winning the Talent Wars             
 





บรูซ ทูลแกน ทำการศึกษาแนวโน้มการจ้างงานใน ยุคเศรษฐกิจใหม่ โดยสอบถามความเห็นผู้บริหารกิจการชั้นนำนับร้อยเกี่ยวกับทิศทางการทำงานแบบใหม่ และกลั่นกรองความคิดออกมาเป็นหนังสือเล่มล่า Winning the Talent Wars ซึ่งจะเป็นคู่มืออีกเล่มสำหรับนายจ้างที่ต้องการดึงตัวพนักงาน ที่มีฝีมือไว้กับองค์กรให้นานที่สุด

ทั้งนี้ รูปแบบการทำงานแบบเดิมใช้ไม่ได้อีกต่อไปแล้ว โครงสร้างที่ทำงานและลักษณะการทำงานในยุคเศรษฐกิจใหม่ จะทำให้พนักงานมีแนวคิดเกี่ยวกับงานต่างไปจากเดิม ทูลแกนมีคำแนะนำดังนี้

1. ช่วยผู้บริหารสร้างองค์กรใหม่ ทูลแกนบอกในระบบเศรษฐกิจใหม่ พนักงานจะไม่ทำงานด้วยความเชื่อในความมั่นคงของหน้าที่การงานอีกต่อไป การลดขนาดองค์กรและการปรับโครงสร้างกิจการ เป็นการส่งสัญญาณให้พนักงานถือเอาความรับผิดชอบส่วนตัวต่ออาชีพการงานเป็นหลัก ผู้บริหารจึงต้องสร้างแนวทางการปฏิบัติงานที่มีความยืดหยุ่นกว่าเดิม ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทั้งกับองค์กรรูปแบบใหม่และพนักงานเอง

2. คนเก่งเป็นแค่เรื่องโชว์เฉพาะหน้า การเก็บรักษาคนเก่ง มีฝีมือไว้จะเกิดขึ้นเป็นรายบุคคลไปและใช้ได้เป็นครั้งคราวเท่านั้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเจรจาต่อรองแต่ละกรณี โครงสร้างองค์กรที่ เข้มงวดและการจ้างพนักงานแบบตลอดชีวิตกำลังเป็นสิ่งล้าสมัย องค์กรต้องเปิดทางเลือกใหม่ให้มากขึ้น

3. จ้างงาน ไม่ใช่จ้างคน ความต้องการของพนักงานนั้น ไม่แน่นอนตายตัว การจ้างงานแบบเดิมที่เน้นความมั่นคงในอาชีพจึงไม่สอดคล้องกับเนื้อหางานยุคใหม่ นายจ้างต้องรู้จักผสมผสานทางออกต่างๆ ให้เข้ากับลักษณะปัญหาของพนักงาน และควรมองหาช่องทางจ่ายงานบางส่วน ให้ผู้รับเหมาช่วงภายนอกเท่าที่จะเป็นไปได้แทนที่จะทำทุกอย่างด้วยตนเอง และสร้างเครือข่ายผู้ที่มีความสามารถมีฝีมืออย่างกว้างขวาง มีพนักงานสำรองในมือ และต้องเปลี่ยนแผนกบุคคลให้เป็นหน่วยเชิงยุทธศาสตร์ในการสรรหาพนักงานที่ดีเยี่ยม

4. จ่ายค่าตอบแทนตามผลงาน ทูลแกนเสนอให้จ่ายค่าตอบแทนแก่พนักงานตามผลงาน และต้องมีการเจรจาต่อรองกับพนักงานแบบเดียวกับที่เจรจากับผู้ค้าจากภายนอก มีผลวิจัยระบุว่าคุณภาพในการผลิตเพิ่มขึ้นเมื่อมีการจ่ายค่าตอบแทนตามผลประกอบการ

5. เปลี่ยนผู้จัดการให้เป็นโค้ช หนทางเดียวที่จะทำให้องค์กรมีอิสระก็คือ ทำให้ระบบการฝึกอบรมมีความเป็นกันเอง เพื่อลดเสียงวิพากษ์วิจารณ์และปรับแนวทางให้เหมาะสม

6. ฝึกอบรมเพื่อการปฏิบัติภารกิจเป็นคราวๆ ไป ไม่ใช่ เพื่อผลระยะยาว ปรับรูปแบบการฝึกอบรมเสียใหม่เพื่อให้เกิดผลตอบแทนจากการลงทุนรวดเร็วขึ้น โดย "ก้าวไปให้เร็ว มีความ เข้มข้นในเนื้อหา มีทิศทางชัดเจนตั้งแต่วันแรกของการฝึกอบรม เพื่อให้ผู้เข้าฝึกอบรมได้มีแนวทางที่เหมาะสมอย่างรวดเร็ว และมอบหมายความรับผิดชอบเพิ่มขึ้นได้เร็วขึ้นทันทีที่ได้เรียนรู้สิ่งใหม่"

7. สร้างช่องทางในการก้าวหน้าทางอาชีพให้หลากหลาย เมื่อพนักงานที่มีความสามารถไปถึงทางตันในเส้นทางการงาน คุณอาจเสนอทางเลือกพิเศษเพื่อให้ได้เติบโตในอีกทางหนึ่งอย่างก้าวกระโดด

จากแนวคิดข้างต้น ผู้จัดการและผู้บริหารจึงมีภารกิจมากกว่า การเปลี่ยนแปลงนโยบายบริษัทเพื่อเอาชนะคู่แข่งเท่านั้น หนังสือเล่มนี้นับเป็นคู่มืออีกเล่มหนึ่งที่ไม่ควรพลาด

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us