Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2544
Khrushchev s Shoe             
 





รองเท้าของครุสชอฟเป็นประเด็นข่าวฮือฮามาแล้ว เมื่อ ครั้งที่อดีตประธานาธิบดีแห่งอดีตสหภาพโซเวียตเกิดไม่พอใจผู้ฟังที่ไม่สนใจ ต่อสิ่งที่เขากล่าวในที่ประชุมสหประชาชาติ จึงถอดรองเท้าแล้วคว้ามาทุบโต๊ะดังปังอย่างกราดเกรี้ยว การกระทำของครุสชอฟบรรลุเป้าหมายคือเรียกความสนใจของผู้ฟังได้ดังใจ แต่ก็เป็นความสนใจระคนความโกรธแค้น

ตัวอย่างที่ยกมานี้ชี้ให้เห็นว่า การสื่อสารเป็นทักษะที่สำคัญยิ่งอย่างหนึ่ง และการที่จะนำเสนอเนื้อหาสาระบางอย่างนั้น เราอาจทำให้บรรลุผลสำเร็จหรือทำลายลงไปสิ้นด้วยการพยายามดึงผู้ฟังให้สนใจ รอย อันเดอร์ฮิล ที่ปรึกษาด้านการสื่อสารมวลชน ผู้เขียน Khrushev.s Shoe กล่าวว่า "ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้บริหารที่กำลังนำนักลงทุนเยี่ยมชมโรงงาน หรือเป็นผู้นำอบรมพนักงานเกี่ยวกับการใช้ซอฟต์แวร์ตัวใหม่ หรือกำลังนั่งร่วมโต๊ะสังสันทน์กับเพื่อนฝูง คุณควรเคารพสติปัญญาของผู้ฟัง และทำให้ผู้ฟังรู้สึกเหมือน กำลังเดินทางไปยังดินแดนอันน่าหลงใหลและลืมไม่ลง"

นี่คือเป้าหมายของผู้ที่ต้องการเป็นนักการสื่อสารที่ยิ่งใหญ่ ในหนังสือเล่มนี้ ผู้เขียนได้กลั่นเอาประสบการณ์ของนักการสื่อสารชั้นนำมานำเสนออย่างน่าสนใจ

ผู้ ฟั ง มี ใ จ เ ปิ ด รั บ สิ่ ง ที่ คุ ณ พู ด อ ยู่ ห รื อ ไ ม่ ?

การจะชักชวนผู้ฟังให้สนใจรับฟัง ขั้นแรก ต้องทำให้ผู้ฟัง "เปิดใจรับ" ข้อมูลข่าวสารใหม่เสียก่อน การจัดวิธีการนำเสนอ หรือ presentation จึงต้องทำให้น่าสนใจตั้งแต่ขั้นเริ่มออกเดินทาง ไม่ใช่รอให้ถึงจุดหมายปลายทางเสียก่อน บรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารต่างเห็นตรงกันว่า "การผสมผสานระหว่างการให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่กับการกระตุ้นด้วยสิ่งท้าทาย จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการใช้สติปัญญาในการระดมความคิด"

คุณอาจทำให้ผู้ฟังเปิดใจรับข้อมูลที่นำเสนอโดยการท้าทายให้คิดหรือกระทำการบางอย่าง วิธีการนี้ต้องใช้การสร้างโอกาสที่น่าสนใจ ซึ่งผู้ฟังสามารถเสนอความคิดเห็นใหม่ๆ ที่ "ไกลเกินกว่าสิ่งที่พวกเขารู้ๆ กันอยู่" นอกจากนั้นคุณจะต้องให้เครื่องมือต่างๆ สำหรับการระดมความคิดที่จะช่วยให้พวกเขาประสบความสำเร็จได้" ขณะเดียวกัน ต้องคอยสังเกตระดับความเครียดหรือความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นและคอยปรับลดแรงกดดันนั้นลง เพื่อให้ผู้ฟังยอมมีส่วนเข้าร่วมและเชื่อใจคุณ

วั ต ถุ ป ร ะ ส ง ค์ ข อ ง ก า ร ท ำ p r e s e n t a t i o n

ไม่มีวิธีสำเร็จรูปใดๆ ในการทำ presentation ที่ยอดเยี่ยม ทุกครั้งคุณต้องคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ แต่ควรระลึกด้วยว่าจะต้องปรับสิ่งที่จะนำเสนอนั้นให้เข้ากันได้กับกลุ่มผู้ฟัง เตรียมตัวอย่างดี มุ่งมั่น และพัฒนาความคิดของคุณเพื่อดึงเอาความคิดอ่านจากภายในให้สะท้อนออกมาเป็นรูปธรรม ทดสอบวิธีการของคุณกับตัวอย่างผู้ฟังสักคนที่จะไม่ส่งผลกระทบต่องานโดยรวม ทั้งนี้ การนำเสนอแนวความคิดจะต้องมีวัตถุประสงค์ชัดเจน และมีการสำรวจสืบค้นอย่างชาญฉลาด และวัตถุประสงค์ของคุณอาจจัดอยู่ในข้อใดข้อหนึ่งดังนี้

๏ ดึงผู้ฟังให้เกิดความสนใจ

คุณต้องเป็นผู้นำที่อยู่ในตำแหน่งแห่งที่ที่สามารถสำรวจสภาพการณ์โดยรอบได้อย่างชัดเจน ต้องใส่ใจกับความต้องการ พื้นฐานของผู้ฟัง ความกังวลเรื่องความปลอดภัย ความต้องการ มีส่วนร่วมและได้รับการยอมรับ สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ผู้ฟังมีความสนใจต่อเนื่อง มองหาพันธมิตรโดยสบตาผู้ฟังเพื่อให้เกิดความรู้สึกใกล้ชิดกัน

๏ รักษาระดับการให้ความสนใจ

ความสนใจคือตัวกระตุ้นให้เกิดแรงผลักดันที่จะรวบรวมความคิดและผูกสัมพันธ์ต่อกัน ปัจจัยที่จะกระตุ้นให้เกิดความสนใจมีอาทิ ความสำคัญ ความมีเอกลักษณ์เฉพาะ อารมณ์ขัน ปัญหา ความชัดแจ้ง ความเจ็บปวด และความหลากหลาย เป็นต้น

๏ สร้างความประทับใจ

การสื่อสารที่มุ่งให้ข้อมูลหรือเน้นในเชิงการศึกษาจะเป็น สิ่งที่อยู่ตรงกลางระหว่างการให้ความบันเทิงสนุกสนานกับการโน้มน้าวชักจูงอย่างมีสิ่งเคลือบแฝง การเล่าเรื่องจะเข้ามามีส่วนช่วยเมื่อคุณต้องแยกแยะจัดหมวดหมู่หรือต้องใช้อารมณ์ความรู้สึก เพื่อเข้าถึงผู้ฟัง

๏ สร้างความเชื่อมั่น

การใช้วิธีการนำเสนอที่ดีจะทำให้ผู้ฟังเปลี่ยนแปลงความรู้สึกและเกิดความเชื่อมั่นอย่างเต็มเปี่ยม "ในฐานะของผู้โน้มน้าวชักจูง คุณเป็นผู้กระตุ้นผู้ฟังให้เกิดปัญหาในใจขึ้น และต้องไม่หยุดบทบาทเพียงแค่นี้ คุณต้องนำทางการแก้ปัญหาด้วย" ชี้ให้ผู้ฟังเห็นว่าคุณเข้าใจถึงปัญหาดังกล่าวและมีทางออกให้เขา

๏ กำหนดแนวทางการกระทำ หากต้องการให้ผู้ฟังมี ปฏิกิริยาหรือกระทำการบางอย่าง คุณอาจต้องมีกลวิธีชักชวน "บางครั้งการใช้คำพูดไม่กี่คำอาจกระตุ้นให้ผู้ฟังทำอะไรที่คุณไม่คาดคิดได้" หากต้องการให้ผู้ฟังสนองตอบ คุณต้องแน่ใจว่าผู้ฟังเข้าใจสิ่งกระตุ้นอย่างถ่องแท้ และอย่าลืมว่าคำพูดเก๋ๆ ที่ฟังจับใจใช้ได้ผลดีมาก

อ า ร ม ณ์ ขั น ภ า พ ป ร ะ ก อ บ แ ล ะ ก า ร อ้ า ง อิ ง

หนังสือเล่มนี้มีรายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับภาวะธรรมชาติของมนุษย์ และวิธีการอันหลากหลายที่จะใช้ในการสื่อสาร อีกทั้ง มีภาพประกอบที่ชี้ให้เห็นว่าภาพร่างง่ายๆ อาจทำให้คำแนะนำหรือการยกคำอ้างอิงต่างๆ เป็นที่เข้าใจได้ง่ายและดูน่าสนุก หนังสือเขียนอย่างมีอารมณ์ขัน ด้วยลีลาแบบภาษาพูด และ แทรกคำพูดของนักการสื่อสารดังๆ ในอดีต จึงเหมาะสำหรับนักการสื่อสารหน้าใหม่ที่ต้องการคำแนะนำเพื่อสร้างความอุ่นใจก่อนขึ้นเวทีจริง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us