Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2544
Brand Warfare             
 





จอห์น แฮนค็อก เคยเป็นชื่อกิจการที่ไม่มีใครรู้จักแต่ ทุกวันนี้เป็นบริษัทติดอันดับ 100 ชื่อยี่ห้อชั้นนำแห่งศตวรรษที่ 20 จากการจัดอันดับของ New York Times ความสำเร็จของจอห์น แฮนค็อก ชี้ให้เห็นว่าชื่อยี่ห้อเป็นสิ่งที่ผู้บริหารจะต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่ง

เดวิด เอฟ ดี อเสซานโดร ผู้เขียน Brand Warfare บอกการสร้างชื่อยี่ห้อสินค้าคือ "อะไรก็ตามที่ผู้บริโภคนึกถึงเมื่อได้ยินชื่อบริษัทคุณ" ทว่า การสร้างชื่อยี่ห้อให้ติดตลาดก็ไม่ใช่เรื่องง่าย และบริษัทอเมริกันจำนวนไม่น้อยมักใช้ชื่อยี่ห้ออย่างไม่ถูกต้องนัก

ต่อไปนี้เป็นกฎ 10 ข้อที่ผู้เขียนเสนอเป็นแนวทางการสร้างชื่อยี่ห้อให้โดดเด่น

กฎข้อที่ 1 อย่าคิดแบบโง่ๆ ว่า ชื่อยี่ห้อเราเยี่ยมกว่าใคร ไม่ว่าคุณจะมีชื่อเสียงเก่าแก่หรือยิ่งใหญ่มาจากไหน อย่าลืมว่าโลกยุคอินเทอร์เน็ตเป็นยุคที่ผู้บริโภคมีความเชี่ยวชาญ ในการเลือกสรรสิ่งที่ต้องการได้เอง หากเลือกซื้อสินค้าได้สะดวกง่ายดาย ลูกค้าก็สนใจจะซื้อ ดังนั้นคุณจึงต้องเอาชนะคู่แข่งในแง่นี้ให้ได้

กฎข้อที่ 2 การพึ่งพาซึ่งกันและกันเป็นทางออกที่สวย ผู้บริโภคต้องการสินค้ามีชื่อและสินค้ามีชื่อก็ต้องการลูกค้าเช่นกัน การซื้อสินค้ามีชื่อช่วยผู้บริโภคประหยัดเวลาในการเลือกหา คุณจึงควรให้ข้อมูลที่เหมาะสมและมุ่งตรงไปยังผู้บริโภค โดยที่ข้อมูลเหล่านั้นต้องช่วยให้ผู้บริโภคมองเห็นความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน และสร้างภาพพจน์ความน่าไว้วางใจ มีความโดดเด่น น่าตื่นตาตื่นใจ หรือมีคุณภาพอื่นๆ ที่ดึงให้ผู้บริโภคมีความภักดีต่อสินค้าได้

กฎข้อที่ 3 สาระของยี่ห้อสินค้าเป็นสิ่งสำคัญ คนคิดสร้างชื่อยี่ห้อต้องให้ความสำคัญกับสาระของสินค้า ต้องคิดให้ออกว่ามันคืออะไรหากเป็นยี่ห้อใหม่ และจะเป็นอะไรต่อไปเมื่อยี่ห้อนั้น ติดตลาดแล้ว ในการสร้างงานโฆษณา ยี่ห้อสินค้าเก่าอาจไม่ต้องเน้นสาระมากนัก แต่สำหรับยี่ห้อใหม่จะต้องนำเสนอสาระออกมาให้ชัดเจน และต้องเหมาะสมสอดคล้องกับสินค้าด้วย

กฎข้อที่ 4 หากต้องการโฆษณาที่โดดเด่น ต้องเตรียมพร้อมที่จะคัดง้าง โฆษณาเป็นการทำให้ชื่อยี่ห้อเป็นที่รู้จัก แต่อย่าหลงเชื่อบริษัทโฆษณาง่ายเกินไป คุณควรปล่อยให้ฝ่ายสร้างสรรค์ของบริษัทโฆษณาทำงานไป แต่ถ้ามีคนในบริษัทโฆษณาเกินกว่า สามคนแก้ไขงานโฆษณาที่เสนอมา ให้ทิ้งงานชิ้นนั้นไปได้

กฎข้อที่ 5 ในเรื่องการเป็นสปอนเซอร์ อย่าลืมว่าอาจเป็นหนทางหนึ่งที่ช่วยผลักดันให้ชื่อยี่ห้อโด่งดังขึ้น อย่างรวดเร็วกว่ากิจกรรมทางการตลาดประเภทอื่น แต่ทั้งนี้คุณต้องรู้จักเลือกสรรและจัดการการเป็นสปอนเซอร์ให้ดี

กฎข้อที่ 6 อย่าสับสนระหว่างการเป็นสปอนเซอร์กับการ สนับสนุนกีฬา การจะเอาชนะใจผู้ชมกีฬาในการจัดแข่งขันกีฬา ชั้นนำเป็นเรื่องยากเย็นทีเดียว อย่าลืมว่าการเป็นสปอนเซอร์คือการเสนอแนวคิดเกี่ยวกับธุรกิจอย่างหนึ่ง หากยืนอยู่บนหลักการนี้ การลงทุนดังกล่าวก็จะเป็นผลดีกับชื่อยี่ห้อของคุณในระยะยาว

กฎข้อที่ 7 อย่าให้เรื่องอื้อฉาวทำลายชื่อยี่ห้อลงในเดือนเดียว ทั้งที่ต้องใช้เวลานับร้อยปีสร้างชื่อขึ้นมา การรับมือกับเรื่องอื้อฉาวเป็นงานละเอียดอ่อนที่สุดในการสร้างชื่อยี่ห้อ ในช่วงที่ไม่มีเหตุการณ์ร้ายแรงใดๆ คุณต้องทำงานหนักในการวางรากฐานชื่อยี่ห้อ แล้วคุณจะสามารถรับมือกับปัญหาได้ดีเมื่อเกิดเรื่องร้ายขึ้น

กฎข้อที่ 8 ทำให้ผู้จัดจำหน่ายสินค้าเป็นเหมือนทาสชื่อยี่ห้อสินค้าของคุณ ควรยืนยันอย่างชัดเจนกับผู้บริโภคว่าผู้จัดจำหน่ายนั้นเชื่อมั่นแต่ชื่อสินค้าของคุณเท่านั้น

กฎข้อที่ 9 ใช้ชื่อยี่ห้อเป็นตัวนำคนในบริษัทไปสู่เป้าหมายที่ใฝ่ฝัน บริษัทที่มีชื่อเสียงแข็งแกร่งไม่ได้ประสบความสำเร็จขึ้นมาได้ เพราะสามารถโน้มน้าวใจผู้บริโภคหรือคนภายนอกองค์กรเท่านั้น แต่ยังเป็นเพราะชื่อยี่ห้อนั้นทำให้คนในบริษัท ตลอดจน ผู้จัดจำหน่ายและผู้ค้าปลีกเชื่อถือไว้วางใจ

กฎข้อที่ 10 ในท้ายที่สุดแล้วชื่อยี่ห้อเป็นความรับผิดชอบโดยตรงของประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และของทุกคนในบริษัท ในบทสรุปของหนังสือผู้เขียนบอก "ธุรกิจที่มุ่งความสำคัญไปที่ชื่อยี่ห้อจะเป็นกิจการที่เดินหน้าไปสู่ความสำเร็จ"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us