ธีรภาพ วัฒนวิจารณ์ เป็นนามแฝงของนักวิชาการ ในรั้วมหาวิทยาลัย ซึ่งนอกเหนือ
จากความเชี่ยวชาญในงานประจำด้านจิตเวชและจิตวิทยาแล้ว ยังมีความสนใจด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เขาจะเสนอมุมมอง
และสาระความรู้ที่น่าสนใจในคอลัมน์ "จากฝั่งพรานนก"
ทำไมนักบริหารมืออาชีพทั้ง หลาย จึงกระทำเรื่องผิดพลาดในการ บริหารจนกลายเป็นกรณีตัวอย่างให้เราศึกษา
กันได้ตลอด ไม่ว่าจะเป็นกรณีการขาดทุนอย่าง มโหฬารของบริษัทยูนิคอร์ดภายหลังการ
สร้างชื่อบริษัทของคนไทยที่ไปเทกโอเวอร์ บริษัทฝรั่งอย่างบับเบิ้ลบี (ผู้สนใจอาจหา
อ่านได้ในผู้จัดการฉบับเก่า) ซึ่งลงเอยโดย การฆ่าตัวตายของผู้บริหารระดับสูงของ
บริษัท นั่นเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลายปี ก่อนเกิดสิ่งที่เรียกว่าวิกฤติเศรษฐกิจใน
ปัจจุบัน หรือกรณีการพังทลายของระบบ เศรษฐกิจไทยทั้งระบบ ซึ่งโดมิโนตัวหนึ่ง
คือการล้มลงของธนาคารเก่าแก่อย่าง ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ ธนาคาร ศรีนคร
หรือธนาคารกลางเก่ากลางใหม่ อย่างธนาคารมหานคร ซึ่งต่อไปชื่อเหล่านี้ บางชื่อคงถูกลืมเลือนไปจากความทรงจำ
ของคนไทย หากจะเหลือไว้ก็คงเป็น บันทึกอีกหน้าหนึ่งของประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจสังคมว่า
เคยมีธนาคารชื่อ เหล่านี้ในเมืองไทย ในยุคก่อร่างสร้างตัว และยุครุ่งเรืองของเสือตัวที่ห้าแห่งเอเชีย
แต่หากมองไปที่ตัว ละครแต่ละตัวในยุคนั้นไม่ว่าจะ เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี
กระทรวงการคลัง หรือกระทั่งผู้ ว่าธนาคารชาติ เป็นฝ่ายถูก กระทำเพียงฝ่ายเดียวก็ใช่ที่
เพราะหากจะให้อภัยด้วยเหตุผล ดังกล่าว ก็คงต้องถามต่อไปว่า แ ล้วเราจะมีผู้บริหารของประเทศ
หรือองค์กรไว้ทำไม หากบรรดาคนเหล่านั้น ทำได้เพียงการตอบสนองไปตามสถานการณ์
ไม่สามารถปรับตัว หรือฝืนกระแสความ เป็นไปอย่างที่มาเลเซียทำได้เพราะหากเป็น
เช่นนั้น เราก็คงจะได้ยินคำชื่นชมประเภท ท่านผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล
มีการ ตัดสินใจที่เหมาะสม องค์กร (หรือประเทศ) จึงสามารถพัฒนามาได้ แต่เมื่อเกิดความ
ล้มเหลวหรือความเสียหายขึ้น คำพูด ประเภท ท่านพยายามอย่างที่สุดแล้วหรือ
ความเสียหายอาจเกิดมากกว่านี้หากไม่ได้ ท่านหรือหากให้คนอื่นมาอยู่ในสถานการณ์
เช่นเดียวกับท่านก็ไม่มีทางที่จะทำได้ดีกว่านี้ ดังที่เรายังคงได้ยินกันอยู่ในปัจจุบัน
หากโจทย์ของเราวางอยู่บนสมมุติ ฐานว่าผู้บริหารไม่ว่าจะเป็นองค์กรระดับเล็กๆ
ไปจนถึงบริษัทขนาดใหญ่ หรือรัฐบาลของแต่ ละประเทศต่างอยู่ในสถานะที่ควรจะหรือน่า
จะมีข้อมูลต่างๆ ที่มากพอ หรือเหมาะสมใน การประเมินสถานการณ์หรือภาวะวิกฤติที่
องค์กรของตนเผชิญอยู่ นั่นย่อมหมายความ ว่า เราตัดปัญหาเรื่องนักการเมืองที่กลายเป็น
นักบริหารชอบใช้ว่า "ยังไม่ได้รับรายงาน" ออกไป แต่ทำไม เช่น ในกรณีของผู้บริหาร
ระดับสูงของรัฐบาลไทยยุคหนึ่งจึงไม่ยอม รับรายงานการศึกษาของบริษัทที่ปรึกษา
ที่ถูกว่าจ้างเข้ามาศึกษาภาวะเศรษฐกิจ ของไทยว่าวิกฤติกำลังจะเกิดขึ้น หรือผู้
บริหารธนาคารชาติที่ขนเงินออกไปสู้การ โจมตีค่าเงินบาท ซึ่งชนะในยกแรกพร้อม
กับการเลี้ยงฉลองประกาศความสำเร็จ ต่อสาธารณชน ก่อนที่จะลำพองกับ ชัยชนะในยกแรก
พร้อมกับพ่ายแพ้อย่าง ย่อยยับในยกที่สอง ตามมาด้วยการลด ค่าเงินบาทและการพังของระบบเศรษฐกิจ
ทั้งหมด
มีคำอธิบายอะไรเกี่ยวกับการ ตัดสินใจที่ผิดพลาด ทั้งๆ ที่ข้อมูลวางให้
เห็นต่อหน้าอย่างชัดเจนว่าหายนะจะ เกิดขึ้นอย่างแน่นอนหากผู้บริหารยังคง
ตัดสินใจที่จะเลือกทางดังกล่าว แต่เขา ยังคงเลือกทางไปสู่หายนะ
หากตั้งคำถามว่าผู้บริหารแต่ละ คนต้องการอะไรในการบริหารองค์กร คำตอบที่น่าจะตรงประเด็นมากที่สุด
คือ ความสำเร็จ ซึ่งมักจะมีความหมายเท่ากับ ความเจริญเติบโตขององค์กรหรือ
อาจจะดูในแง่ของตัวเลข คือ ยอดขาย อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (ใน กรณีของประเทศ)
ผลกำไร ฯลฯ นักบริหารต้องการความสำเร็จเพื่อ อะไร หากเรามองต่อไปอีกเราก็จะ
พบว่า ไม่ใช่เรื่องของทรัพย์สิน แต่ เป็นเรื่องของความภาคภูมิใจ ความ รู้สึกมีคุณค่าในตนเอง
และการถูก ยอมรับหรือได้รับความชื่นชมจากคน รอบข้าง
ที่สุดแล้วสิ่งที่นักบริหารต้องการ คือสิ่งที่ตอบสนองต่อตัวตนของเขา ไม่ใช่
ความเติบโตขององค์กร นี่จึงอาจเป็น เหตุผลง่ายๆ ที่ถูกบดบังจากคำอธิบาย เกี่ยวกับพฤติกรรมบางอย่างของนัก
บริหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักการเมือง ที่มาเป็นนักบริหาร ที่มักจะทำอะไรขัด
กับความรู้สึกของเราว่าทำไปทำไม ไม่ เห็นจะได้ประโยชน์กับองค์กร หรือ ประเทศชาติ
หากตั้งต้นจากสมมติฐานว่าสิ่งที่ ผู้บริหารทำในการบริหารงานแท้จริงแล้ว
คือการตอบสนองอัตตาของตนเอง การ อยู่รอดขององค์กรเป็นเพียงเครื่องมือ เท่านั้น
เราก็จะพบต่อไปว่า ในช่วงที่ องค์กร (หรือประเทศ) อยู่ในช่วงเติบโต คนเหล่านี้จะมีทัศนะในแง่บวก
มองโลก ในแง่ดี รวมทั้งข้อมูลต่างๆ ที่ออกมาก็ จะสนับสนุนความเชื่อของผู้บริหารว่า
เขามาถูกทางแล้ว ความเติบโตจะดำเนิน ต่อไปเรื่อยๆ ในช่วงขณะนั้น ข้อมูลและ
ตัวเลขต่างๆ ไม่ใช่อุปกรณ์ที่เขาใช้ใน การวิเคราะห์หาทิศทาง แต่มันกลายเป็น
เพียงแผ่นปลิวโฆษณาที่ยืนยันความสำเร็จ ในการบริหารของเขา
เมื่อตัวเลขต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ยอดขาย ผลกำไร อัตราการเติบโตที่ลด ลง หรืออัตราการว่างงานออกมาเป็นผลลบ
สิ่งที่นักบริหารเหล่านี้มองเห็น ไม่ใช่ สัญญาณอันตรายของบางสิ่งที่จะเกิดขึ้น
แต่มันถูกลดความสำคัญลงเหลือเพียงว่า สถานการณ์นี้เกิดขึ้นกับทุกองค์กร มัน
เป็นความผิดพลาดเล็กๆ ที่แก้ไขได้ เดี๋ยว ทุกอย่างก็จะกลับเป็นปกติ (หากจะนึกถึง
ตัวอย่างที่ชัดเจน เราอาจนึกได้หลายสิบ เรื่องโดยเฉพาะอย่างยิ่งเหตุการณ์ในสมัย
ก่อนเศรษฐกิจพังทลาย และการต่อสู้กับ การโจมตีค่าเงินบาท)
ข้อมูลที่เป็นลบมีผลกระทบต่อความ รู้สึกของผู้บริหาร พวกเขาทนไม่ได้ที่อัตตาของ
ตนเองถูกทำร้ายจากการที่สถานการณ์ไม่ได้ เป็นเหมือนอย่างที่เคยเป็นในช่วงที่เขาประสบ
ความสำเร็จ การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นโดยไม่รู้ ตัว คือการบิดเบี้ยว การแปลความข้อมูลที่ได้
มาให้ลบน้อยลง หรือยังคงบวกอยู่
ข้อมูลเป็นเพียงข้อมูล มันจะมีความ หมาย หรือความสำคัญต่อเมื่อมีการตีความ
ข้อมูลนั้นว่ามันบ่งถึงอะไร คนเราตีความหรือ ให้ความหมายกับข้อมูลโดยอาศัยประสบ
การณ์ และความรู้สึก และความรู้สึกนี้เองที่ หลอกนักบริหารให้ผิดพลาดมามากต่อมาก
ข้อมูลที่เป็นลบ เร้าให้ผู้บริหารเกิดความกลัว และวิธีลดความกลัวที่ได้ผลเร็วที่สุด
คือ การ ไม่ใส่ใจให้ความสำคัญกับมัน สิ่งนี้ไม่ได้เกิด ขึ้นกับผู้บริหารเพียงคนเดียว
โชคร้ายของ องค์กรต่างๆ คือ ผู้บริหารระดับสูงมักจะ ปกป้องอัตตาของตนด้วยวิธีนี้แทบจะทุกคน
ดังนั้นการประชุมของผู้บริหาร แทนที่จะทำให้ ทุกคนยอมรับและมองเห็นแนวโน้มที่ไม่ดี
กลับกลายเป็นว่าทุกคนในวงประชุม (ครม.?) ช่วยกันปกปิดความกลัวนี้ คนที่คัดค้านหรือ
มีความเห็นตรงกันข้ามจึงถูกมองด้วยสายตา แปลกๆ และไม่ยอมรับ
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน และเกิดขึ้น เมื่อไม่นานนี้ คือ ความพ่ายแพ้ครั้งสำคัญของ
พรรคประชาธิปัตย์ ก่อนหน้าการเลือกตั้ง ความนิยมในตัวพรรคลดลงอย่างมาก การ
ประท้วงแสดงความไม่พอใจในรัฐบาลและ พรรคเกิดขึ้นบ่อย นั่นเป็นสัญญาณว่าพรรค
ประชาธิปัตย์ต้องปรับตัว ปรับนโยบายพรรค และการบริหารงานอย่างใหญ่หลวง เพื่อ
เตรียมพร้อมกับการเลือกตั้ง คนทุกคนเห็น ยกเว้นคนในพรรค (ผู้บริหาร) โฆษกพรรค
หรือผู้บริหาร กระทั่งนายกต่างปฏิเสธ สัญญาณดังกล่าว และอธิบายปรากฏการณ์
ลบให้เป็นบวก เช่น เป็นม็อบรับจ้าง สื่อ มวลชนสร้างกระแส หรือกระทั่งการพูด
อย่างเชื่อมั่นด้วยการท้าทายให้เลือกพรรค อื่น สิ่งเหล่านี้คือการปลอบประโลมตัว
เองให้หายกังวลและหายกลัวในสิ่งที่ กำลังจะเกิดขึ้น ช่วงนั้นมีเสียงทัดทาน
และเรียกร้องการปรับตัวของพรรคเกิดขึ้น แต่การปรับตัวดังกล่าวไม่มากพอ และ
ไม่ทันกับสถานการณ์ผลนั้นเราทราบกันดี พรรคประชาธิปัตย์แพ้อย่างที่ผมอยากจะ
ใช้คำว่าย่อยยับ เพราะเป็นครั้งแรกที่เกิด พรรคที่ได้เสียงข้างมากอย่างไทยรักไทย
ผู้บริหารที่เชื่อมั่นตนเองจนไม่ฟัง เสียงของคนอื่น และชาวบ้าน เชื่อมั่น
เฉพาะเสียงที่มีความเห็นคล้อยตามกับ ความเห็นของตน โดยไม่เคยคิดว่า ลูกน้อง
ที่คล้อยตามเจ้านายเป็นเพราะพวกเขาเชื่อ และรู้ดีว่า เจ้านายต้องการฟังสิ่งที่ตนเอง
พอใจมองเสียงทัดทานเป็นเสียงนกเสียงกา ไม่ให้ความสำคัญกับลูกน้องที่มีความเห็น
สวนกระแส นั่นคือผู้นำที่ไม่รู้จักตัวตนและ อัตตาของตน หากเขาและเรายังคงไม่เข้าใจ
ว่าปัจจัยอะไรที่ทำให้พวกเขาเหล่านี้ตัดสิน ใจผิดพลาดและมองว่าความผิดพลาดไม่ได้
เกิดจากตัวเขา เราก็คงได้แต่สวดมนต์ภาวนา ไม่ให้ความผิดพลาดเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง
เพราะคนเหล่านี้หรือตัวละคร ทั้งหมดนี้ กลับมามีบทบาทในฐานะผู้บริหารระดับสูง
ของประเทศอีกครั้งหนึ่ง หายนะ คงอยู่ไม่ ไกลยุคสมัยของเราท่านทั้งหลาย