ใช่แล้ว... ถ้ารีบตอบ เพราะนี่เป็นความรู้สึก ความทรงจำและความเข้าใจของเราท่านทั้งหลาย
จากประสบการณ์ของเราเองแท้ๆ
แต่คำตอบที่ใช้เวลานานขึ้นอีกนิดอันสืบเนื่องมาจากการคุ้ยๆ ค้นๆ กลับไม่เป็นเช่นนั้น
มาดูกันว่า เส้นทางของการเล่านิทาน จะพาเราไปที่ใดกันได้บ้าง
แคมเปญสุดฮิตของคุณนายทำเนียบขาวกับการเล่านิทาน
เพราะลอร่า บุช สตรีหมายเลข หนึ่งของอเมริกา มีอาชีพเป็นครูมาก่อน (จะต้องทำหน้าที่ภริยาผู้ว่าการรัฐและ
ภริยาประธานาธิบดี) วงการการศึกษา มะกันจึงตื่นเต้นแต่งตั้งให้เธอเป็นประธานคนล่าสุดในแคมเปญรณรงค์การอ่านของชาติ
ซึ่งแคมเปญนี้ทำมาหลายปีติดต่อกันตั้งแต่สมัยประธานา ธิบดีคลินตันแล้ว
ที่ผ่านมา รัฐแต่ละรัฐจะต้องมีแผนงานส่งเสริมการอ่านของตน ส่วนใหญ่จะเป็นการจัดโครงการบังคับอ่านและจัด
ประกวดการอ่าน มีทั้งอ่านนานอ่านชัดอ่านดัง ดูแล้วก็ปลงภูมิปัญญาของประเทศพัฒนาแล้วเหมือนกัน
แต่ส่วนที่สะกิดตาสะกิดใจที่สุดเห็นจะเป็นการใช้ธีมเล่านิทานและเล่าเรื่องซึ่งปรากฏเป็นระยะๆ
ตลอดแผนงานทั้งปีและหลายปีติดต่อกัน เช่น มีการจัดสัปดาห์การเล่านิทาน เดือนแห่งการแชร์นิทาน
โครงการเล่านิทานและเรื่องราวความ เป็นมาของอเมริกา ของรัฐแคลิฟอร์เนีย โครง
การเรื่องเล่าโยงประวัติเรื่องราวและภูมิปัญญา ของชนหมู่น้อยในเมือง เป็นต้น
ส่วนคุณนายบุชนั้น จากประสบการณ์ ที่เคยเป็นทั้งครูและแม่ของลูกแฝดสาว
เธอมี ความเห็นว่าพ่อแม่ควรอ่านหนังสือให้ลูกฟังตั้งแต่เล็กๆ ก่อนวัยเข้าเรียน
เพราะเธอเชื่อว่า ถ้าเด็กๆ ที่เคยผ่านการฟังเรื่องเล่าจากหนังสือมาก่อน เริ่มเข้าเรียนในโรงเรียนแล้ว
เด็กๆ เหล่านี้จะมีคลังคำศัพท์ที่อุดมสมบูรณ์ กว่าที่ได้จากภาษาพูดเพียงอย่างเดียว
ซึ่งจะ ช่วยทำให้สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวด ล้อมใหม่ ตลอดจนการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
ได้ดีขึ้น เมื่อลูกสาวฝาแฝดยังเล็กอยู่ ทั้งคุณนายบุชเองและสามีต่างก็เคยผลัดกันเล่านิทานให้ลูกฟังบนเตียงก่อนนอน
ส่งเสริมการอ่านกับการเล่านิทาน
การรณรงค์การอ่านและรู้หนังสือของ ประเทศต่างๆ ทั่วโลกรวมทั้งไทยมักจะมีโครง
การหรือกิจกรรมเล่านิทานเป็นองค์ประกอบ เช่น สำนักงานบริติชเคาน์ซิล ได้จัดให้มีการ
เล่านิทาน ประกอบกับการวาดภาพ และประกวดภาพวาดเหล่านี้ เมื่อปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมาเพื่อเป็นการร่วมจัดกิจกรรม
วันหนังสือโลกของ UNESCO งานสัปดาห์หนังสือของไทยก็เช่นกัน มักจะจัดกิจกรรมเล่านิทานประกอบกับการเล่นละคร
หรือการ วาดภาพตลอดจนการจัดประกวดการเล่านิทาน ซึ่งการประกวดหรือแข่งเล่านิทานและ
เรื่องที่อ่านจากหนังสือนี้ มีอิทธิพลสูงอย่างไม่น่าเชื่อต่อเด็กๆ ครูสอนภาษาไทยท่านหนึ่ง
ที่ใส่ใจการส่งเสริมการอ่านมาเป็นเวลานาน เล่าให้ฟังว่าราวห้าปีมาแล้วร้านขายพิซซ่าชื่อดัง
ซึ่งแทบจะครองตลาดพิซซ่าทั่วไทยจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายโยงกับการส่งเสริมการอ่าน
โดยให้เด็กๆ เล่าเรื่องที่อ่านให้ ครูฟัง และให้ครูเซ็นชื่อกำกับส่งใบยืนยันว่าเด็กได้อ่านจริงไปรับพิซซ่า
(สำหรับ เด็ก) กินฟรี ไม่ทราบยอดขายขึ้นด้วยหรือเปล่า แต่ที่แน่ๆ คือ คุ้มต่อการส่งเสริมการอ่าน
เพราะเท่า ที่คุณครูคนนี้รู้ อย่างน้อยก็มีเด็กชายวัยเริ่มรุ่นหนึ่งคนที่ติดใจการอ่านอย่างเหนียวแน่นจากบัดนั้นเป็นต้นมา
การส่งเสริมการอ่านในบ้าน เราในระยะหลังนี้ ที่เห็นว่าพยายาม ทำอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอและที่น่าทึ่งคือ
เป็นของรัฐด้วย คือ ห้องสมุดห้องแถว ซึ่งมีชื่อทางการว่า ห้องสมุดประชาชน
อยู่ภายใต้การดูแลของ กทม. บรรณารักษ์เป็นผู้คิดและทำกิจกรรมส่งเสริมการอ่านเอง
อย่างที่เขตมีนบุรี บรรณารักษ์เล่าว่าจุดเด่น ที่เด็กๆ ชอบกัน คือการเล่านิทานประกอบหุ่นมือ
นอกจากห้องสมุดแล้ว ร้านขายหนังสือหลายแห่งก็พยายามรณรงค์การอ่าน โดยใช้การเล่านิทานเป็นการชักนำด้วย
ที่เห็นทำอยู่เป็นกิจวัตร คือศูนย์หนังสือจุฬาฯ ที่สยามสแควร์ มีการเล่านิทานจากกลุ่มมืออาชีพด้วย
เช่น กลุ่มกระจิริด กลุ่มนิทานกระดานหก และกลุ่มนิทานแต้มฝัน รวมทั้งมีการประกวดเล่านิทาน
การวาดภาพและพับกระดาษประกอบการเล่านิทาน การแสดง หุ่นมือ นับว่าเป็นการยกระดับการเล่านิทานไปอีกขั้นหนึ่ง
หลักสูตรโรงเรียน ผู้สูงอายุกับการเล่านิทาน
ไม่เพียงแต่การเล่านิทานจะใช้เป็นสื่อ หรือเครื่องมือของการส่งเสริมการอ่านเท่านั้น
ปัจจุบันมีผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาหลายคน ในอังกฤษ อเมริกาและออสเตรเลียเห็นว่า
การเล่านิทาน เหมาะกับการสอนสารพัดวิชา ในหลักสูตรในโรงเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งระดับประถมศึกษาและมัธยมต้นด้วย
เป็น การบูรณาการทั้งเนื้อหาและวิธีการสอนได้อีกวิธีหนึ่ง ที่เห็นได้ชัดเจนคือ
การเชื่อมเรื่อง ราวในประวัติศาสตร์สังคมศึกษา และวิทยา-ศาสตร์รวมทั้งสิ่งแวดล้อมเข้าด้วยกัน
อีกกลุ่ม วิชาคือ ด้านจริยศึกษา และศาสนา
ในทำนองเดียวกันทางด้านจิตวิทยา มีผู้เชี่ยวชาญที่นิยมนำการเล่านิทานมาบำบัด
รักษา สภาพจิตใจของผู้ป่วย ผู้เศร้าหมองและผู้สูงอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานสงเคราะห์คนชรา
ต่อต้านการรังแกในโรงเรียนกับการเล่านิทาน
ที่อังกฤษ ทางการให้เงินสนับสนุนการ ใช้นิทานและกระบวนการเล่านิทานในการแก้ปัญหาการรังแกกันในโรงเรียน
โครงการนี้มีชื่อว่า "Talking Sense" มีเป้าหมายต่อต้าน การรังแกในหมู่เด็กนักเรียนในโรงเรียน
การเล่านิทานในโครงการนี้ประกอบด้วยการแสดง ละคร การพูดคุยปรึกษาหารือ การเล่นเกมและการร้องเพลง
ผู้เล่าใช้เทคนิค Visualiza-tion โดยให้เด็กๆ นอนลง หลับตา และฟัง นิทานคลอด้วยเสียงเพลงเบาๆ
สบายๆ ซึ่งการเข้าไปในโรงเรียนต่างๆ ที่มีปัญหานั้น ผู้เล่ามักจะพบปัญหาการต่อต้าน
ไม่เชื่อถือจากกลุ่มครู แต่ส่วนใหญ่แล้วครูเหล่านี้จะเปลี่ยนใจภายในเวลาอันรวดเร็ว
ภายหลังจาก ที่เห็นผลบวกของการใช้กระบวนการนี้ ผู้เล่า บอกว่า "ผมเริ่มทำงานนี้เพราะความเชื่อในเรื่องอิทธิพลของการเล่านิทาน
เพราะมันเป็น การข้องเกี่ยวกันหลายด้านของชีวิตมนุษย์เรา ในขณะที่เราฟังนิทาน
และผ่านอารมณ์ความ รู้สึกต่างๆ ตามเนื้อเรื่อง ตามสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นกับผู้คนในนิทาน
เมื่อเราพิจารณาสิ่งต่างๆ เหล่านี้อย่างแท้จริงแล้วจะเห็นว่าชีวิตมนุษย์เรา
ส่วนใหญ่ก็เป็นเช่นเดียวกับในนิทานนั่นเอง"
การกลับมาของการเล่านิทาน : ยุคทองติดปีกไซเบอร์
ในระยะเวลากว่าสิบปีที่ผ่านมา ในประเทศเจ้าของภาษาอังกฤษเป็นหลัก การ เล่านิทานได้แปรสภาพจากเสี้ยวเล็กๆ
และโบราณเสี้ยวหนึ่งของวงการศึกษามาเป็น กระบวนการทั้งลึกล้ำและกว้างไกล
สนับสนุน โดยกลุ่มคนทั้งที่ยึดการเล่านิทานเป็นวิชาชีพ และกลุ่มอื่นๆ ที่มีอาชีพข้องเกี่ยวกับการเล่า
นิทาน เช่น บรรณารักษ์ นักเขียน นักการศึกษา นักแสดง นักเชิดหุ่นกระบอก นักพูดนักมายากล
นักบำบัด ฯลฯ
การรวมตัวของกลุ่มบุคคลเหล่านี้มีตั้งแต่เป็นกลุ่มย่อย ชมรม สมาคม สมาคม
อาชีพ ตลอดจนองค์การ การพบปะกันจึงมีลักษณะทั้งแบบเป็นกันเองสบายๆ ตามบ้าน
คาเฟ่ ร้านอาหาร ตลอดถึงการจัดประชุมระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และระดับโลก
มีกระทั่งการจัดเทศกาลเป็นประจำทุกปี และ แน่นอนลักษณะการจัดการและบริหารงานในระดับกว้างและเป็นมืออาชีพ
ย่อมรวมถึง การฝึกอบรม การให้การรับรองคุณสมบัติของ ผู้เล่านิทานในระดับหนึ่งตลอดจนการสงวนลิขสิทธิ์นิทานของคนเล่าด้วย
ในสหรัฐอเมริกา การฝึกปรือทางเทคนิคและการเรียนรู้ศาสตร์ และศิลปะของการเล่านิทานได้รับความสนใจ
มาก กระทั่งมีการจัดหลักสูตรปริญญาโทวิชาการเล่านิทานโดยเฉพาะที่มหาวิทยาลัยอีสต์เทนเนซีสเตท
การเผยแพร่ความรู้เรื่องการเล่านิทาน และเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องก็มีการจัดทำเป็นสิ่งพิมพ์
มีทั้งจดหมายข่าว วารสาร และนิตยสาร มีการพัฒนารูปแบบการจัดทำเป็นขั้นเป็นตอน
อย่างเช่นวารสารชื่อ Storytelling Journal ในอเมริกา เดิมทีราวสิบปีก่อนมีลักษณะเป็นจดหมายข่าว
ให้ข้อมูลระดับท้อง ถิ่นและออกเพียงปีละสองเล่ม ปัจจุบันออกปีละหกเล่มและได้ปรับแนวทางการให้ข้อมูล
ข่าวสารที่กว้างไกลขึ้น โดยคำนึงถึงผู้อ่านชาติอื่นๆ ด้วย พัฒนาการทำนองนี้ก็มีขึ้นใน
ออสเตรเลียเช่นกัน โดยปัจจุบันจดหมายข่าว ซึ่งมีชื่อว่า Telling Tales ได้มีเพื่อนใหม่เป็นวารสารมีชื่อว่า
Swag of Yarns
และแน่นอนในยุคอินเทอร์เน็ต การรวมตัวของกลุ่มเล่านิทานและพัฒนาการของ
กระบวนการเล่านิทานย่อมติดปีกบินได้เร็วขึ้น กว้างขึ้น และสานสัมพันธ์ได้แนบแน่นขึ้น
เว็บไซต์ต่างๆ หลากหลายผุดขึ้นมากมาย มีการเชื่อมโยงระหว่างเว็บด้วยกันทำให้นักเล่า
นิทานและผู้อยากเล่าบ้างสามารถคลิกเข้าไป เก็บเกี่ยวความรู้ได้ไม่ว่าจะเป็นการเลือกนิทาน
ตำนาน เรื่องเล่าประเภทต่างๆ เทคนิควิธีการเล่ารวมทั้งการขจัดความกลัวในการเล่า
การจัดฉากหรือจัดเวที การดัดเสียง การฝึกภาษากาย การทำหุ่นกระบอกและหุ่นมือ
การเชิดหุ่น การใช้นิทานบำบัดสุขภาพจิต และแน่นอนสิ่งที่ขาดไม่ได้คือ การขายหนังสือ
เทปและสิ่งอื่นๆ เกี่ยวกับการเล่านิทาน ที่เห็น ว่าแปลกคือ มีเว็บหนึ่งให้ชื่อน่ารักว่า
The Storytelling Store ขายหนังสือตำนานพื้นบ้าน จากทั่วโลก มีเทปทั้งเล่า
ร้องขับขาน โดยนักเล่านิทานชื่อดังชาวอเมริกัน
เพราะฉะนั้นแล้ว สำหรับผู้ที่มีนิทานในความทรงจำ และหวนคิดที่จะดึงความรู้สึกดีๆ
กลับมาแชร์กับผู้อื่นทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ขอเพียงคุณคลิกเข้าไปตามเว็บไซต์ที่น่ารักๆ
ดังนี้
‘ http://www.home.aone.net.au
‘ http://www.storynet.org
‘ http://www.storyteller.net
‘ http://www.aaronshep.com
‘ http://www.seanet.com