Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2544
100 ปี ธุรกิจล่ำซำ             
โดย วิรัตน์ แสงทองคำ
 





เราไม่มีทางหลีกหนีข้อเท็จจริง สำคัญของสังคมไทยได้ ไม่ว่าจะแสวง หาโอกาสใหม่ ความคิดใหม่อย่างไร

เช่นเดียวกับการทำความเข้าใจ การเปลี่ยนแปลงธุรกิจไทย จำเป็นต้อง เริ่มจากภูมิหลังที่มีความต่อเนื่องมาใน ปัจจุบัน

ผมถือว่าธุรกิจครอบครัวของ ตระกูลล่ำซำเป็น "สัญลักษณ์" ของการ เปลี่ยนแปลงธุรกิจได้อย่างดี

ธุรกิจไทยที่เริ่มจากระบบ อุปถัมภ์ ธุรกิจผูกขาด ธุรกิจรายใหญ่ ธุรกิจรายใหญ่ผนึกกับธุรกิจต่างชาติ ภายใต้โมเดลการพัฒนาเศรษฐกิจแบบ คลาสสิกในสังคมเอเชียที่พึ่งตะวันตก (บางคนเรียกว่า EAEM) มาถึงวันนี้โมเดล นั้นพิสูจน์แล้วจะใช้ไม่ได้กับสังคมจากนี้ ไป หรือไม่ก็ตาม

แต่การพิจารณาจากฐานเดิม ของสังคมธุรกิจไทยที่พังทลายจะทำให้ เข้าใจความเป็นไปของสังคมเศรษฐกิจอย่างดี

ธุรกิจตระกูลล่ำซำ เป็นตระกูล เก่าแก่ที่สุดที่เหลืออยู่ในปัจจุบัน

เมื่อปี 2444 ต้นตระกูลล่ำซำ เปิดร้านขายไม้สักติดกับลำน้ำเจ้าพระยา ที่ตำบลจักรวรรดิ อำเภอสัมพันธวงศ์ ชื่อ ก้วงโกหลง

ในช่วงเวลานั้น (2380-2475) สัมปทานไม้สัก กิจการโรงเลื่อย และการ ส่งออกไม้สักถูกครอบงำโดยกิจการจาก ยุโรปทั้งสิ้น อาทิ The Bombay Burmah, Borneo, East Asiatic Louis T. Leonowens Anglo-Siam ขณะพ่อค้าชาวจีนโพ้นทะเล เป็นเพียงรายเล็กๆ อยู่ภายใต้การครอบงำ ของฝรั่งโดยตรงและโดยอ้อม อิทธิพลของ ฝรั่งต่อเนื่องยาวนานแม้ว่าจะเผชิญวิกฤติ การณ์เศรษฐกิจก็ยังคงอยู่จนถึงการเปลี่ยน แปลงการปกครองของไทยปี 2475 "ล่ำซำ" ก็ เข้าเป็นเครือข่ายของฝรั่งในการทำสัมปทาน ป่าไม้ด้วย

ขณะเดียวกันก็พยายามสร้างเครือ ข่ายของชาวจีนโพ้นทะเลเอง ในย่านเอเชีย แปซิฟิกในการค้าขาย ซึ่งทำให้พ่อค้าชาวจีน ในไทยสามารถทำธุรกิจต่อสู้กับฝรั่งได้บ้าง ล่ำซำก็แสวงหาโอกาสธุรกิจนั้นอีกทางหนึ่งจน กิจการในเครือข่ายของตนเองในเอเชียแปซิฟิก ขยายตัวไปมาก รวมทั้งร่วมมือกับฝรั่งค้าข้าว ในยุโรป ด้วยการตั้งบริษัทล็อกซเล่ย์ไรซ์

ครั้นเมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 รัฐเข้ามาควบคุมการค้าสินค้าเศรษฐกิจ ไว้ในมือ "ล่ำซำ" ก็เข้าร่วมมือกับอำนาจรัฐด้วย ความสามารถในการบริหารกิจการค้าให้รัฐ

เมื่อผ่านสงครามโลกไปแล้ว โอกาส ของ "ล่ำซำ" กลับมาด้วย หนึ่ง- สร้างธนาคาร เข้าแทนที่อิทธิพลธนาคารอาณานิคมที่ถอนตัว ออกไป ระหว่างสงคราม สอง-การเข้าร่วมกับ อิทธิพลตะวันตก ล็อกซเล่ย์ร่วมมือกับฝรั่ง ก็นำสินค้าจากตะวันตกมาขายในเมืองไทย รวมทั้งพยายามขยายความสัมพันธ์กับฝรั่งจาก ยุโรปไปถึงสหรัฐอเมริกาที่กำลังมีอิทธิพล มากขึ้น

ในยุคประเทศไทยใช้โมเดลการผลิต เพื่อทดแทนการนำเข้าโดยใช้เทคโนโลยีตะวัน ตก ล่ำซำผ่านล็อกซเล่ย์ นำเข้าเครื่องจักร เทคโนโลยีเพื่อการผลิตพร้อมกับสินค้าอุปโภค สำหรับกลุ่มผู้บริโภคที่เคลื่อนย้ายจากกลุ่มชั้น สูงลงมาตามสถานการณ์เศรษฐกิจ อีกทางหนึ่ง สร้างเครือข่ายธุรกิจภาคการผลิตเพื่อทดแทน การนำเข้า ด้วยการระดมเงินผ่านธนาคาร

ล่ำซำเติบโตมากที่สุดในช่วง 20 ปี มานี้เอง เมื่อมีเครือข่ายการเงินที่กว้างขวาง มีกิจการร่วมทุนจากธุรกิจยักษ์ใหญ่ตะวันตก

ล่ำซำมีบุคลิกสอดคล้องกับสถานะ เศรษฐกิจไทย ที่มีทวิลักษณ์ หนึ่ง-ใช้โมเดล ครอบครัวแบบเอเชียขยายธุรกิจเครือข่าย สอง-ใช้เงินและโนว์ฮาวตะวันตกอย่าง กลมกลืนมากกว่าตระกูลธุรกิจอื่นๆ

บัณฑูร ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จึงเป็นตัวอย่างของ การปรับตัวของตระกูลล่ำซำในยุคใหม่ด้วย

วันนี้ล่ำซำไม่คงความเป็นธุรกิจ ครอบครัวอีกแล้ว หลังจากธุรกิจการเงิน ล่มสลายไปหมด แม้ธนาคารกสิกรไทย อำนาจครอบครัวไม่สามารถควบคุมได้ บวกกับการปรับตัวของ "ล่ำซำ" มาก่อน หน้าแล้ว ที่ไม่ได้มีเครือข่ายธุรกิจครอบครัว แบบเอเชียอย่างเข้มข้น หากค่อยๆ เปลี่ยน บทบาทเป็นลงทุนในลักษณะถือหุ้นใน กิจการต่างๆ กระจายออกไปอย่างมากมาย

โมเดลนี้พิจารณาข้อมูลการแจง บัญชีทรัพย์สินของโพธิพงษ์ ล่ำซำ ใน ฐานะอดีตรัฐมนตรีช่วยกระทรวงพาณิชย์ ทำให้เข้าใจโครงสร้างทรัพย์สินของล่ำซำได้ ไม่น้อยทีเดียว

พวกเขาลงทุนในกิจการที่ครอบ ครัวมีหุ้นใหญ่ และบริหารเป็นแกนกลาง ซึ่ง กิจการเหล่านี้ส่วนใหญ่ล่มสลายไป ที่เหลือ เป็นกิจการเก่าที่สะท้อนความสัมพันธ์กับ ฝรั่งกับครอบครัว รวมทั้งการลงทุนใหม่ในเรื่อง อสังหาริมทรัพย์ ซึ่งก็มีปัญหามากมายเช่น เดียวกัน

ล่ำซำ ณ วันนี้ มีกิจการขยาย ออกไปอย่างไม่เป็นกลุ่มก้อน ขณะเดียวกัน เป็นกลุ่มที่มีเงินสดพอสมควร แต่ไม่มาก ในการลงทุนขนาดใหญ่ ก็คงแสวงหาการ ลงทุนที่มีอนาคตต่อไป เนื่องจากความคิด ในเชิงกลุ่มและเครือข่ายยุทธศาสตร์ของ กลุ่มเองล่มสลายไปกับวิกฤติการณ์ที่ผ่านมา

ผมเชื่อว่า ล่ำซำน่าจะเป็นกลุ่ม ธุรกิจเก่ากลุ่มหนึ่งที่เหลืออยู่ที่ปรับตัวเข้าใจ โอกาสใหม่จาก SME ได้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us