Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2543
จากโมบายไลฟ์ถึงไอทีวี ยุทธศาสตร์สร้าง content             
 


   
search resources

โซนี่มิวสิค
ชินคอร์ปอเรชั่น, บมจ.
แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส, บมจ.




ภาพการเปิดตัวบริการ "mobile life" ไม่ใช่แค่ การเปิดตัวบริการใหม่ในโลกของอินเทอร์เน็ตเท่านั้น

อันที่จริงงานเปิดตัวบริการใหม่โมบายไลฟ์ ที่บริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือเอไอเอส จัดขึ้นมาพร้อมๆ กับการแจ้งเกิดพรีเซ็นเตอร์ใหม่ 2 สาว "โน้ตกับการ์ตูน" ที่มาแทน นิโคล เทริโอ นับเป็นการเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ในเรื่อง ของ content งานนี้เรียกได้ว่า เป็นการยิงปืนนัดเดียวได้นกถึง 3 ตัว

บริการโมบายไลฟ์เป็นบริการใหม่ ที่เป็นการเปิดฉากเข้าสู่โลกของบริการทางด้านข้อมูลทางโทรศัพท์มือถือ ใช้ในการทำธุรกรรมทางการเงิน รวมถึงความบันเทิง จึงจำเป็นต้องใช้พรีเซ็นเตอร์ใหม่ เพื่อเป็นตัวแทนของคนรุ่นใหม่ ซึ่งเป็น กลุ่มลูกค้าเป้าหมายของบริการนี้

สิ่งที่ทุกคนแปลกใจก็คือ ทำไมเอไอเอส ถึงเลือก 2 สาวนอกวงการมาเป็น พรีเซ็นเตอร์ ทั้ง ที่เอไอเอสมีโอกาส ที่จะเลือกคนในแวดวงบันเทิง ที่มีชื่อเสียงอยู่แล้ว น่าจะง่ายกว่าการเลือกพรีเซ็นเตอร์ใหม่ ที่ยังไม่เป็นที่รู้จัก ความเสี่ยงย่อมสูงกว่า

แต่หลังจาก ที่ 2 สาวขึ้นมาโชว์ตัวบนเวที โจทย์นี้ก็ถูกเฉลย เมื่อปีเตอร์ กัน แห่งค่ายโซนี่มิวสิค ออกมาเปิดตัวว่า นอกจาก 2 สาวนี้จะเป็นพรีเซ็นเตอร์ให้กับบริการโมบายไลฟ์ของเอไอเอสแล้ว ก็ยังอยู่ในฐานะของศิลปินใหม่ในสังกัดของโซนี่อีกด้วย

การเลือกพรีเซ็นเตอร์หน้าใหม่ แล้วมาปั้นให้เป็นนักร้อง กับเลือกเอานักร้อง หรือดารา ที่มีชื่อเสียงอยู่แล้ว จึงไม่แตกต่างกันนักสำหรับเอไอเอส สิ่งที่เจ้าของค่ายเพลง และโอเปอเรเตอร์โทรศัพท์มือถือ ทำร่วมกันอยู่นี้เป็นการร่วมมือในลักษณะของ "ซินเนอยี" เป็นภาษาการตลาดว่า "มิวสิค มาร์เก็ตติ้" เป็นแนวโน้มใหม่ ที่ทั้ง ปีเตอร์ กัน แห่งค่ายโซนี่ และสรรค์ชัย เตียวประเสริฐกุล รองกรรมการผู้อำนวยการอาวุโสสายงานการตลาด และการขายบริษัทเอไอเอส เองก็เห็นร่วมกันว่า เป็นแนวโน้ม ที่ต้องเกิดขึ้น และต่างฝ่ายต่างก็ได้ประโยชน์ร่วมกัน

จะว่าไปแล้ว การตลาดในลักษณะนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ โทรศัพท์มือถือโนเกีย ก็เคยร่วมมือกับดีไซ เนอร์หรู ก็เกิดขึ้นมาแล้ว โมโตโรล่าเองก็ร่วมมือกับห้องเสื้อฟลายนาวเปิดตัวโทรศัพท์มือถือ บนรถไฟฟ้า บีทีเอสไปไม่นานนี้

ประโยชน์ ที่ค่ายเพลงโซนี่จะได้รับในครั้งนี้ ก็คือ ประหยัดเงินค่าโปรโมตศิลปินใหม่ ซึ่งเป็นต้นทุนมหาศาล โดยเฉพาะนักร้องใหม่ ที่เพิ่งแจ้งเกิด ยิ่งเอไอเอสโปรโมตบริการนี้มากเพียงใดก็เท่ากับเป็นการโปรโมตศิลปินใหม่ให้กับโซนี่ไปในตัว

เอไอเอสเอง ก็สามารถลดความเสี่ยงจากการใช้พรีเซ็นเตอร์ โนเนม ที่ไม่เป็นที่รู้จัก เพราะการที่พรีเซ็นเตอร์โนเนมจะกลายเป็นนักร้อง ที่มีชื่อเสียง และเมื่อศิลปินเป็นที่รู้จักแล้ว ย่อมส่งผลกลับมา ที่บริการโมบาย ไลฟ์

นอกจากนี้การร่วมมือกับค่ายเพลงเล็กๆ ปั้นนักร้องใหม่ขึ้นมานั้น ย่อมมีความยืดหยุ่น และสามารถร่วมมือกันได้ง่ายกว่าการร่วมมือกับค่ายเพลงดังๆ ที่มีเงื่อนไข และข้อจำกัดมากกว่าค่ายเพลงขนาดเล็กๆ

ลึกลงไปกว่านั้น การร่วมมือกับค่ายเพลงโซนี่ เป็นการหาประสบการณ์ใหม่ในธุรกิจ content การร่วมมือกับโซนี่เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างประสบการณ์ใหม่ในธุรกิจค่ายเพลง ที่ชินคอร์ปไม่เคยมีมาก่อน ไม่แน่ว่าในอนาคตค่ายเพลงโซนี่ อาจจะมีชื่อของชินคอร์ปร่วมถือหุ้นอยู่ด้วย

อย่างที่รู้กันดีว่า เป้าหมายทางธุรกิจของชินคอร์ปในเวลานี้อยู่ ที่การสร้าง content เพื่อสร้างความสมบูรณ์ให้กับโครงข่าย ที่มีอยู่ การซื้อไอทีวีก็เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ในเรื่องนี้ บุญคลี ปลั่งศิริ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น ไม่ได้มองไอทีวี เป็นแค่ "สื่อ" ที่มีมูลค่าของธุรกิจด้วยตัวเองเท่านั้น แต่ยังเป็น content ที่จะรองรับสิ่งที่จะเกิดขึ้นจากการผนึกรวมกันระหว่างโครงข่ายสื่อสาร คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และบรอดคาสติ้ง ที่จะทำให้ ผู้ใช้สามารถเข้าถึง content ได้ทั้งหมดไม่ว่าจะมาจากสื่อใดก็ตาม

การสร้าง content นั้น ไม่ได้จำกัดว่าจะต้องเป็น content รูปแบบ ใด เว็บไซต์ สตูดิโอผลิตภาพยนตร์ หรือ ค่ายเพลงผลิตนักร้อง ทั้งหมดนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของการสร้าง content

การจัดทัพใหม่หลังการซื้อไอทีวี ด้วยการรวมธุรกิจโฆษณา เอสซี แมทช์บ็อกซ์ธุรกิจไดเร็กเทอรีส์ อินเทอร์เน็ต อยู่ในกลุ่ม content และเพิ่มบทบาทของธุรกิจเหล่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เอสซี แมทช์บ็อกซ์ ที่จะต้องเพิ่มบทบาท จากการเป็นโปรดักชั่นเฮาส์ มาเป็นสตู-ดิโอ ที่จะเป็นได้ทั้งค่ายเพลง หรือการผลิตหนัง หรือละครได้ในอนาคต คือ สิ่งที่ตอบโจทย์เหล่านี้ งานเปิดตัวโมบาย ไลฟ์ในวันนี้ ก็นับได้ว่าเป็นการเรียนรู้บทบาทใหม่ของแมทช์บ็อกซ์อย่างเต็มตัว

คอนเสิร์ต นิโคล เทริโอ ซาร่า รวมถึง 2 สาวพรีเซ็นเตอร์ใหม่ ที่จัดขึ้นในงานวันนั้น ก็ถูกนำไปถ่ายทอดในไอทีวี เป็น content ในอีกรูปแบบหนึ่ง

"event marketing ก็คือ การสร้าง content ทุกอย่าง คือ content รูปแบบหนึ่ง ขึ้นอยู่กับมุมมอง หรือแนว ทางของเรา"

ลึกลงไปกว่านั้น ความสำเร็จ ที่แล้วมาของแกรมมี่คือ สิ่งที่บุญคลีตระหนักดี กลุ่มวัยรุ่นจะเป็นลูกค้า ที่มีศักยภาพ เป็น long life customer ที่มีอิทธิพลอย่างมากในอนาคต ทั้งในธุรกิจอินเทอร์เน็ต ไอทีวี เอไอเอส และบริการอื่นๆ ของชินคอร์ป

ในอนาคต ไอทีวี เองจะต้องหันมาสนองตอบความต้องการของกลุ่มวัยรุ่น ตามความหมายของบุญคลี ไม่ได้หมายความว่า จะต้องลดรายการข่าว หรือสาระ และหันมามุ่งรายการบันเทิง แต่เป็นรายการข่าว และสาระ ที่เหมาะกับความสนใจของกลุ่มวัยรุ่น

เพราะนี่คือ การเรียนรู้ในโลกใบใหม่ โลก ที่เป็นเรื่องราวของ content ที่ ชินคอร์ปคงต้องใช้เวลาอีกพักใหญ่

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us