นับตั้งแต่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ รัฐบาลเกาหลีใต้พยายามอย่างยิ่ง ที่จะขายกิจการธนาคารพาณิชย์ออกไป
ให้กับนักลงทุนต่างชาติ
ธนาคารดอยช์แบงก์ (Deutsche Bank) สัญชาติเยอรมันขอเจรจาถือหุ้นในโซลแบงก์
(SeoulBank) ธนาคารพาณิชย์อันดับเก้าของเกาหลีใต้
ผู้บริหารดอยช์แบงก์เปิดเผยถึงกรณีดังกล่าวว่าจะให้ DB Capital Partner
กิจการ ในเครือที่ดำเนินธุรกิจ private equity เข้าซื้อ โซลแบงก์ ปัจจุบันอยู่ในการดูแลของ
Korea Deposit Insurance Corporation (KDIC) ที่มี หน้าที่ประกันเงินฝากให้กับผู้ฝากเงินกรณีสถาบันการเงินล้มละลายและไม่สามารถคืน
เงินฝากได้
"การพูดคุยกับ KDIC อยู่ในระยะเริ่ม แรก" ผู้บริหารดอยช์แบงก์คนหนึ่งเล่า
"เราคุยกันถึงราคาและระดับการเข้าถือหุ้นก่อนที่จะไปถึงรายละเอียดปลีกย่อย"
ดอยช์แบงก์สนใจเข้าไปถือหุ้นโซลแบงก์มากกว่า 4% แต่จะได้หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับการพิจารณาของ
Financial Supervisory Commission ที่ดูแลกฎระเบียบธนาคาร พาณิชย์
ความจริงแล้ว ดอยช์แบงก์กับโซลแบงก์มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันพอสมควรหลังเกิดวิกฤติเศรษฐกิจเอเชีย
เมื่อเข้ามาเป็น ที่ปรึกษาด้านการปรับโครงสร้างเพื่อยกเครื่อง ธุรกิจ โดยพยายามสร้างภาพลักษณ์ใหม่ให้กับโซลแบงก์ให้เป็นธนาคารระดับสากล
คาดว่าในปีนี้จะเห็นโฉมใหม่ของโซลแบงก์เพื่อรองรับการแข่งขัน โดยมุ่งเน้นด้าน
retail banking ขณะที่โฆษกของดอยช์แบงก์กลับบอกว่าธนาคารไม่สนใจตลาดดังกล่าวในเกาหลีใต้
ดอยช์แบงก์ไม่ใช่เจ้าเดียวที่สนใจโซลแบงก์ ก่อนหน้านั้นธนาคารฮ่องกงและ
เซี่ยงไฮ้แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น (HSBC) เคยเจรจา เพื่อขอซื้อมาแล้ว แต่การเจรจาล้มเหลวเมื่อเงื่อนไขระหว่าง
HSBC และรัฐบาลเกาหลีใต้ไม่ตรงกัน
รัฐบาลเกาหลีใต้เข้าไปดูแลโซลแบงก์ ตั้งแต่ปี 1998 โดยอัดฉีดเงินช่วยเหลือ
4.2 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 5.5 พันล้านวอน ซึ่งในภาพรวมรัฐบาลเข้าแทรกแซง
ด้วยการอัดฉีดเงินเข้าในระบบการเงินสูงถึง 20 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ
25 ล้านล้านวอน
อย่างไรก็ตาม กองทุนการเงินระหว่าง ประเทศ (IMF) กลับสนับสนุนให้รัฐบาลเกาหลี
ใต้ปฏิบัติกับสถาบันการเงินท้องถิ่นด้วยการแนะให้ขายหุ้นผู้ถือหุ้นเดิมออกไป
ไม่ว่าจะเป็นโซลแบงก์, Hanvit Bank และ Cho Hung Bank
"รัฐบาลทำอย่างตรงไปตรงมากับการปรับโครงสร้างด้วยวิธีใส่เงินเข้าไปให้สถาบันการเงิน"
ดาเนียล ยู นักวิเคราะห์ค่ายซาโลมอน สมิธ บาร์นีย์ชี้ "บางอย่างพวกเขาต้องทำให้ความสูญเสียหายไป
หรือมีความสมบูรณ์ขึ้นผ่านการขาย ซึ่งเป็นความ คิดที่ดีทีเดียว"
ดังนั้น ธนาคารท้องถิ่นของเกาหลีใต้ ต้องมองหาพาร์ตเนอร์จากต่างประเทศ
ซึ่งที่ผ่านมาก็ประสบความสำเร็จระดับหนึ่ง อาทิ Newbridge Capital บริษัทร่วมลงทุนแห่งอเมริกาเข้าถือหุ้น
51% ใน Korea First Bank ส่วน Goldman Sachs ซื้อหุ้น 21% ของ Kookmin Bank
ยักษ์ใหญ่สุดของเกาหลีใต้
ขณะที่ CommerzBank, ING Barings และ Allianz ต่างเข้าถือหุ้นในกิจการธนาคาร
ท้องถิ่นแห่งอื่นๆ แต่รัฐบาลเกาหลีใต้พบว่านักลงทุนชาติตะวันตกไม่สนใจซื้อโซลแบงก์เลย
เหตุผลอาจจะมาจากผลประกอบการ ของโซลแบงก์เมื่อที่ผ่านมาขาดทุนสูงถึง 520
พันล้านวอนและคาดว่าจะขาดทุนอีกในปีนี้ รวมถึงหนี้เสีย (NPLs) ยังไม่ลดลง
ซึ่งเพียงพอ ที่จะทำให้ HSBC หยุดเจรจาเพื่อซื้อโซลแบงก์
ขณะที่ดอยช์แบงก์ในฐานะที่ปรึกษามีหน้าที่ ในการพยายามทำให้โซลแบงก์เป็นที่น่าสนใจมากยิ่งขึ้น
ไม่เป็นความจริง เพราะ วิธีการรุนแรงแบบนี้ไม่ได้สร้างผลดีให้กับโซลแบงก์
แต่เป็นผลประโยชน์" ยูบอก "ดังนั้นโอกาสที่จะขายได้จะมีมากขึ้น"