นับตั้งแต่เศรษฐกิจซบเซา นักลงทุนยังนอนหลับสบาย อยู่หรือไม่ หากสภาพตลาด
เป็นเช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆ ถึงเวลาแล้วที่จะลุกขึ้นมา ตั้งคำถามกับการลงทุน
ของตนเอง
ในบรรดาการใช้แหล่งเงินทุนของไทย กล่าวได้ว่ามีช่องทางอยู่ค่อนข้างจำกัด
โดยแหล่งสำคัญๆ ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ ตลาด หลักทรัพย์ และตลาดตราสารหนี้
แหล่งเงินทุนที่ได้รับความนิยมสูงสุด คือ ธนาคารพาณิชย์ ซึ่งในปี 2538
ปล่อยกู้ สูงถึง 4,231 พันล้านบาท ส่วนการลงทุนผ่าน ตลาดหลักทรัพย์อยู่ที่ระดับ
3,565 พันล้านบาท ขณะที่ตลาดตราสารหนี้มีเพียง 424 พัน ล้านบาท
รวมถึงปีถัดมาซึ่งเป็นปีก่อนเกิดวิกฤติ เศรษฐกิจ แหล่งเงินทุนยังเป็นไปในลักษณะเดิม
โดยเฉพาะในปี 2540 ซึ่งกำลังเกิดวิกฤติ ตัวเลขการปล่อยกู้ของธนาคารพาณิชย์พุ่งถึง
ขีดสูงสุดที่ระดับ 6,038 พันล้านบาท ขณะที่นักลงทุนเริ่มถอยห่างออกจากตลาดหุ้น
ส่วน ตลาดตราสารหนี้ได้เพิ่มขึ้นตามลำดับ
หลังจากวิกฤติเศรษฐกิจเกิดขึ้นจำนวนตัวเลขเงินกู้จากธนาคารได้ลดลงเรื่อยๆ
ขณะที่ตลาดหุ้นเริ่มทรงตัว ส่วนตลาด ตราสารหนี้กลับเติบโตขึ้นอย่างมาก และมีอิทธิพลอย่างมากต่อการระดมทุน
"ขณะที่ธนาคารกำลังมีปัญหา หุ้นตก ฮวบฮาบ ตลาดตราสารหนี้มีความสำคัญเพิ่ม
ขึ้น ซึ่งเป็นทางออกทางหนึ่งของนักลงทุน" ดร.สมชัย ฤชุพันธุ์ ประธานศูนย์ซื้อขายตรา
สารหนี้ไทยบอก "พวกเขาไม่มีที่พึ่งจึงต้องสร้างตลาดใหม่ๆ ขึ้นมา"
ช่วงก่อนวิกฤติตลาดตราสารหนี้ยังมีขนาดเล็ก แต่หลังวิกฤติได้เติบโตขึ้นอย่างมาก
และในปีที่ผ่านมาตลาดตราสารหนี้ใหญ่ กว่าตลาดหุ้นเป็นปีแรก นักลงทุนหลายคนมองว่าภายใต้ข่าวร้ายยังมีข่าวดีเหลืออยู่บ้าง
"เป็นอานิสงส์ของภาวะวิกฤติที่สร้าง เงื่อนไขให้ตลาดตราสารหนี้เกิดขึ้นได้"
ดร.สมชัยชี้
การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวบ่งบอกถึงการเปลี่ยนโครงสร้างการลงทุน ในประเทศจากอดีตที่พึ่งพิงธนาคารพาณิชย์เป็นส่วนใหญ่
ปัจจุบันการระดมทุนผ่านตลาดตราสารหนี้กำลังได้รับความนิยมสูงขึ้น และหากเทียบกับตลาดหุ้นแล้ว
มูลค่าการซื้อขายต่อวันตลาดตราสารหนี้ได้ชนะไปเรียบร้อยแล้ว
อย่างไรก็ตาม การลงทุนในตลาดตราสารหนี้ยังมีความเสี่ยงอยู่เช่นเดียวกับการลงทุนในตลาดอื่น
โดยเฉพาะล่าสุดความ เสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย ซื้อคืนพันธบัตร
(อาร์/พี 14 วัน) ส่งผลให้ผล ตอบแทนระยะกลางถึงยาวได้รับผลกระทบพอสมควร
"ช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา มีเม็ดเงินไหล ออกจากกองทุนตราสารหนี้ประมาณ 10,000
ล้านบาท จากอัตราดอกเบี้ย อาร์/พี 14 วัน ทำให้ราคาตราสารผันผวนพอสมควร"
อดิศร เสริมชัยวงศ์ หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ. บีโอเอ แอสเซท แมเนจเมนท์กล่าว
"หลังจากนั้นกองทุนรวมรอดูตลาดเพื่อให้เข้าสู่ สมดุลอีกครั้ง"
อย่างไรก็ดี อดิศรยังเชื่อมั่นว่าการลงทุนผ่านตราสารหนี้ยังมีความเสี่ยงน้อยเมื่อ
เทียบกับการลงทุนในตลาดหุ้น "ช่วงที่ผ่านมาอาจจะขาดทุนในบางกองทุนและถ้าพอร์ต
ของคุณให้ผลตอบแทนอยู่ที่ 3-4% อีกครึ่งปี หรือ 1 ปี ก็จะได้กลับคืนมาในรูปของคูปอง
ทำให้ผลขาดทุนแทบจะไม่มีเลย"
การเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยในตลาดมีผลต่อการกำหนดอัตราผลตอบ แทนที่ผู้ลงทุนต้องการ
(required rate of return) โดยอัตราผลตอบแทนเป็นไปในทิศ ทางเดียวกับอัตราดอกเบี้ยในตลาดที่เปลี่ยนไป
เมื่ออัตราดอกเบี้ยในตลาดสูงขึ้น นักลงทุนย่อมต้องการผลตอบแทนในอัตราที่สูงขึ้น
ดังนั้นตราสารหนี้ที่ลงทุนและได้อัตราผลตอบแทนระดับหนึ่ง อาจไม่เพียงพอกับความต้องการที่เปลี่ยนไปเมื่ออัตราดอกเบี้ยในตลาดเปลี่ยนแปลงไป
เกิดคำถามเกี่ยวกับนโยบายอัตราดอกเบี้ยของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปลี่ยนไปมากน้อยแค่ไหน
บรรดาผู้จัดการกองทุนต่างให้ความเห็นไปในทิศทางเดียวกัน ว่ายังไม่เปลี่ยนแปลง
โดยนโยบายอัตราดอกเบี้ยสิ่งที่จะมากระทบกับตราสารหนี้ จะเป็นนโยบายอัตราดอกเบี้ยที่ชี้ให้เห็นนโยบาย
การเงิน
"เรามองนโยบายการเงินมากกว่า ส่วนอัตราดอกเบี้ยที่สะท้อนออกมาในตลาดเป็นกลไกที่จะใช้ดำเนินนโยบายการเงินของแบงก์ชาติ"
อดิศรเล่า
การปรับอัตราดอกเบี้ย อาร์/พี 14 วัน จากคำอธิบายของ ธปท.ที่ดำเนินเรื่องดังกล่าวไม่ได้หมายถึงว่า
ได้เปลี่ยนนโยบายการเงินเป็นลักษณะตึงตัวหรือการขึ้นดอกเบี้ย ในอนาคต
"แบงก์ชาติปฏิเสธว่าไม่ใช่ แต่ตลาดช่วงแรกสับสนเนื่องจากเข้าใจว่าใช่"
เนื่องจากเป็นกลไกที่ ธปท. ใช้สื่อนโยบายการเงินออกมาหาตลาดตลอด ซึ่งพอมาใช้กลไกนี้ไปแก้ปัญหาอีกปัญหาหนึ่ง
คือ ปัญหาบิดเบี้ยวทางโครงสร้างอัตราดอกเบี้ยในตลาด ช่วงแรกตลาดเลยสับสนว่าเมื่อ
ดำเนินการอย่างนี้จะเปลี่ยนนโยบายการเงินด้วยหรือไม่และจะมากระทบนโยบายการเงิน
หรือไม่
"ส่วนตัวผู้ว่าแบงก์ชาติคนใหม่เองและตัวนโยบายการเงินที่ผ่านมาได้กระทบตลาดไปแล้ว
เมื่อดอกเบี้ยปรับขึ้นทั้งหมดเพราะการขึ้นดอกเบี้ย อาร์/พี 14 วัน ดอกเบี้ย
ในพันธบัตรก็ปรับขึ้นตาม" อดิศรอธิบาย "หากมองไปในอนาคต เชื่อว่าทิศทางของตลาด
ทิศทางดอกเบี้ยไม่น่าจะมีการปรับตัว เพิ่มสูงขึ้นมากนัก หรือรวดเร็วนัก"
อย่างไรก็ตาม การลงทุนผ่านตลาดตราสารหนี้ไม่ใช่อะไรที่สมบูรณ์ตลอดไป เพราะไม่มีใครมารับประกันความเสี่ยงเหมือน
กับการฝากเงินในธนาคารพาณิชย์ ดังนั้นอย่าเห็นแก่อัตราผลตอบแทนที่ดูดีกว่าดอกเบี้ยธนาคารอย่างเดียว
แม้ฐานะการเป็น เจ้าหนี้จะดีกว่าการเป็นผู้ถือหุ้น
นักลงทุนควรระมัดระวังเกี่ยวกับทิศทางของอัตราดอกเบี้ยและสภพคล่องของ การขายคืนเมื่อต้องการด้วย
กระนั้นก็ดีตลาด ตราสารหนี้ในขณะนี้ยังเป็นสิ่งที่น่าจับตามอง กรณีนักลงทุนต้องการเงินภายใน
3-4 ปี ข้างหน้า
ครึ่งปีจงหันหลังให้กับตลาดหุ้นแล้วสนใจกับตราสารหนี้ เนื่องจากในครึ่งหลัง
ของปีนี้คาดว่าจะมีตราสารหนี้ออกมาทั้งภาครัฐและเอกชนจำนวน 253,532 ล้านบาท
โดยพันธบัตรรัฐบาลจะมีการออกใหม่ของพันธบัตรออมทรัพย์ 20,000 ล้านบาท
ขณะที่พันธบัตรรัฐบาลอาจจะมีการออกในช่วงไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2545 อันเนื่องจากการกำหนดเป้าการขาดดุลงบประมาณปีหน้า
2 แสนล้านบาทสำหรับ ตั๋วเงินคลังอาจจะออกอย่างต่อเนื่องเพื่อทดแทนการครบกำหนด
และจะมีการออกใหม่เพิ่มขึ้นเพื่อเพิ่มวงเงินการหมุนเวียนให้อยู่ในระดับประมาณ
1 แสนล้านบาท
สำหรับหุ้นกู้เอกชน คาดว่าจะมีประมาณ 1 แสนล้านบาท เทียบกับจำนวน 51,123
ล้านบาทที่ออกขายในช่วงครึ่งปีแรก เป็นผลมาจากแผนการระดมทุนขนาดใหญ่ใน ตราสารหนี้ของบริษัทขนาดใหญ่
อาทิ เทเล คอมเอเซีย, ผลิตไฟฟ้า หรือปูนซิเมนต์ไทย
อย่างไรก็ตาม คาดว่าปริมาณการออกเสนอขายจะแบ่งเป็นหลายส่วนและบางส่วนจะมีต่อเนื่องไปจนถึงช่วงต้นปีหน้า
นับตั้งแต่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจดูเหมือน ว่านักลงทุนต่างระมัดระวังสำหรับการลงทุน
มากขึ้น การเลือกสรรและไม่กล้าลงทุนอะไร ที่แปลกใหม่มากนักทำให้ทางเลือกมีค่อนข้าง
จำกัด และในทางกลับกันการพัฒนาตลาดก็จะช้าตามไปด้วย
เหตุการณ์เช่นนี้ เกิดขึ้นจากนักลงทุน ยังจำอดีตได้ครั้งที่ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไต่ระดับเกิน
1000 จุด จากนั้นลดลงเหลือเพียง 200 กว่าจุดในเวลาที่ตั้งรับไม่ทัน ดังนั้นนักลงทุนจึงไม่ต้องการทนเห็นมูลค่าทรัพย์สิน
ของตัวเองหดหายลงไปจนนอนไม่หลับ