สามปีกับการจัดการภายในองค์กรตนเอง วันนี้ไทยธนาคารกำลังสร้างโอกาส ให้เป็นธนาคารพาณิชย์ชั้นนำภายในประเทศ
ธนาคารไทยธนาคาร หรือ BT เกิดจากการควบรวมกิจการของสถาบันการเงิน 14 แห่ง
คือ ธนาคารสหธนาคาร (UB) และบริษัทเงินทุน 12 แห่ง รวมเข้ากับ บงล.กรุงไทยธนกิจ
ซึ่งเป็นแกนนำในการควบรวมกิจการตามมาตรการ 14 สิงหาคม 2541
เป็นเวลา 3 ปีแล้วที่ไทยธนาคารผ่าน ขั้นตอนการจัดการการฟื้นฟูองค์กรท่ามกลาง
ความกดดันมากพอสมควร แต่สิ่งสำคัญที่สุด คือ จัดโครงสร้างพื้นฐานให้แข็งแกร่งก่อนดำเนินธุรกิจ
"พวกเราเน้นเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน วัฒนธรรมการทำงาน ต้องมีคนที่ทำงาน
มีความเป็นวิทยาศาสตร์" พีรศิลป์ ศุภผลศิริ กรรมการผู้จัดการใหญ่ไทยธนาคารบอก
"คนที่นี่จะไม่เห็นแก่พวกพ้อง ตรงไปตรงมา สิ่งเหล่านี้ได้ถูกสร้างขึ้นมาใหม่"
ปัจจัยที่จะทำให้ไทยธนาคารแข็งขันกับคู่แข่งได้ ต้องมีระบบเทคโนโลยี เพื่อสามารถเดินไปข้างหน้าได้อย่างเต็มที่
เนื่อง จากการแข่งขันรุนแรงมากขึ้น การบริหารความเสี่ยงเป็นเรื่องที่สำคัญ
รวมถึงการรับรู้ข้อมูลที่รวดเร็ว
สิ่งต่างๆ เหล่านี้ไทยธนาคารได้คิดวางแผนและได้ดำเนินการมา แต่ดูเหมือนว่าขั้นตอนการปฏิบัติต้องใช้เวลาพอสมควรจากความเป็นรัฐวิสาห-กิจ
กระนั้นก็ดี พวกเขาพยายามอธิบายถึงเรื่องราวและยอมรับว่าเป็นองค์กรที่พูดเป็น
คิดเป็น และทำเป็น "พวกเราพูดกันภายในว่าจะเป็นองค์กรที่ lean, fit และ smart
brainy ซึ่งเป็นภาพลักษณ์ใหม่ของไทยธนาคาร" พีรศิลป์อธิบาย
จำนวนเงิน 194 ล้านบาทที่ได้จ้าง ไอบีเอ็มมาเป็นที่ปรึกษาและดำเนินการด้านระบบเทคโนโลยี
เป็นการลงทุนครั้งใหญ่สุดนับตั้งแต่ไทยธนาคารกำเนิดขึ้นมา ซึ่งไอบี เอ็มทำหน้าที่ให้บริการปรึกษาทั้งการวางระบบ
core banking การพัฒนากระบวน การในการทำธุรกิจส่วนที่เกี่ยวข้อง การติดตั้ง
ระบบคอมพิวเตอร์และเชื่อมต่อกับระบบต่างๆ โดยมีระยะเวลาดำเนินการ 2 ปีจากนี้ไป
สำหรับการเลือกซอฟต์แวร์นั้นไทยธนาคารจะเป็นฝ่ายตัดสินใจเอง ปัจจุบันกำลังพิจารณาอยู่ว่าจะเลือกเทคโนโลยีซอฟต์
แวร์ของค่ายไหนระหว่าง MKI, FNS และ Temanos
ซอฟต์แวร์ดังกล่าวที่ไทยธนาคารให้ความสนใจไปที่ระบบ STP (Straight Through
Processing) โดยซอฟต์แวร์นี้ปัจจุบันยังไม่มีธนาคารพาณิชย์ไทยแห่งไหนนำมาใช้
แต่ล่าสุดนอกเหนือจากไทยธนาคารที่จะนำมาใช้ ธนาคารชั้นนำอย่างกสิกรไทยและไทยพาณิชย์กำลังสนใจเช่นเดียวกัน
"คิดว่าไทยธนาคารมองเทคโนโลยีไม่ผิด" ชนินทร์ หอมศิลป์กุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่
สายเทคโนโลยีและปฏิบัติการไทยธนาคารชี้ "ซอฟต์แวร์ตัวนี้เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อประมาณ
3 ปีที่ผ่านมา และการเลือกของเราเป็นสิ่งถูกต้องทั้งในเชิงธุรกิจและการพัฒนาในอุตสาหกรรมธนาคาร"
ดังนั้น ธุรกิจที่อาศัยเทคโนโลยีชั้นสูง เป็นช่องทางดำเนินการก็เป็นแรงผลักดันให้องค์กรต้องปรับตัวไม่มากก็น้อย
หมายความ ว่าธุรกิจต้องมีแผนเชิงยุทธศาสตร์แบบใหม่ ตลอดจนมีกระบวนการทำงานและเทคโนโลยี
รองรับที่ถูกต้อง
สำหรับไทยธนาคารแล้ว ได้เสริมสร้างและลงทุนด้านเทคโนโลยีตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา
ภายใต้แผนงาน IT Strategic Plan คาดว่าต้องใช้เวลาประมาณ 4-6 ปีถึงจะเสร็จ
สมบูรณ์ โดยวงเงินตัวเลขที่ไอบีเอ็มเชื่อว่าไทยธนาคารจะต้องใช้อยู่ที่ระดับ
1.2 พันล้าน บาท แต่ธนาคารเองกลับมองว่า 1 พันล้านบาทจะเป็นตัวเลขที่สมเหตุสมผล
"เมื่อลงทุนไป 1 พันล้านบาท ไทยธนาคารจะต้องได้เงินคืนกลับมาไม่น้อยกว่า
20,000 ล้านบาท" พีรศิลป์บอก
จุดประสงค์ของไทยธนาคาร ณ ปัจจุบันสำหรับการยอมทุ่มเม็ดเงินจำนวนมหาศาลเพื่อการลงทุน
เพื่อเปลี่ยนสถานะธนาคารจากระดับขนาดเล็กให้กลายเป็นธนาคารชั้นนำของประเทศ
เนื่องจากหากยัง ทำงานด้วยระบบเดิมความสามารถในการก้าวขึ้นไปอยู่ระดับบนเป็นไปได้ยาก
ดังนั้นหากจะเคลื่อนไปถึงจุดดังกล่าวจะต้องมองหาซอฟต์แวร์ที่จะมาสนับสนุนให้เกิดความสำเร็จ
"พวกเราใช้แนวความคิดที่ว่าทำไมลูกค้าต้องมาหาธนาคาร ทำไมธนาคารไม่ไป หาลูกค้า
เพราะในปัจจุบันเวลาลูกค้าจะใช้บริการอย่างน้อยต้องเดินไปที่เอทีเอ็ม"
ชนินทร์กล่าว "ทำไมธนาคารไม่ไปหาพวกเขา หรือว่าเมื่อไรที่จะใช้บริการพวกเขาก็ใช้ได้ทันที"
นั่นหมายถึง ไทยธนาคารพยายามให้ บริการลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ให้เกิดการสะดุดในขั้นตอนใด
และเมื่อเดินเข้าธนาคาร สาขาไหนก็ตามลูกค้าจะได้รับการบริการไม่มี ความแตกต่างกันเลย
ที่เรียกว่า The Same Favour
อย่างไรก็ตาม ด้วยสถานะการเป็นรัฐวิสาหกิจของไทยธนาคาร ยังเป็นอุปสรรคสำหรับการปฏิบัติงานอยู่พอสมควร
ดังนั้นการแปรรูปจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง
กรณีการแปรรูปของไทยธนาคารคาด ว่าจะเสร็จสิ้นภายในเดือนกันยายนที่จะถึงนี้
โดยรัฐบาลจะลดสัดส่วนการถือหุ้นจาก 98% ให้เหลือต่ำกว่า 50% หากดำเนินการสำเร็จไทยธนาคารจะเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ
ต่อปัจจัยพื้นฐานที่ส่งผลให้สภาพคล่องสูงขึ้น
อีกทั้ง การบริหารงานจะมีความคล่อง ตัวมากยิ่งขึ้น โดยได้ตั้งเป้าหมายเป็นผู้นำในด้าน
wholesale Bank และ investment bank ที่เน้นบริการลูกค้าขนาดกลางและใหญ่
"การที่ไทยธนาคารกำหนด position-ing ตัวเองเป็นผู้นำในการทำธุรกรรมแบบนี้
เป็นกลยุทธ์ที่ดีและเหมาะสมกับขนาดและเครือข่ายสาขาที่มีอยู่" วราพร
วุฒิพันธุ์ชัย นักวิเคราะห์แห่ง บล.ซีมิโก้อธิบาย
การดำเนินการเช่นนี้ ไทยธนาคารไม่ต้องเข้าไปแข่งขันกับธนาคารพาณิชย์ไทย
หลายแห่งที่ต่างมุ่งเน้นกันทำด้าน retail banking ซึ่งเป็นธุรกิจที่ใช้เงินลงทุนสูงทั้งด้าน
บุคลากร เครือข่าย ระบบฐานข้อมูล และเทคโนโลยี
สำหรับในปีนี้ จะไม่เร่งขยายสินทรัพย์ แต่จะเน้นทำ trade finance การเป็นหน่วยงานของรัฐวิสาหกิจจะช่วยเอื้อประโยชน์ต่อองค์กรได้เป็นอย่างดี
ไม่ว่าจะเป็นการอำนวย สินเชื่อ ที่ปรึกษาทางการเงิน การบริหารสินทรัพย์หรือวาณิชธนกิจให้แก่รัฐวิสาหกิจอื่น
"ไทยธนาคารพยายามที่จะเข้าไปปล่อยกู้ร่วมกับสถาบันการเงินอื่นๆ พวกเขา
ตั้งเป้าที่จะขยายสินเชื่อใหม่ 1.6 หมื่นล้านบาท ส่วนการทำ trade finance
เพื่อขยายฐานรายได้ค่าธรรมเนียม" วราพรเล่า
ในแง่สถานะขององค์กร ไทยธนาคาร จะมีความได้เปรียบธนาคารแห่งอื่นพอสมควร
ในฐานะเป็น good bank โดยมีหนี้ที่ไม่ก่อให้ เกิดรายได้ หรือ NPLs ประมาณ
3% ของสินเชื่อ เนื่องจากได้รับการค้ำประกันและชดเชย ความเสียหายตามแนวทาง
covered asset poll (CAP) ด้วยวิธี yield maintenance และ gain/loss sharing
เป็นระยะเวลา 5 ปี
"เมื่อเป็นเช่นนี้ไทยธนาคารจะสามารถมีกำไรได้ในปีนี้" นักวิเคราะห์บล.เคจีไอกล่าว
และการเปลี่ยนจาก yield mainte-nance ตามแนวทาง CAP เป็นโครงการ TAMC แทนจะไม่มีผลกระทบต่อไทยธนาคาร
ที่คณะทำงาน TAMC เห็นชอบให้โอนลูกหนี้ด้อยคุณภาพไปยัง TAMC ในส่วนที่เป็นของธนาคารรัฐด้วย
และมีความเป็นไปได้สูงว่ารายได้จะเปลี่ยนเป็นการได้รับผลตอบแทนจากพันธบัตร
TAMC
"กำลังเจรจากับ TAMC เพื่อโอนหนี้ด้อยคุณภาพจำนวน 170-180 พันล้านบาท แต่ยังไม่สามารถโอนได้ตามกฎหมาย
เพราะ หนี้ยังอยู่ภายใต้กองทุนฟื้นฟู" นักวิเคราะห์บล.เคจีไอชี้