Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2544
เอไอเอส ผนวกกิจการดีพีซี             
 


   
search resources

แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส, บมจ.




ในที่สุดการซื้อหุ้นทั้งหมดจากบริษัทเทเลคอมมาเลเซีย ที่ถืออยู่ในบริษัทดิจิตอลโฟนของกลุ่มชินคอร์ปก็บรรลุเป้าหมาย

ปฏิบัติการครั้งนี้นับว่าเป็นการเดินเกมต่อเนื่อง หลังจากที่กลุ่มชินคอร์ปตัดสินใจซื้อหุ้นต่อจากกลุ่มสามารถคอร์ปอเรชั่นเมื่อต้นปีที่แล้ว

บุญคลี ปลั่งศิริ ประธานกรรมการบริหาร บอกว่า เขาใช้เวลาในการเจรจากับเทเลคอม มาเลเซีย ถึง 8 เดือนเต็ม กว่าจะทำให้ชินดิจิตอลกลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ที่มีสัดส่วนการถือหุ้น 97.54% ในดีพีซี

ทันทีที่การเจรจาซื้อหุ้นต่อจากเทเล คอมมาเลเซียบรรลุผล ชินคอร์ปอเรชั่นนำ ดีพีซีไปผนึกรวมอยู่ภายใต้บริษัทแอดวานซ์ อินโฟ เซอร์วิส จำกัด ในลักษณะเดียวกับการรวมกิจการ

บุญคลีให้เหตุผลว่า การนำเอาดีพีซีมาอยู่ภายใต้ร่มเงาของเอไอเอส เป็นกรณีเดียวกันกับไอบีซี และยูทีวี เขาเชื่อว่าหาก ดีพีซีแยกเป็นองค์กรโดดเดี่ยวอยู่ลำพังก็ไม่สามารถอยู่รอดได้ เนื่องจากต้องใช้เม็ดเงินลงทุนในการขยายเครือข่าย และการตลาด

การรวมกิจการดีพีซีเข้ากับเอไอเอส จะสามารถประหยัดต้นทุนการดำเนินธุรกิจ จากการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ร่วมกันได้ ไม่ว่า จะเป็นบุคลากร ระบบบิลลิ่ง ระบบ call center ช่องทางจัดจำหน่าย ระบบเอ็นจิเนียริ่ง รวมทั้งเครือข่ายร่วมกันได้

"เป็นโมเดลเดียวกับการรวมกิจการระหว่างไอบีซี และยูทีวี ซึ่งไอบีซีเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้น ยูทีวีไม่ใช่บริษัทจดทะเบียนก็มาเป็น back door ให้กับไอบีซี" บุญคลีเชื่อว่า จะเป็นกรณีเดียวกับเอไอเอส ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ในขณะที่ดีพีซีจะทำหน้าที่เป็น back door ให้กับเอไอเอส

"คุณจะไม่เห็นโฆษณา AIS หนึ่งหน้า หรือดีพีซีหนึ่งหน้า แต่มันจะเป็นโฆษณาแผ่น เดียวกันที่จะเห็นตัวสินค้า"

ความหมายของบุญคลี ก็คือ ชื่อของ ดีพีซีจะถูกลบหายไปจากตลาด เหลือเพียงคำว่า จีเอสเอ็ม 1800 และจีเอสเอ็ม 2 วัตต์ ซึ่งก่อนหน้านี้ดีพีซีได้ใช้เงินไป 500 ล้านบาท เพื่อโปรโมทชื่อแบรนด์คำว่า GSM 1800 มาใช้แทนชื่อแบรนด์ "ฮัลโหล"

GSM 1800 จะถูกกำหนดให้เป็นไฟท์ ติ้งแบรนด์ไว้ต่อกรกับคู่แข่งขัน ซึ่งลูกค้าเป้าหมายของ GSM 1800 จะเป็นทั่วไประดับ mass และจะเป็นกลุ่มลูกค้าในเมือง เนื่องจาก ประสิทธิภาพของคลื่นความถี่ 1800 เมกกะเฮิร์ตซ์จะเหมาะสมสำหรับการใช้ในตัวเมือง

ในขณะที่จีเอสเอ็ม 2 วัตต์ จะยังคงมุ่ง เน้นลูกค้าระดับพรีเมียม ซึ่งเป็นลูกค้าหลักของเอไอเอสที่ใช้เวลาทำมาตลอดหลายปีมานี้

หากมองลึกลงไปกว่านั้น การควบรวมกิจการของดีพีซี ซึ่งเป็นสัมปทานของการ สื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) มารวมอยู่ภายใต้สัมปทานขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย จะทำให้ต้นทุนในการดำเนินงานของดีพีซีถูกลง

เนื่องจากดีพีซี ซึ่งเป็นสัมปทานของกสท. จะต้องเสียค่า access charge 200 บาท ต่อเลขหมายต่อเดือนให้กับ ทศท. ในขณะทีผู้ให้บริการภายใต้สัมปทานของ ทศท. ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายดังกล่าว

แน่นอนว่า เอไอเอสรู้ดีว่าศึกครั้งนี้ย่อมไม่ธรรมดา สิ่งที่เอไอเอสกำลังเผชิญไม่ใช่ คู่แข่งในประเทศ เหมือนเดิมอีกต่อไป แต่เป็น ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือข้ามชาติ ซึ่งทั้งออเรนจ์ และเทเลนอร์ ล้วนแต่มีประสบ การณ์ทำการตลาด เงินทุน และความรู้ในเรื่องของระบบการจัดการที่เป็นสากล

ถึงแม้ว่า ชินคอร์ปและสิงค์เทล ต้องใช้เงินไปประมาณ 17,000 ล้านบาท แต่สำหรับเอไอเอสแล้วต้องนับว่าคุ้มค่ามาก หากเทียบกับการซื้อกิจการ wcs

"ดีพีซี มีเครือข่าย มีลูกค้าอยู่แล้วเกือบแสนราย ในขณะที่ wcs มีเพียงแค่ไลน์เซ่นในแง่นี้ต้องถือว่า คุ้มค่าแล้ว" แหล่งข่าวในบริษัทเอไอเอสกล่าว

อีกเหตุผลหนึ่งในการซื้อดีพีซี ยังเท่า กับเป็นการสกัดไม่ให้มีคู่แข่งเกิดขึ้นใหม่ เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว ดีพีซีก็ต้องตกไปอยู่ในมือของเอกชนรายอื่น ซึ่งจะต้องไปดึงเอาพันธมิตรที่เป็นบริษัทโทรคมนาคมข้ามชาติเข้ามา เท่ากับเอไอเอสก็จะเจอคู่แข่งระดับยักษ์ใหญ่เพิ่มขึ้นอีกราย ซึ่งเป็นสถานการณ์เดียวกับที่ต้องเผชิญกับซีพีออเรนจ์และดีแทค

ด้วยเหตุนี้เอง นอกจากการเจรจาซื้อดีพีซีแล้วชินคอร์ปยังอาศัยความแข็งแรงที่เหนือกว่าคู่แข่งในช่วงเวลานั้น เจรจาขอซื้อหุ้น wcs รวมทั้งบริษัทแทคด้วย แต่ดีลทั้งสองต้องล้มไป เมื่อโกลแมนแซค เลือกขาย หุ้น wcs ให้กับกลุ่มซีพี ส่วนกรณีการซื้อแทค ไม่ได้รับการเห็นด้วยจากการสื่อสารฯ

ความหมายของการเป็นทัพหนุนของ ดีพีซีที่มีต่ออไอเอส ยังคงไม่ได้สิ้นสุดอยู่แค่การใช้ประโยชน์ทางการตลาดเท่านั้น แต่ยัง สร้างมูลค่าในทางตลาดเงินตลาดทุนให้กับเอไอเอสเป็นลำดับต่อไป

ถึงแม้ว่าราคาหุ้นของเอไอเอสจะมีราคา 470 บาท นับว่าเป็นหุ้นที่ยังคงรักษาระดับราคาไว้ได้ แต่ในอีกทางหนึ่ง ราคาหุ้น ที่สูงขนาดนี้ย่อมเป็นอุปสรรคต่อการลงทุนใน สภาพที่กำลังซื้อลดลงเช่นนี้ การได้ดีพีซีซึ่งมี มูลค่าการตลาด (market cap) 30,000 ล้านบาท เอไอเอส ซึ่งมีอยู่ 140,000 ล้านบาท และ มีผลทำให้จะทำให้เอไอเอสมีมูลค่าการตลาด เพิ่มขึ้นเป็น 170,000 ล้านบาท สามารถแตกราคาพาร์ (par) เหลือเพียงแค่ครึ่งเดียวระดับ ราคา 250 บาท โอกาสที่หุ้นของเอไอเอสจะมีการเคลื่อนไหวย่อมมีมากขึ้น

ต้องไม่ลืมว่า การระดมทุนในตลาดหุ้น เป็นปัจจัยที่ทำให้เอไอเอส และกลุ่มชินคอร์ปเติบโตขึ้นมาได้ในเวลาอันรวดเร็วและ ยังคงเป็นแหล่งระดมทุนที่ชินคอร์ปจะไม่มีวันละเลย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us