Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2544
iPSTAR เดิมพันอนาคต             
โดย ไพเราะ เลิศวิราม
 


   
search resources

ชินแซทเทลไลท์, บมจ.




สำหรับชินแซทเทลไลท์แล้ว ดาวเทียม iPSTAR หมายถึง การเดิมพันอนาคตของ การอยู่รอดในธุรกิจดาวเทียมในอนาคตอันใกล้ ถ้าเราไม่ใช่เบอร์ 1 ในเอเชีย เราอย่าเสียเวลา เราต้องทำอะไรที่ดีกว่าของคนอื่น ถ้าไปซื้อของฝรั่งมา และขายแบบที่ทำมาในช่วง 10 ปีแรกของบริษัทเกมนั้นจบแล้ว" ดร.ดำรงค์ เกษมเศรษฐ์ รองประธานกรรมการบริหาร กลุ่ม บริษัท ชินแซทเทลไลท์ บอกในการพบปะผู้สื่อข่าว เพื่อบอก ถึงความคืบหน้าของดาวเทียม iPSTAR ที่จะเป็นหน้าใหม่ของ การแข่งขันในตลาดดาวเทียม

ก่อนหน้านี้ "ชินแซทเทลไลท์" เป็นเจ้าของสัมปทานดาวเทียมไทยคม จากกระทรวงคมนาคม ที่ส่งดาวเทียมไทยคมขึ้น ท้องฟ้าเพื่อให้บริการเช่าช่องสัญญาณความถี่ แบบ c-band เปิดให้บริการแล้ว 10 ปีเต็ม มีดาวเทียมให้บริการแล้ว 3 ดวง คือ ไทยคม 1A ไทยคม 2 ไทยคม 3

การดำเนินงานในช่วงแรกของไทยคม ไม่ต้องเผชิญอุปสรรคอะไรมากนัก เนื่องจาก มีอายุการคุ้มครองจากกระทรวงคมนาคม ที่ กำหนดให้หน่วยงานของภาครัฐและเอกชนที่ต้องเช่าใช้ช่องสัญญาณ (transponder) ดาวเทียมไทยคม

แต่ถึงแม้ว่า อายุการคุ้มครองที่หมดลงเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2542 ที่คาดหมายกันว่าไทยคมจำเป็นต้องเตรียมพร้อมกับการ แข่งขันอย่างแท้จริง โชคยังเป็นของไทยคม เมื่อปริมาณความต้องการของระบบสื่อสารผ่านดาวเทียมที่เพิ่มขึ้น บวกกับวงโครจรบนอวกาศที่มีจำกัด ทำให้ดาวเทียมใหม่ไม่สามารถยิงได้ ต้องรอให้ดวงเก่าหมดอายุลงก่อน นอกจากจะทำให้การแข่งขันราคาไม่เกิดขึ้น ราคาค่าเช่าช่องสัญญาณยังเพิ่มขึ้นได้อีก

แต่สถานการณ์เหล่านี้กำลังเปลี่ยนไป พัฒนาการใหม่ๆ ของเทคโนโลยีทุกระบบ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์พื้นฐาน ดาวเทียม ที่กำลังมุ่งไปสู่เทคโนโลยี Broadband ที่จะเป็น การเพิ่มขีดความสามารถรับส่งข้อมูลจำนวน มาก ในรูปแบบของดิจิตอลด้วยความเร็วที่เพิ่มขึ้นกว่าระบบสื่อสารแบบเดิมหลายสิบเท่า ตัว เรียกได้ว่าเป็นการพลิกประวัติศาสตร์หน้า ใหม่ของบริการ

โครงการ iPSTAR คือ คำตอบสำหรับ ชินแซทเทลไลท์ ที่พวกเขาเชื่อว่า "ถ้าเราไม่มี iPSTAR เราก็คงต้องออกจากตลาด เพราะมัน จะไม่เห็นฝุ่นเลย" คำยืนยันของ ดร.ดำรงค์

ดร.ดำรงค์ยกตัวอย่างคู่แข่งในระดับ ภูมิภาคในเวลานี้ ที่ต้องถูกซื้อกิจการหรือ ควบรวมกิจการจากหน่วยงานของรัฐบาลไปเกือบหมด เหลือเพียงชินแซทเทลไลท์ที่ยังเป็น กิจการเดียวที่ดำเนินงานโดยบริษัทเอกชน

พวกเขาเชื่อมั่นอย่างแรงกล้าว่า ขีดความสามารถเทคโนโลยีของระบบบรอดแบนด์ ที่บรรจุอยู่ในดาวเทียม iPSTAR จะเป็น อาวุธ ที่จะทำให้พวกเขาสามารถยืนหยัด อยู่ในสนามแข่งขันรอบใหม่ที่จะเข้าสู่บริการที่ต้องให้ขีดความสามารถของระบบ "มัลติมีเดีย" อย่างสมบูรณ์แบบมากที่สุด

บริการเกมสามมิติออนไลน์ สั่งซื้อภาพยนตร์ เพลงทางอินเทอร์เน็ต บริการวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ บริการอีคอมเมิร์ซ โทรศัพท์ อินเทอร์เน็ต โฮมชอปปิ้ง ขายข้อมูล คือ บริการที่จะเกิดขึ้นจากเทคโนโลยีของระบบบรอดแบนด์

นอกเหนือจากขีดความสามารถของการให้บริการที่มากขึ้นแล้ว โมเดลของการทำธุรกิจก็จำเป็นต้องเปลี่ยนไป ธุรกิจของพวกเขาจะไม่ได้อยู่ที่การขายช่องสัญญาณ ทรานสปอนเดอร์อย่างเดียวเหมือนกับที่ทำกับไทยคม แต่เขาจำเป็นต้องลงมาเป็นผู้เล่น ในเรื่องของเทคโนโลยีปลายทาง เพื่อผนวกทั้งสองส่วนเข้าด้วยกัน

เพราะแม้ว่า บริการบรอดแบนด์ผ่าน ดาวเทียม จะมีข้อได้เปรียบระบบ ADSL และ เคเบิลโมเด็ม ซึ่งเป็นบริการบรอดแบนด์ผ่าน ข่ายสายโทรศัพท์ ในเรื่องของเครือข่ายของบริการที่กว้างไกลและครอบคลุมได้กว้างกว่า ภายใต้การลงทุนที่ถูกกว่า แต่อุปสรรคที่สำคัญของดาวเทียม อยู่ที่ราคาค่าอุปกรณ์ปลายทางที่แพงกว่าระบบข่ายสายโทรศัพท์

ด้วยสาเหตุนี้เอง ชินแซทเทลไลท์ จำเป็นต้องใช้เม็ดเงิน เพื่อการวิจัยเทคโนโลยี ในการผลิตอุปกรณ์ปลายทางออกมาป้อนตลาด วิธีการของพวกเขาก็คือ ให้เงินสนับ สนุนแก่บริษัทวิจัยเล็กๆ แห่งหนึ่งในสหรัฐ อเมริกา จากนั้นก็จะนำเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้น ได้นี้ มาขายลิขสิทธิ์ให้กับโรงงาน หรือผู้ที่สนใจผลิตอุปกรณ์เหล่านี้ออกขาย เพื่อให้มีการใช้งานแพร่หลายที่สุด เพราะเมื่อจำนวน ผู้ใช้มากขึ้น ราคาค่าอุปกรณ์จะลดต่ำลงมา สามารถแข่งขันในตลาดได้

เช่นเดียวกับ การที่ต้องทำตัวเป็นผู้สนับสนุนเพื่อให้ผลักดันให้มีการผลิตเนื้อหา (content) ที่จะใช้กับระบบบรอดแบนด์มากๆ โมเดลนี้ก็ไม่แตกต่างไปจากบริการโมบายอินเทอร์เน็ต ตราบใดที่เนื้อหาน้อยหรือไม่มีเนื้อหาที่โดนใจผู้ใช้แล้ว โอกาสที่โมบายอินเทอร์เน็ตจะแพร่หลายย่อมเกิดขึ้นได้ยาก เช่น เดียวกับบริการบรอดแบนด์ ซึ่งขีดความสามารถของตัวระบบทำได้มากมาย แต่ขึ้นอยู่กับว่าจะมี content

สิ่งที่พวกเขาจะต้องทำต่อไป ก็คือ การคิดหาสูตรการทำเงินให้กับผู้ผลิต content ที่จะได้รับจากบริการผ่านเทคโนโลยีบรอดแบนด์

นี่คือ โมเดลใหม่ของการเป็น network provider ที่ไม่ใช่การเป็นผู้ขายช่องสัญญาณดาวเทียมอีกต่อไป

ตามเป้าหมายที่วางไว้ บริการ iPSTAR จะเริ่มให้บริการได้ภายในปีนี้ แต่จะเป็นบริการบนภาคพื้นดินก่อน โดยจะใช้ร่วมกับระบบดาวเทียมที่มีอยู่เดิมก่อน จนกว่าดาว เทียม iPSTAR ถูกจะยิงขึ้นท้องฟ้าในปี 2003 จะเป็นการนำเสนอบริการทั้งภาคพื้นดิน และบนดิน

"เราจำเป็นต้องดินทุกรูปแบบที่ต้องขยาย เพราะไม่เช่นนั้น เราก็ต้องถูกกลืน ถ้าขยายแล้ว เราก็มีโอกาสจะเติบโตและไปกลืนคนอื่นเขา" ดร.ดำรงค์กล่าว "แต่ถ้าคุณ เป็นบริษัทเล็กกว่าเขา เงินน้อยกว่าเขา คุณต้องมีอะไรที่ดีกว่าเขา ต้องฉลาดกว่าเขา ต้อง ทำการตลาด เข้มข้นกว่า"

และนี่ก็คือ เส้นทางใหม่ของชินแซทเทลไลท์บนธุรกิจหน้าใหม่กับดาวเทียมที่ชื่อ iPSTAR

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us