Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2544
สยามกลการ ยังเป็นสมบัติของ "พรประภา" จนลมหายใจสุดท้ายของ ดร.ถาวร             
โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์
 


   
search resources

สยามกลการ, บจก.




7 กรกฎาคม 2544 เมืองไทยต้องสูญเสียบุคคลากรคนสำคัญ ในวงการอุตสาหกรรมยานยนต์ไปอีก 1 ท่าน จากการเสียชีวิตของดร.ถาวร พรประภา ผู้ก่อตั้ง และประธานกิตติมศักดิ์ บริษัทสยามกลการ และบริษัทในเครือ ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่าย รถยนต์นิสสันในประเทศไทย

ดร.ถาวรได้เสียชีวิตลงอย่างสงบ ด้วยโรคชรา ขณะที่มีอายุรวม 85 ปี เมื่อเวลา 20.55 น. ภายในบ้านพัก ในซอยทองหล่อ 2 ถนนสุขุมวิท 55

ดร.ถาวร พรประภา เป็นผู้ก่อตั้งบริษัทสยามกลการขึ้นมา โดยเริ่มต้นจากการทำธุรกิจค้าเครื่องจักรกล และรถยนต์ หลังสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 หลังจากนั้นได้ขยายธุรกิจมาเป็นผู้นำเข้า รถยนต์นิสสัน จากประเทศญี่ปุ่นมาขายในประเทศไทยและพัฒนา ถึงขั้นตั้งโรงงานประกอบรถยนต์นิสสันขึ้นเองในประเทศไทยในภาย หลัง ซึ่งโรงงานแห่งนี้ถือเป็นโรงงานประกอบรถยนต์แห่งแรกของ ประเทศไทย

เครือข่ายธุรกิจของสยามกลการ ภายใต้การนำของ ดร.ถาวร ในระยะต่อมา ได้ขยายตัวครอบคลุมอุตสาหกรรมยานยนต์อย่างครบวงจร มีทั้งโรงงานประกอบรถยนต์ โรงงานผลิตเครื่องยนต์ โรงงานผลิตชิ้นส่วน และอะไหล่ โดยปัจจุบัน ในกลุ่มสยามกลการมีบริษัทในเครือ เป็นจำนวนถึงกว่า 50 บริษัท

ขณะเดียวกันพี่น้อง และลูกหลานในตระกูลพรประภาของ เขา ก็ยังขยายบทบาทให้กว้างขวางออกไปในธุรกิจยานยนต์ โดยนอกเหนือจากการเป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์นิสสัน ยังได้เป็นตัวแทนจำหน่ายจักรยานยนต์ยามาฮ่า และซูซูกิเพิ่มขึ้นอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของสยามกลการเอง ช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา ถือว่าได้ผ่านมรสุมหลายลูกที่พัดเข้ามากระหน่ำ โดยเฉพาะปัญหาทางด้านการเงิน ซึ่งทางแก้ปัญหาก็คือการดึงให้นิสสัน มอเตอร์สจากประเทศญี่ปุ่นเข้ามาถือหุ้น เพื่อนำเม็ดเงินใหม่เข้ามาขยายธุรกิจ

เริ่มจากภายหลังลดค่าเงินบาทในปี 2527 สยามกลการต้องประสบกับปัญหาทางการเงินอย่างหนัก จนในที่สุด ดร.ถาวรต้องดึงคนนอกอย่างนุกูล ประจวบเหมาะ ที่เพิ่งถูกปลดจากตำแหน่ง ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เข้ามานั่งเป็นประธานกรรมการ

นุกูลได้ช่วยกอบกู้ปัญหาทางการเงิน ด้วยการเจรจากับเจ้าหนี้ รวมทั้งเจรจากับนิสสัน มอเตอร์สให้เข้ามาถือหุ้นในสยามกลการได้สำเร็จ

หลังจากนั้น นิสสัน มอเตอร์ส ได้เข้ามาถือหุ้นอยู่ในสยามกลการ ในสัดส่วน 25% โดยคนในตระกูลพรประภา ยอมลดสัดส่วน การถือหุ้นลงมาเหลือเพียง 75%

สยามกลการผ่านพ้นวิกฤติมาได้ระยะหนึ่ง ก็เกิดความขัดแย้ง กันเอง ระหว่างผู้บริหารของตระกูลพรประภา รุ่นลูกของ ดร.ถาวร จนต้องมีการแบ่งแยกอาณาจักร

เมื่อมีการประกาศลอยตัวค่าเงินบาทในปี 2540 ถือเป็นวิกฤติ ทางการเงินที่หนักที่สุด ที่สยามกลการต้องประสบ ซึ่งทางรอดเพียง ทางเดียวของสยามกลการคือการดึงให้นิสสัน มอเตอร์ส เข้ามาเป็น ผู้ถือหุ้นใหญ่ เพื่อนำเม็ดเงินก้อนใหม่ อีกเป็นจำนวนมากเข้ามาต่ออายุธุรกิจ

การเจรจาระหว่างสยามกลการกับนิสสัน มอเตอร์ส ดำเนิน การมาเป็นระยะ จนถึงปัจจุบันกินเวลาไปถึงกว่า 2 ปี ระหว่างนั้น ค่ายรถยนต์ของคนไทยหลายแห่ง ซึ่งประสบปัญหาทางการเงินอันเป็นผลพวงของการลอยตัวค่าเงินบาทเช่นกัน ต้องล่มสลายไปเพราะ บริษัทเจ้าของแบรนด์สินค้า ได้ตัดสินใจเข้ามารุกทำการตลาดภายใน ประเทศเอง เนื่องจากเห็นว่าบริษัทคู่ค้าชาวไทย ทำท่าจะเอาตัว ไม่รอด

ในที่สุด การเจรจากับทั้ง 2 ฝ่าย ก็ได้ข้อสรุป โดยนิสสัน มอเตอร์สจะเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นในสยามกลการจากเดิม 25% เป็น 75% ส่วนตระกูลพรประภา จำเป็นต้องลดสัดส่วนการถือหุ้นลงมา กลายเป็นหุ้นส่วนน้อย

ตามกำหนดการเดิม วันที่ 6 กรกฎาคม ได้ถูกกำหนดให้เป็นวันลงนามในสัญญาการร่วมลงทุนของทั้ง 2 ฝ่าย

การแถลงข่าวครั้งนี้ถือเป็นงานใหญ่ เพราะแม้จะอยู่ใน ช่วงของวันหยุดเทศกาล แต่สยามกลการได้มีการเชิญบุคคลสำคัญ ทั้งในวงการเมือง และธุรกิจเข้ามาร่วมเป็นสักขีพยานด้วย อาทิ พล.อ.พิจิตร กุลละวณิชย์ องคมนตรี, สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม, สุวรรณ วลัยเสถียร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ รวมถึงชาตรี โสภณพนิช ประธานกรรมการ ธนาคารกรุงเทพ ซึ่งเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่

ขณะที่ฝ่ายนิสสัน มอเตอร์สนั้น Calos Ghosn กรรมการผู้จัดการใหญ่ นิสสัน มอเตอร์ส ประเทศญี่ปุ่น เป็นผู้ที่จะบินจากญี่ปุ่น มาเซ็นสัญญากับพรเทพ พรประภา กรรมการผู้จัดการใหญ่ และ CEO ของสยามกลการด้วยตนเอง

แต่การกำหนดการเซ็นสัญญาครั้งนี้ได้ถูกเลื่อนออกไปอย่าง ไม่มีกำหนด เนื่องจากขณะนั้น ดร.ถาวรอยู่ในอาการป่วยหนักและ เสียชีวิตลงในช่วงหัวค่ำของวันถัดมา

ณ วันนี้ ซึ่งยังอยู่ในช่วงของการเก็บศพ ดร.ถาวรไว้รอประกอบพิธีทางศาสนา บริษัทสยามกลการ ยังมีตระกูลพรประภา เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ โดยนิตินัย

แต่หลังจากนี้ไป เพื่อความอยู่รอดของธุรกิจที่ ดร.ถาวรก่อสร้างขึ้นมากับมือ คงหลีกไม่พ้นที่จำเป็นจะต้องหลีกทางให้ผู้อื่นเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ นำเม็ดเงินเข้ามาต่ออายุธุรกิจ ให้สามารถเดินหน้าต่อไปได้อีกในอนาคต

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us