Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2544
โลตัส กรุ๊ป จับมือโปรตรอนผนวกงานวิศวกรรมยานยนต์เข้ากับรถราคาประหยัด             
 

   
related stories

โตโยต้าเตรียมเข้าสนามฟอร์มูลาวันมุ่งพัฒนาขีดความเร็วเข้าตลาดยุโรป
ธุรกิจเทคโนโลยีเล็งสนับสนุน "ฟอร์มูลา"

   
search resources

โลตัส กรุ๊ป




หนังสือพิมพ์ "the Sun" และ "the Mail on Sunday" ในอังกฤษ พากันประโคมข่าวเกี่ยวกับความเยี่ยมยอดของรถมาเลเซีย Proton SatriaGTi ซึ่งเป็นรถสปอร์ต hatchback ขนาด 1.8 ลิตร แต่หากใครจะสืบค้นถึงเบื้องหลังความสำเร็จดังว่าก็คงต้องเริ่มดูจากแผ่นป้ายสีเงินขนาดเล็ก ที่ติดข้างตัวถัง แผ่นป้ายนั้นมีข้อความว่า "engineered by Lotus"

เกือบสี่ปีมาแล้วที่บริษัทโปรตอน ผู้ผลิต Satria GTi เข้าซื้อหุ้น 80% ของโลตัส กรุ๊ป (Lotus Group) ซึ่งเป็นกิจการด้านวิศวกรรมยานยนต์และรถสปอร์ตแห่งอังกฤษ หลังจากนั้นมา โปรตอนก็เก็บเกี่ยวผลประโยชน์ในด้านเทคนิคมาเสริมให้กับรถยนต์ที่บริษัทผลิตขึ้น และประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง โดยเฉพาะในตลาดอังกฤษซึ่งเป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของโปรตอน แม้ว่าบริษัทจะประสบปัญหาทางด้าน การเงินถึงขั้นประสบขาดทุนอย่างต่อเนื่องจาก การซื้อหุ้นกิจการโลตัสก็ตามที

โลตัสมีชื่อเสียงโดดเด่นในด้านรถสปอร์ต แต่ส่วนที่จัดเป็นเพชรน้ำเอกที่มาเสริม ให้กับโปรตอนก็คือกลุ่มงานทางด้านการออกแบบและพัฒนา ซึ่งเคยสร้างงานให้กับลูกค้าอย่างเจเนอรัล มอเตอร์ (General Motors) ผู้ผลิตรถชั้นนำของโลกมาแล้ว

เมื่อทีมออกแบบและพัฒนาของโลตัสหันมาจับงานผลักดันรถยนต์ขนาดเล็กอย่าง Satria โลตัส ดำเนินการยกเครื่องตัวถังและโครงรถใหม่ทั้งหมด อีกทั้งยังปรับปรุงประสิทธิภาพในการเกาะถนน และโละทิ้งเครื่องยนต์ของมิตซูบิชิที่เทอะทะไปเสีย

"โลตัสมีส่วนอย่างยิ่งในการพัฒนาขีดความสามารถของโปรตอนและทำให้ยอดขายรถเพิ่มขึ้น" โรเบิร์ต ทิคเนอร์ (Robert Tickner) ผู้จัดการฝ่ายการตลาดของ Lotus Engineering บอก เขายังเล่าถึงการออกแบบ พัฒนา และการผลิตเครื่องยนต์ Campro ที่จะมาแทนที่เครื่องยนต์ของมิตซูบิชิที่โปรตอนใช้อยู่ในปัจจุบัน นอกจากนั้น ความร่วมมือระหว่างโลตัสกับ Satria GTi จะมีผลต่อรถรุ่นใหม่ๆ ของโปรตอน ทั้งหมดนี้จึงเป็นเรื่องที่ไม่อาจดูเบาได้ เพราะโปรตอนนั้นจับตลาดรถที่มีต้นทุนการผลิตต่ำมาตลอด เมื่อได้เทคโนโลยีของโลตัสเข้ามาเสริมแล้วโปรตอนย่อมมีโอกาสผงาดขึ้นเป็นรถยนต์ ที่มีความน่าเชื่อถือในแง่ของสมรรถนะอย่างแท้จริง และนี่คือโอกาสที่จะสร้างกำไรเพิ่มขึ้นด้วย

อย่างไรก็ตาม โลตัสเองก็พยายามรักษาฐานลูกค้าของตัวเองไว้ โดยคงความเป็นอิสระจากโปรตอนในตลาดอังกฤษ แต่ประสานความร่วมมืออย่างแข็งแกร่งกับบริษัทแม่ของโปรตอนด้วยการจัดตั้ง "Lotus Engineering Malaysia" ขึ้นเมื่อปีที่แล้ว เพื่อรองรับลูกค้าหลักคือโปรตอนและลูกค้าอื่นในเอเชีย

ด้านโปรตอนเองก็มีความคืบหน้าเช่นกัน โดยเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม ที่ผ่านมา บริษัทได้เปิดตัวรถรุ่นล่าสุด "Impia" ในตลาดอังกฤษ และเป็นรถที่ออกแบบโดยโปรตอนทั้งหมด (รถรุ่นดังกล่าววางตลาดในเอเชีย เมื่อปีที่แล้วในชื่อ "Waja") ทั้งนี้ Impia เป็นรถยนต์นั่งขนาดกลางสำหรับครอบครัวที่มุ่งช่วงชิงตลาดกับ "Mondeo" ของฟอร์ด

"โปรตอนพัฒนาอย่างก้าวกระโดดในเชิงการพัฒนาทักษะและการเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่" โฆษกของโปรตอนบอก

"ไม่มีคำถามเลยในแง่ของการก้าวกระโดดใน ด้านคุณภาพ แต่ในแง่ของงานวิศวกรรมนั้นเป็น การปรับปรุงภาพพจน์ครั้งสำคัญ" แกรม แม็กซ์ตัน (Graeme Maxton) แห่งบริษัทที่ปรึกษาด้านธุรกิจรถยนต์ Autopolis ให้ความเห็น "แต่ในทางการเงินแล้วเป็นเรื่องหนักทีเดียว โลตัสนั้นเก่งกาจด้านงาน วิศวกรรมรถยนต์ แต่ไม่มีฝีมือเลยในแง่การผลิตรถยนต์ของตนเอง"

ข้อเท็จจริงที่ยืนยันความข้อนี้ก็คือ ในรอบ 40 ปี ที่ผ่านมา โลตัสผลิตรถสปอร์ตออกสู่ตลาดได้ไม่ถึง 100,000 คัน ในขณะที่โปรตอนซึ่งแม้เป็นกิจการขนาดเล็ก แต่กลับผลิตรถออกสู่ตลาดได้ร่วมแสนคันภายในเวลาเพียงปีเดียว พร้อมกับมีเข็มมุ่งที่จะเป็นผู้ผลิตรถป้อนตลาดโลกด้วย ด้วยเหตุนี้ การผลิตรถรุ่นใหม่ของโปรตอนจึงต้องมีโครงสร้างพื้นฐานที่ดีรองรับ ในอนาคต ส่วนในระยะสั้น รถรุ่นใหม่คงยังออกสู่ตลาดได้ล่าช้า

นอกจากนั้น โปรตอนยังต้องเตรียมเผชิญกับปัญหาอื่น กล่าวคือในปี 2005 บริษัทจะต้องรับมือกับการแข่งขันที่หนักหน่วง ยิ่งขึ้นเมื่อมีการเปิดเสรีตลาดรถยนต์ทั้งระดับภูมิภาคและระดับโลก การเปิดเสรีดังกล่าว จะส่งผลให้มีการลดภาษีรถยนต์นำเข้าในมาเลเซีย กิจการโปรตอนซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจขนาดเล็กจึงต้องลำบากอย่างยิ่ง ในการแย่งชิงตลาดส่งออกเมื่อเทียบกับคู่แข่งยักษ์ใหญ่อย่างเดมเลอร์ไครสเลอร์, จีเอ็ม และฟอร์ด อีกทั้งนโยบายของรัฐบาลมาเลเซียที่ผ่านมาก็เป็นไปในทิศทางที่แข็งกระด้างกับต่างชาติ ทำให้กิจการโปรตอนมีโอกาสแสวงหาความร่วมมือกับบริษัทรถยนต์ข้ามชาติได้ยากเต็มที "โปรตอนกำลังอยู่ในสถานการณ์ที่ลำบากยิ่ง" แม็กซ์ตันวิเคราะห์ "บริษัทมีขนาดเล็กไม่อาจต่อกรกับคู่แข่งและไม่มีใครอยากร่วมมือด้วย แม้ว่าโปรตอนจะมีชื่อเสียงดีและผลิตรถยนต์คุณภาพเยี่ยมก็ตาม"

อย่างไรก็ดี โปรตอนควรดีใจที่อย่างน้อยก็เดินไปข้างหน้าอย่างถูกทิศทาง ด้วยการผลิตรถยนต์ที่สนองความต้องการที่ แท้จริงของลูกค้า และการยึดอยู่กับคุณภาพเป็นเลิศย่อมจะเป็น จุดแข็งที่นำกิจการให้อยู่รอดต่อไปได้ในวันข้างหน้า

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us