เส้นทางเดินของผ้าไหมไทย จิม ทอมป์ สัน ยืนหยัดมาได้นานถึง 51 ปี ท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรงของตลาดผ้าไหมโลกภายใต้การ
บริหารจัดการของวิลเลียม เอ็ม. บู๊ทซ์ กรรมการ ผู้จัดการบริษัทอุตสาหกรรมไหมไทย
วิลเลียมเป็นชาวต่างชาติที่เข้ามาในผืนแผ่นดินไทย ตั้งแต่ปี 2506 และได้มีโอกาสร่วมกันบุกเบิกกิจการผ้าไหมร่วมกับจิม
ทอมป์สัน จนกระทั่งสามารถเอางานหัตถกรรมจากชุมชนเล็กๆ นี้ สร้างความโด่งดังไปทั่วโลกและกำลังเป็นเรื่องที่หลายบริษัทในเมืองไทยต้องการเลียน
แบบและไต่เต้าตาม
หลังเกิดเหตุการณ์หายตัวไปอย่างลึกลับ ของจิม ทอมป์สัน ราชาผ้าไหมไทยเมื่อปี
พ.ศ. 2510 ชาร์ล ยู เจฟฟิลด์ ได้เข้ามารักษาการแทน ชั่วคราวเพียง 3 ปีก็เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง
ต่อจากนั้นในปี พ.ศ.2516 บู๊ทซ์ก็ขึ้นนั่งเก้าอี้กรรม การผู้จัดการคนใหม่
จนถึงปัจจุบัน นับว่าเป็น "นาย" ของทุกคนมานานถึง 28 ปีแล้ว
ดังนั้น ความสำเร็จที่เกิดขึ้นหลังสิ้นยุค จิม ทอมป์สัน นั้นต้องยอมรับว่าเป็นเพราะความ
สามารถในการบริหารจัดการของเขา
เมื่อบู๊ทซ์พบกับนายห้างจิมครั้งแรก เขา อายุเพียง 26 ปี เป็นทหารผ่านศึกสงครามเกาหลีที่จบการศึกษาปริญญาตรีคณะบริหารธุรกิจจากอเมริกา
และได้เข้ามาช่วยงานในเรื่อง การตลาดเคียงข้างจิมมาโดยตลอด การที่ได้มีโอกาสรู้จักลูกค้าหลายราย
ได้กลายเป็นช่องทาง สำคัญของการขายสินค้าในเวลาต่อมา โดยเฉพาะตลาดต่างประเทศในยุคแรกๆ
นั้นเขาได้ให้ความสำคัญมากเป็นพิเศษเช่นเดียวกันกับ จิม ทอมป์สัน
บู๊ทซ์ ยังได้มีการขยายกำลังการผลิตด้วย การขยายโรงงาน สั่งซื้อเครื่องจักรอันทันสมัย
อย่างต่อเนื่องโดยมีฐานการผลิตอยู่ที่อำเภอปักธงชัย จ.นครราชสีมา และยอมลงทุนในเรื่อง
การสร้างฟาร์มปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเพื่อการพัฒนาสายพันธ์เอง ด้วยวิธีนี้ทำให้เขามั่นใจว่าสามารถควบคุมมาตรฐานการผลิตได้ตั้งแต่ต้น
โดยไม่มีใครกล้าทำมาก่อนในเมืองไทย
โดยเฉพาะการกล้าตัดสินใจเพิ่มทุนครั้งใหญ่จาก 20 ล้าน เป็น 200 ล้านเพื่อการขยายตัวครั้งใหม่ในปี
2540
ในขณะเดียวกันก็เปิดฉากรบทุกวิถีทาง ได้ให้ความสำคัญกับการขายสินค้าในประเทศไทยมากขึ้น
มีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายเพิ่มขึ้น โดยให้อีริค บี บู๊ทซ์ ลูกชายคนเดียวก้าวมารับตำแหน่ง
International Marketing Manager รับผิดชอบในเรื่องทำการตลาดแบบใหม่ เช่น
ดึงเอาคนมีชื่อเสียงในแต่ละด้านเข้ามาร่วมเช่นจัดงานแฟชั่นโชว์ร่วมกับนคร
สัมพันธารักษ์ การออกสินค้าตกแต่งบ้าน บ้านในคอลเลกชั่น" จิม ทอมป์สัน ไลฟ์สไตล์"
โดยร่วมมือกับอู้ พหลโยธิน
ส่วนในต่างประเทศนั้นได้ขยายสาขาเพิ่มขึ้นจาก 14 สาขา เป็น 23 สาขา ล่าสุดได้เปิดสาขาที่สิงคโปร์ซึ่งเป็นแห่งที่
3 ในประเทศ นี้ รวมทั้งมีเอเย่นต์ดูแลเรื่องผ้าตกแต่งบ้านทั่วโลกกว่า 35
ประเทศ
เมื่อเป็นสินค้าส่งออก บู๊ทซ์ จึงโชคดีเมื่อเกิดวิกฤติของค่าเงินบาท แต่การทยอยสั่งเครื่องจักรอันทันสมัยจากต่างประเทศเข้ามา
ได้กลายเป็นปัญหาในเรื่องต้นทุนอย่างหนึ่งเหมือนกัน อย่างไรก็ตามยอดรายได้ประมาณ
2,000 ล้านบาท เมื่อปลายปี 2543 นั้นเป็นรายได้ที่สูงกว่าทุกๆ ปี และแสดงให้เห็นว่าเส้นกราฟแสดง
รายได้ของบริษัทนั้นไม่เคยตกลงเลย
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา บู๊ทซ์พอใจที่จะอยู่เบื้องหลังความสำเร็จอย่างเงียบๆ
และไม่ค่อยทำตัวให้เป็นที่รู้จักของใครในวงสังคมนัก เขาแต่งงาน 2 ครั้ง ครั้งแรกกับภรรยาเป็นคนไทย
ชื่อ พัฒนศรี บุนนาค มีลูกชาย 1 คนคือ อีริค หรือภวพันธ์ ครั้งที่ 2 กับ
ม.ร.ว.วิภานันท์ รังสิต และมีธิดา 1 คนคือ ปริศนา ดอรา รังสิต บู๊ทซ์
วันนี้ บู๊ทซ์ อายุ 63 ปีแล้ว กำลังปล่อยบทบาททางด้านการตลาดทั้งหมดให้กับอีริค
เขาไปพบลูกค้าเองในต่างประเทศน้อยลงแต่ยังมาทำงานเป็นประจำทุกวัน ที่ออฟฟิศของบริษัทอุตสาหกรรมไหมไทย
ริมถนนสุริวงศ์ และเดินทางไปดูงานเองที่โรงงานในอำเภอปักธงชัยเกือบ ทุกสัปดาห์