Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2544
แจ็ค มินทร์ อิงค์ธเนศ dream maker             
 


   
search resources

กลุ่มแอดวานซ์ รีเสิร์ช, บจก.
แจ็ค มินทร์ อิงค์ธเนศ




เรื่องราวของเขากลายเป็นแบบฉบับของชาวต่างชาติ ที่อาศัยจังหวะ และช่องทาง การมองธุรกิจเข้ามาสร้างการเติบโตในธุรกิจคอมพิวเตอร์ ที่ทำให้เขาผ่านทั้งจุดเติบโต และ ล้มเหลวมาแล้ว เขากำลังกลับมาอีกครั้งในเวที ที่ใหญ่กว่าเดิม

แจ๊ค มินทร์ อิงธเนศ อดีตชาวไต้หวัน ที่เข้ามาเมืองไทยเมื่อ 20 ปีที่แล้ว ขณะที่มีอายุ 27 ปี เขาผ่านการศึกษาในคณะสถาปัตยกรรม ศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยในไต้หวัน จากนั้น บินไปใช้ชีวิตเป็นพนักงานในร้านอาหารแห่งหนึ่ง กับญาติของเขาในสหรัฐอเมริกา 3 ปีเต็ม

เขาตัดสินใจบินมาแสวงโชคที่เมืองไทย ในปี 2523 เริ่มทำงานในโรงงานเหล็กสยามสตีล ที่พระประแดง เป็นของตระกูลวิริยะประไพกิจ ที่ผู้เป็นพ่อของเขา อุดม อิงค์ธเนศ วิศวกรชาวไต้หวันทำงานอยู่ เป็นโอกาสที่ทำให้เขาได้ พบกับวิทย์ และประภา วิริยะประไพกิจ สอง พี่น้องที่กลายมานายทุนให้กับเขา เปิดบริษัทโภคภัณฑ์เครดิต เพื่อจำหน่ายอุปกรณ์คอมพิว เตอร์ ด้วยเงินทุน 2 ล้านบาท ต่อมาเปลี่ยนชื่อ เป็นสหวิริยาโอเอ

แจ๊ค มินทร์ อิงค์ธเนศ หรือ แจ๊ค มิน ชุน ฮู เป็นชื่อก่อนเปลี่ยนสัญชาติมาเป็นไทยเมื่อปี 2542 สร้างการเติบโตให้กับสหวิริยาโอเอ ด้วยการแสวงหาโอกาสและช่องว่างในตลาดที่ คู่แข่งยังเข้าไปไม่ถึง หรือยังมองไม่เห็นความสำคัญ

การเข้าสู่ตลาดคอมพิวเตอร์ของเอสวีโอเอ เป็นช่วงที่ตลาดยังถูกครอบครองด้วยบริษัทข้ามชาติรายใหญ่ๆ ไม่ว่าจะเป็นไอบี เอ็ม ฟิลิปส์ ดิจิตอล ผู้ประกอบการเหล่านี้มักจะมุ่งเน้นไปที่ลูกค้าประเภทองค์กรขนาดใหญ่ ทำให้เกิดช่องว่างในกลุ่มลูกค้า ที่เป็นองค์กรขนาดเล็ก และลูกค้าทั่วไป ที่ยังไม่ได้ขยายตลาดในลูกค้าเหล่านี้มากนัก

แจ๊คมองเห็นช่องว่างเหล่านี้ หลังจากประสบปัญหากับไอบีเอ็มจนต้องบอกเลิกการเป็นตัวแทนจำหน่าย เขาแก้ปัญหาด้วยการระดมติดต่อนำอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่อพ่วงมากมายหลายยี่ห้อ ไม่ว่าจะเป็น แมคอินทอช เอเซอร์ จากญี่ปุ่น และเอปซอนจากไต้หวัน สร้างทางเลือกใหม่ให้กับลูกค้า ที่จะต้องมีสินค้าครอบคลุมความต้องการมาก ที่สุด ขณะเดียวกันก็ไปมุ่งเน้นทำตลาดที่เป็นลูกค้าระดับรองลงมา และระดับลูกค้าทั่วไป ที่ยังมีช่องว่างในตลาดอีกมาก

การมุ่งไปยังลูกค้าทั่วไปที่เป็นระดับ mass และการเป็นรายใหม่ในตลาด ทำให้แจ๊ค ต้องสร้างเครือข่ายช่องทางจัดจำหน่าย และขยายครอบคลุมทั่วประเทศ นอกจากจะทำให้ ชื่อเสียงของสหวิริยาโอเอ แพร่กระจายไปแล้ว ยังเท่ากับเป็นการสร้างจุดแข็งให้กับสหวิริยาโอเอ ในเรื่องของตลาดต่างจังหวัด และการสร้างเครือข่ายการให้บริการ เป็นจุดที่คู่แข่งไม่ได้ให้ความสำคัญมากนัก

แจ๊ค เป็นผู้หนึ่งที่ได้ชื่อว่า สามารถสร้างโอกาสและการเรียนรู้ และทำความเข้าใจ ของตลาดที่เขาไม่คุ้นเคยมาก่อน และด้วยสไตล์การทำงานที่ทุ่มเทให้กับงาน ก็ทำให้แจ๊ค ทำความเข้าใจเรื่องเหล่านี้ได้ไม่ยากนัก

และเป็นจุดหนึ่งทำให้เขาพอจะมองเห็นจุดอ่อนของบริษัทคอมพิวเตอร์ข้ามชาติ ในเรื่องของการไม่มีระบบภาษาไทยให้กับลูกค้า ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นอย่างมากสำหรับเมืองไทย ที่ยังคงใช้ภาษาไทยเป็นหลัก และแจ๊คมองเห็น ช่องว่างเหล่านี้ เขาได้ใช้จุดขายในเรื่องของการทำระบบภาษาไทย ซึ่งได้กลายเป็นก้าวกระโดดที่สำคัญอีกจุดหนึ่ง ในการทำให้สห วิริยาโอเอเติบโตขึ้นไปเรื่อย

การเข้าสู่ตลาดคอมพิวเตอร์ของสห วิริยาโอเอในช่วงนั้น ต้องนับว่าเป็นโชคอย่างหนึ่ง เพราะเป็นจังหวะเดียวกับที่เศรษฐกิจของเมืองไทย กำลังอยู่ในช่วงของการขยายตัว ทำให้เกิดความต้องการใช้ไอทีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

สหวิริยาโอเอ เติบโตขึ้นตามกลไกของ ระบบเศรษฐกิจ และอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ ในเวลานั้น จนมีการแตกขยายธุรกิจออกเป็น 14 บริษัท เพื่อครอบคลุมทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์ แวร์ อุปกรณ์ต่อพ่วง ดูแลระบบ และยังเป็นบริษัทคอมพิวเตอร์ไม่กี่รายที่เข้าจดทะเบียนใน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

การประสบความสำเร็จมาจากการเสาะแสวงหาช่องว่าง และโอกาสใหม่ๆ ประกอบกับเป็นคนไม่อยู่นิ่ง ทำให้แจ๊คไม่รีรอที่จะนำพาสหวิริยาโอเอ ขยายเข้าไปลงทุนในพื้นที่ธุรกิจใหม่ๆ ที่กำลังเติบโตและมีบทบาทมากๆ ในเวลานั้น ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคม หรือธุรกิจมีเดีย ด้วยการเป็นหนึ่ง ในผู้ถือหุ้นของไอทีวี

แต่ธุรกิจเหล่านี้ นอกจากจะเป็นประสบการณ์ใหม่ ที่แจ๊คและสหวิริยาโอเอไม่เคยมีมาก่อน และเป็นธุรกิจที่ต้องใช้เงินทุนสูง หลังฟองสบู่แตก สหวิริยาโอเอ จึงกลายเป็นหนึ่งในผลผลิตของวิกฤติเศรษฐกิจ กับหนี้ระยะ สั้นที่กู้มาลงทุนเพื่อขยายอาณาจักร

แจ๊ค ต้องใช้เวลาในช่วง 4 ปี เพื่อแก้ปัญหาหนี้สินเหล่านี้ ด้วยความพยายามดึงต่าง ชาติเข้ามาซื้อหุ้นของสหวิริยาโอเอ หาเงินมาใช้หนี้ แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ และต้องลง เอยด้วยการตัดสินใจเข้าสู่กระบวนการของศาล ล้มละลาย ด้วยการให้เจ้าหนี้ ทั้งที่เป็นสถาบัน การเงิน และเจ้าหนี้การค้าเข้ามาถือหุ้นรายใหญ่มากกว่า 90%

"ผมเป็นกรณีแรกที่เข้าสู่ศาลล้มละลาย ทั้งๆ ที่เวลานั้นไม่มีใครกล้า เพราะไม่รู้ว่าจะเจออะไร" แจ๊คบอกกับ "ผู้จัดการ" ถึงที่มาของการตัดสินใจเลือกใช้วิธีฟื้นฟูกิจการแทนการยืดชำระหนี้

ช่วงเวลา 4 ปีของการแก้ปัญหา นับเป็นช่วงเวลาของการเงียบหายของเอสวีโอเอต้องเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูธุรกิจ แต่อยู่ภายใต้การควบคุมของเจ้าหนี้ ตัดทิ้งธุรกิจไม่จำเป็น และทำเฉพาะธุรกิจที่ยังมีรายได้ เป็นช่วงเวลาที่แจ๊คเก็บตัวเงียบหายไปจากสังคม

"เหมือนพายุกำลังมา เราก็ต้องหดตัวให้เล็กที่สุด ไม่อย่างนั้นพายุพัดทีเดียวก็พัง" เขาบอกถึงสาเหตุในการเงียบหายของเขาตลอดในช่วง 4 ปีที่สหวิริยาโอเอกำลังแก้ปัญหา "และเมื่อพายุพัดออกไปแล้ว เราก็ต้องทำตัวให้ใหญ่ที่สุด" เขาบอกถึงความพร้อมในการกลับมาโลดแล่นในธุรกิจนี้อีกครั้ง

ในช่วงวิกฤติที่พัดกระหน่ำเอสวีโอเอ แต่ในอีกด้านหนึ่ง กลับเป็นช่วงเวลาของเออาร์ กรุ๊ป ที่แจ๊คเป็นผู้ลงทุน และเป็นเจ้าของกิจการ ด้วยตัวเอง กลับเริ่มเติบโตขึ้นเรื่อยๆ

เออาร์กรุ๊ปที่เขาเริ่มต้นไว้เมื่อ 13 ปีที่แล้ว ไม่แต่เพียงจะทำให้แจ๊คกลับมายืนหยัดได้ อีกครั้ง แต่แจ๊คกลับมาสหวิริยาโอเอ ในฐานะเจ้าของกิจการ

ถึงแม้ว่า แจ๊คจะทุ่มเทอย่างหนักกับสหวิริยาโอเอ มาตลอดในช่วง 17 ปีที่ผ่านมา แต่ในอีกด้านหนึ่งแจ๊ค ก็มีธุรกิจที่มาเติมเต็มในส่วนอื่นๆ ที่นอกเหนือจากธุรกิจคอมพิวเตอร์ และเป็นส่วนที่ทำให้แจ๊คสามารถเรียนรู้ และศึกษาสภาพความเป็นไปของตลาด ที่จะได้จากข้อมูลข่าวสาร

แจ๊คร่วมกับนักวิชาการในวงการคอม พิวเตอร์ ก่อตั้งบริษัทเออาร์ขึ้นในปี 2531 เริ่มต้นด้วยการทำด้านวิชาการ ข้อมูลด้านบัญชี การทำธุรกิจของเออาร์ แม้จะเป็นการทำที่ต่อเนื่อง

การดำเนินงานช่วงนั้นจึงจำกัดในวงอยู่ที่ธุรกิจสิ่งพิมพ์ นิตยสารด้านคอมพิวเตอร์

จนกระทั่ง แจ๊คได้นำองค์กรเออาร์เข้า สู่ธุรกิจบริการข้อมูลออนไลน์ ในปี 2538 ที่ถือเป็นจุดเปลี่ยนเป็นก้าวกระโดดที่สำคัญในเวลา ต่อมา

ระยะเวลากว่า 10 ปีในการทำธุรกิจ ที่ต้องคลุกคลีอยู่กับการทำธุรกิจที่ต้องเกี่ยว ข้องกับลูกค้าที่เป็นภาคธุรกิจ และราชการ เป็น ช่วงจังหวะที่ทำให้แจ๊คเรียนรู้และสร้างสายสัมพันธ์ธุรกิจสัมปทานจากภาครัฐในระดับกว้าง

เออาร์กรุ๊ป ยื่นข้อเสนอขอเป็นผู้รับสัมปทานให้บริการข้อมูลของบริษัทจดทะเบียนจากกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ ภายใต้ชื่อบริษัท บิสซิเนสออนไลน์ หรือบีโอแอล เป็นรากฐานสำคัญของการขยาย ตัวสู่ธุรกิจบริการข้อมูล (content) ของเออาร์กรุ๊ป ที่ต่อมาได้จัดตั้งเป็นกลุ่มเอนิวส์ เพื่อลงทุน ในธุรกิจออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นบริการอินทอร์เน็ต หรือไอเอสพี

วิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นได้ส่งผลให้องค์กรธุรกิจต่างพากันปรับโครงสร้างปรับปรุง องค์กรใหม่ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเข้าสู่อีบิสซิเนส ทำให้เกิดความจำเป็นในการใช้ประโยชน์จากข้อมูล สร้างโอกาสใหักับธุรกิจทางด้านข้อมูล และบริการออนไลน์ ที่กำลังเป็นกระแสของคลื่นลูกใหม่

เป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ฐานข้อมูลที่ บีโอแอลจัดทำขึ้น ซึ่งต้องใช้เวลาในการนำข้อมูลที่นำมาคีย์เข้าคอมพิวเตอร์ เสร็จสมบูรณ์ พอดี และเป็นช่วงที่คู่แข่งที่เป็นเจ้าของ content ที่เป็นสิ่งพิมพ์ ยังอยู่ในภาวะอ่อนแอ และขาด ความพร้อม

เออาร์กรุ๊ป จึงมีค่ามีราคาในสายตานักลงทุน ที่มองเห็นโอกาสจากธุรกิจอินเทอร์เน็ต และธุรกิจออนไลน์

คอสเพอร์โก้ เวนเจอร์แคปปิตอล จาก สวิตเซอร์แลนด์ เป็นรายแรกที่เข้ามาลงทุนในเอนิวส์ จากนั้นได้ทยอยขายหุ้นให้กับแคพเพล เทเลคอมมิวนิเคชั่น

การได้แคพเพล เทเลคอมมิวนิเคชั่น กลุ่มทุนขนาดใหญ่จากสิงคโปร์ ที่มีฐานธุรกิจสื่อสาร และข้อมูล เข้ามาลงทุนในกลุ่มเออาร์ จึงเป็นก้าวกระโดดที่สำคัญของแจ๊คและเออาร์ กรุ๊ป เพราะถึงแม้ว่า บริการข้อมูลของเออาร์เริ่มเป็นที่ต้องการ และความพร้อมของเออาร์กรุ๊ปเพิ่มขึ้นตามลำดับ แต่การขยายตัวของธุรกิจยังทำได้ในขีดจำกัด เพราะขาดแหล่งเงินทุน

และนี่ก็คือ เหตุผลที่ทำให้แจ๊คไม่เพียง แต่ผลักดันให้แคพเพลเข้ามาถือหุ้นทั้ง 40% แทนคอนเพอร์โก้ เวนเจอร์แคปปิตอล จากสวิต เซอร์แลนด์เท่านั้น แต่ยังให้มาถือหุ้นในเออาร์ กรุ๊ป ซึ่งเป็นบริษัทแม่ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ใหม่ของเออาร์กรุ๊ป

จุดแข็งของแคพเพลในสายตาของ แจ๊ค นอกเหนือจากเงินทุนและทรัพยากรแล้ว ระบบการทำงานที่เป็นสากล และเครือข่ายของแคพเพลที่ลงทุนอยู่มากกว่า 30 ประเทศ ไม่เพียงจะสร้างโอกาสให้กับเออาร์กรุ๊ปในประเทศ เท่านั้น แต่ยังขยายไปสู่ภูมิภาค "เวที ของผมไม่ได้อยู่ที่เมืองไทยเท่านั้น"

บริการอินเทอร์เน็ตดาต้าเซ็นเตอร์ของ บริษัทดาต้าวัน บริษัทลูกของแคพเพลที่เข้ามา เปิดสาขาในไทย คือคำตอบหนึ่งของเรื่องนี้ การสร้างเครือข่ายบริการอินเทอร์เน็ต ดาต้าเซ็นเตอร์ ไปทุกประเทศในภูมิภาค ก็คือ การสร้างถนนซูเปอร์ไฮเวย์ ในการลำเลียงข้อมูลไปทั่วภูมิภาคเอเชีย ยังไม่รวมเครือข่ายธุรกิจสื่อสาร และข้อมูลในด้านอื่นของแคพเพล

ความฝันครั้งใหม่ของแจ๊ค คือ การเป็น ผู้วางโครงสร้างพื้นฐานของการทำธุรกิจบนโลก ใบใหม่อยู่บนระบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นตัวเชื่อม อย่างสมบูรณ์แบบ เป็นโมเดลทางธุรกิจใหม่ ไม่ว่าแจ๊ค และองค์กรธุรกิจทุกรายเวลานี้กำลังให้ความสำคัญ

สิ่งที่เออาร์กรุ๊ปต้องทำต่อไป ก็คือ การ สร้างความสมบูรณ์ของระบบหลังบ้าน ระบบรักษาความปลอดภัย ระบบเปย์เมนต์เกตเวย์ ที่เป็นเรื่องของ back office ที่แจ๊คจะต้องใช้เวลาในการเรียนรู้

การเติบโตของเออาร์กรุ๊ป ไม่ได้ทำให้แจ๊คมองเห็นโอกาสทางธุรกิจ ที่จะนำเขาไปสู่โมเดลการทำธุรกิจแนวใหม่ ที่จะมี content เป็นตัวขับเคลื่อนเท่านั้น แต่ยังเป็นโอกาสของการกลับมาฟื้นฟูสหวิริยาโอเออีกครั้ง และการ กลับมาของเขาในครั้งนี้ ทำให้แจ๊คเปลี่ยนจาก ฐานะของลูกจ้าง มาเป็นเจ้าของกิจการ

แจ๊ค ไม่เพียงแต่จะเรียนรู้การใช้วิกฤติ ให้เป็นโอกาสเท่านั้น แต่เขายังเรียนรู้การทำงาน ร่วมกับพันธมิตรอย่างเข้มข้น

การเจรจาขอซื้อหุ้นสหวิริยาโอเอ จาก เจ้าหนี้เกิดขึ้นทันที หลังจากแคพเพลเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเออาร์กรุ๊ป

"ภายในอีก 3 ปีข้างหน้า ผมจะทำให้เอสวีโอเอ กลับมาเป็นที่ 1 ของประเทศให้ได้" คำประกาศของเขากับ "ผู้จัดการ" ที่เขาไม่ได้พูดสิ่งเหล่านี้มาถึง 4 ปีเต็ม

ถึงแม้ว่าเอสวีโอเอจะประสบปัญหาแต่ ประสบการณ์ของการทำธุรกิจยังคงมีอย่างต่อเนื่อง นอกจากจะเกื้อกูลกับโมเดลของธุรกิจอนาคตที่แจ๊ควางไว้ เครือข่ายของแคพเพลในภูมิภาค จะช่วยกอบกู้ให้เอสวีโอเอฟื้นขึ้นมาอีกครั้งได้ไม่ยาก

"ใครก็ตามที่จัดการกับการเปลี่ยน แปลงได้ คนนั้นจะเป็นผู้ชนะ" แจ๊คบอกด้วยท่าทีปลอดโปร่งเต็มที่ หลังจากที่เขาหายหน้าหายตาไปถึง 4 ปี

การจัดการเปลี่ยนแปลงของแจ๊ค ก็คือ การที่เขาตัดสินใจนำสหวิริยาโอเอเข้าสู่กระบวนการล้มละลาย แทนที่จะตัดสินใจยืดหนี้ออกไปเหมือนกับหลายธุรกิจ ผลจากการตัดสินใจครั้งนี้ กลายเป็นโอกาสทำให้ผู้ถือหุ้นใหญ่ของเอสวีโอเอ ก็คือ สถาบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้ ที่พร้อมจะขายหุ้นออกไปได้ตลอด เวลา และนี่คือ ความสามารถในการจัดการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้แจ๊คกลับมาได้อีกครั้ง

และการกลับมาของเขาครั้งนี้ ไม่ได้เปลี่ยนแปลงจากการเป็นมืออาชีพ มาอยู่ในฐานะของเถ้าแก่ ที่อยู่บนเวทีเดิมเท่านั้น แต่เป็นเวทีธุรกิจใหม่ที่ใหญ่กว่าเดิม

การเปลี่ยนจากคนขายฮาร์ดแวร์ มาเป็นคนขายบริการ และขายข้อมูล ขายความรู้ ที่จะมีกลไกและวิธีการทำธุรกิจที่ต้องเปลี่ยน แปลงไปจากเดิม เป็นสิ่งที่เขาต้องเรียนรู้

"เมื่อพายุผ่านไป ผมก็ต้องขยายใหญ่ที่สุด นี่คือสัจธรรม" สำหรับแจ๊คแล้ว การขยายธุรกิจยังเป็นกลยุทธ์ของเขา

แจ๊คอาศัยช่วงจังหวะที่บรรดาเจ้าของสิ่งพิมพ์ที่กำลังวุ่นวายอยู่กับการจัดบ้านของตัวเอง เตรียมออกหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ ภาษาไทย "บิสซิเนสไทม์" ที่จะเป็นการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างแจ๊คและแคพเพล ที่จะทำให้เขาลงลึกเข้าสู่ธุรกิจการทำ content ที่ต้องมีการเรียนรู้อย่างลึกซึ้งที่แจ๊คไม่เคยมีมาก่อน

"ผมไม่ต้องการสร้าง power หรือเหยียบบนหัวไหล่ใคร ผมยอมรับว่าผมเตี้ย ผมต้องการถ่ายทอดด้วยสถิติ ด้วยตัวเลข" เนื้อหาหลักของหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ จะเน้นเนื้อ หาด้านการตลาด และการบริหาร ที่จะใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลที่มีอยู่เดิม มาใช้ในการเป็นความรู้ให้กับผู้อ่านใช้วิเคราะห์สถาน การณ์

จุดแตกต่างอยู่ที่การทำให้เป็นทั้งหนังสือพิมพ์รายวันและรายสัปดาห์ที่รวมอยู่ในฉบับเดียวกัน

ถึงแม้ว่าเขาต้องสร้างกระบวนการเรียนรู้ในสิ่งใหม่ๆ แต่สิ่งหนึ่ง ไม่ได้เปลี่ยนแปลง ก็คือ บุคลิก ความเชื่อ ความขยัน ที่แจ๊คยืนยัน ว่า เขายังเหมือนเดิม

การฟื้นขึ้นมาอีกครั้งของเขา ความกล้า เผชิญหน้ากับความเป็นจริงมาจากการที่เขาเริ่มต้นธุรกิจมาจากไม่มีอะไรในมือ "ผมมาเมืองไทยด้วยกระเป๋าเพียงใบเดียว ภาษาไทยพูดไม่ได้ แต่ก็สามารถสร้างตัวขึ้นมาได้ ด้วยความมีไฟ และความฝัน

เช่นเดียวกับวันนี้ของแจ๊คที่เขายังคงเป็นนักฝัน "dream maker" เช่นเดิม "อย่าลืม ว่า ผมเป็นสถาปนิก ผมต้องสร้างฝัน" และเขากำลังเริ่มต้นอีกครั้งกับความฝันครั้งใหม่ และการใช้ชีวิต เขาใช้เวลาไปกับการทำงานมากขึ้นกว่าเดิม

"ชีวิตต่อจากนี้ ผมคงจะยุ่งมากขึ้นและ ต้องขยันมากขึ้นกว่าเดิมอีก 20 เท่า ผมต้อง sensitive กับการเปลี่ยนแปลง"

นี่ก็คือ ส่วนหนึ่งของเส้นทางของชาวต่างชาติ นักฝันที่กำลังเริ่มต้นอีกครั้ง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us