Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2543
khonthai.com ไม่ได้เป็นแค่เว็บไซต์             
 


   
search resources

khonthai.com




หน่วยงาน ที่ได้ชื่อว่าเก่าแก่ที่สุดอย่าง กรมการปกครอง สังกัดกระทรวงมหาดไทย กำลังทำสิ่งที่ท้าทายในโลกของอินเทอร์เน็ต

"งานของผมคือ เรื่องของคนไทย" ประโยคสั้นๆ ของสุรชัย ศรีสารคาม ผู้อำนวยการศูนย์ประมวลผลการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ที่กำลังทำให้ฐานข้อมูลของคนไทยถูกนำไปใช้ประโยชน์อย่างจริงจัง

เว็บไซต์ khonthai.com คือ ผลพวง ที่เกิดขึ้นจากการใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลของกรมการปกครอง ที่เป็นรูปธรรมที่สุดในเวลานี้

เว็บไซต์นี้ไม่เพียงแต่จะทำให้ประชาชนคนไทยสามารถใช้ประโยชน์เรียกดูข้อมูลทะเบียนของตัวเอง ตั้งแต่บัตรประจำตัวประชาชน ใบสมรส ใบหย่า ใบมรณบัตร รวมทั้งการย้ายบ้าน เปลี่ยนชื่อ นามสกุล

อีเมลแอดเดรสประจำตัวให้กับคนไทยทุกคน ไม่ว่าจะเป็นเด็ก หรือคนแก่ ทุกคนจะสามารถจดทะเบียนขอมี อีเมลประจำตัวเสมือนหนึ่งเป็นเลขบัตรประชาชนในโลกของอินเทอร์เน็ตแล้ว อีเมลนี้จะถูกใช้เป็นส่วนหนึ่งในการขอรหัสส่วนบุคคล ที่จะใช้เรียกเปิดดูข้อมูลของตัวเอง

ผลพวง ที่ได้จากการมีเว็บไซต์นี้ ยังรวมไปถึงการใช้ตรวจสอบสิทธิในการ เลือกตั้ง ผู้ที่ย้ายถิ่นฐานจากต่างจังหวัดมาอยู่กรุงเทพฯ ไม่ต้องรอให้ครบกำหนด 90 วัน จึงจะเลือกตั้งได้อีกต่อไป เพราะข้อมูลที่ออนไลน์ระหว่างสำนักทะเบียน และคณะกรรมการเลือกตั้ง จะรู้ได้ทันทีว่ามีการย้ายบ้านมาจริง ไม่ต้องเสียเวลารอทำเอกสาร ที่ต้องกินเวลา 3 เดือน

สุรชัยเล่าว่า ระบบนี้ยังรองรับไปถึงการให้ประชาชนสามารถกำหนดเขตเลือกตั้งได้ด้วยตัวเอง ต้องการจะไปเลือกตั้ง ที่เขตไหน คนที่อยู่ต่างจังหวัดแต่มาทำงาน ที่กรุงเทพฯ ก็ไม่ต้องลางานกลับไปเลือกตั้งในต่างจังหวัด แต่สามารถใช้สิทธิได้ก่อนการเลือกตั้ง เพียงแต่แจ้งชื่อ เพื่อลงทะเบียนไว้ล่วงหน้าก่อน และระบบยังป้องกันไม่ให้แอบไปเลือกตั้งซ้ำ เพราะข้อมูลถูกบันทึกเอาไว้แล้ว

คนไทย ที่อยู่ต่างประเทศ เวลาเลือกตั้ง สามารถใช้สิทธิเลือกตั้งได้ผ่านอินเทอร์เน็ต ที่สถานทูตไทยของแต่ละประเทศ แม้แต่คนไทยในประเทศก็สามารถเลือกตั้งทางเว็บไซต์ khon thai.com ได้ เพราะจะมี pin code แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับคณะกรรมการเลือกตั้งว่าจะมีนโยบายให้ทำถึงขั้นนี้หรือเปล่า

อีเมลแอดเดรส ที่ให้ประชาชนคนไทยทั้ง 65 ล้านคน มาจดทะเบียนใช้ฟรีจะส่งผลให้ khonthai.com กลายเป็นเว็บไซต์ ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่ง อีเมลแอดเดรสเหล่านี้จะถูกนำไปใช้ประโยชน์ในเรื่องของอี-คอมเมิร์ซ ที่จะใช้เป็นฐานข้อมูลทางการตลาดขนาดใหญ่ เพื่อให้หน่วยงานราชการ และเอกชนนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ในเรื่องบริการ และขายสินค้า เช่น หน่วยงานราชการบางแห่งอาจมีการส่งอีเมลอวยพร วันเกิด หรืออวยพรให้กับคู่สมรส

ด้านของเอกชน จะใช้ประโยชน์จากอีเมลแอดเดรสนี้ไม่ต่างไปจากฐานข้อมูลทางการตลาดที่จะสามารถนำเสนอสินค้า และบริการไปยังกลุ่มเป้าหมายได้ทั่วประเทศ สุรชัยเล่าว่า ข้อมูลอีเมลแอดเดรสจะถูกแยกออกมาเก็บไว้ในเครื่องแม่ข่าย (server) เพื่อให้บริการ ในเรื่องของอี-คอมเมิร์ซโดยเฉพาะ จากนั้น จะต้องหาหน่วยงานของรัฐมารับผิดชอบ เพราะจะต้องมีการเก็บค่าธรรม เนียมกับเอกชนเมื่อมาใช้ฐานข้อมูลเหล่านี้ด้วย

"สมมติว่า เอกชน ที่อยากเสนอขายสินค้าหรือบริการ ก็ส่งข้อมูลมาให้เราว่า ต้องการส่งอีเมลไปถึงกลุ่มเป้าหมายแบบไหน เพศอะไร อายุเท่าไร จำนวนกี่คน ทางหน่วยงานจะเป็นคนส่งอีเมลไปให้กลุ่มเป้าหมายเอง ซึ่งเราจะคิดค่าธรรม เนียมจากเอกชนอีกครั้งหนึ่ง" สุรชัยอธิบายถึงอนาคตของบริการเหล่านี้

แต่กว่าจะมาเป็นเว็บไซต์ khonthai.com ที่จะพัฒนาไปสู่บริการรูปแบบต่างๆ ในโลกของอินเทอร์เน็ตอย่างที่เป็นอยู่ในเวลานี้ กรมการปกครอง จะต้องมีระบบหลังบ้านที่ดีพอ

ผู้อำนวยการศูนย์ประมวลผลการทะเบียน กรมการปกครอง ซึ่งเรียนจบจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เคยเป็นอดีตปลัดอำเภอ และย้ายมาทำงาน ที่แผนกทะเบียน เล่าถึง ที่มาของการนำไอทีมาใช้กับงานทะเบียน จนกลายมาเป็นศูนย์ประมวลผลแห่งนี้ว่า มาจากวิทยานิพนธ์ สมัย ที่เขาไปเรียนต่อระดับปริญญาโท ที่มหาวิทยาลัย Roosewel สหรัฐอเมริกา หลังเรียนจบกลับมา สุรชัยนำวิทยานิพนธ์ ที่ว่าด้วยเรื่องไอทีมาปรับปรุงงานทะเบียน นำเสนอให้กับหน่วยงาน เพื่อขออนุมัติงบประมาณจากคณะรัฐมนตรี และได้อนุมัติมาในปี 2524

งานชิ้นแรกของเขา ก็คือ การนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้ในการกำหนดเลขประจำตัวประชาชน และจากผลงานในครั้งนั้น ได้กลายเป็นรากฐานสำคัญ ที่ถูกพัฒนาขึ้นจนกลายมาเป็นศูนย์ประมวลผลงานทะเบียน ที่ใช้จัดการฐานข้อมูลของคนไทยทุกคน ทะเบียนบ้าน บัตรประชาชน สูติบัตร มรณบัตร ได้ถูกเปลี่ยนการจัดเก็บด้วยเอกสารมาเป็นระบบดิจิตอล

สิ่งที่ตามมาจากการสร้างศูนย์ คอมพิวเตอร์ ก็คือ ออนไลน์ข้อมูลระหว่างศูนย์ประมวลผลกับสำนักงาน ภาคในต่างจังหวัด 9 จังหวัด ส่งผลให้บัตรประชาชนทำได้ในเวลา 10 นาที แทน ที่จะต้องรอถึง 3 เดือน รวม ถึงทะเบียนบ้าน ที่เปลี่ยนเป็นสมุดพกแทน ซึ่งเป็นผลงานเมื่อ 5 ปีที่แล้ว

ปัจจุบันศูนย์ประมวลผลไม่ได้ใช้ประโยชน์แค่ภายในเท่านั้น แต่ฐานข้อมูลเหล่านี้ยังเชื่อมโยงหน่วยงานอื่นๆ ทั้งภาครัฐ ในลักษณะของ extranet ที่จะสามารถเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน ผลที่เกิดขึ้นก็คือ การแจ้ง เกิดของเด็กไทย ที่เกิดในต่างประเทศ สถานทูตไทยในประเทศต่างๆ ก็สามารถจดทะเบียนผ่านหน้าเว็บไซต์ khonthai.com ได้ทันที ในอนาคตการแจ้งเกิด การย้ายทะเบียนบ้าน ก็สามารถทำได้จากหน้าเว็บไซต์นี้

"เด็ก ที่เกิดใหม่ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาจะไม่มีใบเกิด เพราะข้อมูลจะถูก เก็บในคอมพิวเตอร์โดยอัตโนมัติ และในอนาคต การแจ้งเกิดก็สามารถทำได้โดยการเข้าไปจดทะเบียนแจ้งเกิดในเว็บไซต์ khonthai.com"

ระบบ access center ที่จะทำหน้าที่เชื่อมโยง และจัดสรรข้อมูลไปยังเครือข่ายอื่นๆ เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานรัฐ จะใช้โน้ตบุ๊คในการเชื่อมโยงเข้าสู่ฐานข้อมูลศูนย์ประมวลผล แม้แต่ในกรณี ที่คนทำพาสปอร์ตหายในต่างประเทศ สถานทูตไทย ที่สามารถออกพาสปอร์ตชั่วคราว จากหน้าจอเว็บไซต์ khonthai. com ที่จะเข้าไปยังฐานข้อมูลของบุคคล ด้วยรหัสส่วนตัว (pin code) และสามารถพิมพ์เป็นพาสปอร์ตชั่วคราวออกมาได้ทันที

การใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูล ยังรวมไปถึงการเปิดให้เอกชนมาใช้ประโยชน์ได้ด้วย ฐานข้อมูลของคนไทย ดอทคอมยังสามารถรองรับกับเทคโนโลยี wap เพื่อให้ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ ที่มีระบบ wap และเครื่องปาล์มทอป สามารถเช็กข้อมูลทะเบียนของตัวเองได้ผ่านโทรศัพท์มือถือ

น่าเสียดาย ที่การออนไลน์ข้อมูลของสำนักงานเขตเวลานี้ ยังทำได้แค่ศูนย์ ภาค 9 แห่งทั่วประเทศ ตามจังหวัดสำคัญๆ ซึ่งจะครอบคลุมส่วนของงานทะเบียน 505 แห่ง ยังเหลืออีก 572 แห่ง ยังต้องรองบประมาณจากภาครัฐ ที่จะต้องใช้เงินลงทุนสำนักงานละ 4 ล้านบาท

หากการติดตั้งทำได้เสร็จสมบูรณ์ เมื่อใดโอกาส ที่จะเห็นบริการรูปแบบใหม่ๆ ในยุคไซเบอร์สเปซ ก็จะมีให้เห็นมากกว่า ที่เป็นอยู่ คราวนี้จะไม่ได้เป็นแค่ บัตรประชาชน บัตรเอทีเอ็ม ในบัตรเดียวกันเหมือนเวลานี้ แต่จะเป็นทั้งบัตรประกันสังคม บัตรภาษี บัตรเลือกตั้ง บัตรอิเล็กทรอนิกส์เพิร์ช ที่ไว้ใช้จ่ายซื้อสินค้า และบัตรเครดิตในบัตรเดียวกัน แต่การจะออกมาในลักษณะนี้ได้จะต้องรอให้การออนไลน์ไปยังสำนักงาน ที่เหลือเสร็จสมบูรณ์ก่อน

ที่ขาดไม่ได้ก็คือ จำนวนผู้ใช้ อินเทอร์เน็ต ที่ยังจำกัด ทั้งในเรื่องของโครงข่ายโทรศัพท์ และจำนวนพีซี ที่ยังจำกัดอยู่ ความหวังของสุรชัย ก็คือ การขยายอินเทอร์เน็ตประจำตำบล ที่จะเป็นส่วนหนึ่งให้เกิดการขยายในเรื่องการใช้อินเทอร์เน็ตมากขึ้น

สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เกิดขึ้นมาแล้วในหลายประเทศ และไทยกำลังเป็นอีกประเทศหนึ่งในประเทศเหล่านี้ ประโยชน์ ที่เกิดขึ้น ไม่ใช่แค่หน่วยงานรัฐจะลดความสิ้นเปลืองในการใช้เอกสาร คนไทยจะได้รับความสะดวกในการให้บริการ ผลที่ตามมาก็ คือ ประสิทธิภาพของการบริการ และคนไทยในอนาคต

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us