Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2544
อดิเรก วัฏลีลา หนังไทยไปขายนอก             
 

   
related stories

ข้อมูลบุคคล อดิเรก วัฏลีลา

   
search resources

อดิเรก วัฎลีลา




เมื่อปี พ.ศ.2543 ฟ้าทะลายโจร ภาพ ยนตร์ของค่ายบางกอกฟิล์ม ซึ่งเนื้อเรื่องธรรมดาๆ ประเภทรักซ้อนซ่อนเงื่อน เพื่อนทรยศ แต่ถูกดีไซน์ด้วยสไตล์ย้อนยุคที่หลายคนบอกว่าสุดแสนเชย กลายเป็นหนังอาร์ตที่สวยงาม โดนใจชาวต่างประเทศ

เป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่ได้รับเลือกให้ไปฉายในเทศกาลภาพยนตร์ที่เมืองคานส์ประเทศฝรั่งเศส และได้เข้าชิงในสาขา UN CERTRAIN REGRED (หนังที่น่าจับตามอง) รวมทั้งได้รับรางวัล Dragons & Tigers Award จากเทศกาลภาพยนตร์ Vancouver Interna-tional Film Festival ครั้งที่ 19 ณ ประเทศ แคนาดา

และเป็นครั้งแรกของวงการภาพยนตร์ ไทยอีกเช่นกันที่ทางบริษัท MIRAMAX ค่ายหนังยักษ์ใหญ่จากฮอลลีวูด ได้ซื้อลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ไปจัดจำหน่ายเกือบทั่วโลก

ช่วงเวลาของปีเดียวกัน ฟิล์มบางกอก ส่งภาพยนตร์อีก 2 เรื่องออกมาประกาศ ความไม่ธรรมดาของค่ายนี้ คือ "BANGKOK, DANGEROUS" และ "บางระจัน"

ฟิล์มบางกอก เป็นบริษัทในเครือของ บีอีซีเวิลด์ ที่มีช่อง 3 เป็นผู้ถือหุ้น เกิดขึ้นในวง การภาพยนตร์ไทย เมื่อปี 2542 โดยมี อดิเรก วัฎลีลา เข้าไปนั่งเก้าอี้ผู้บริหารในตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการ

ชีวิตของอดิเรก หรือ "อังเคิ่ล" เป็นตัวละครในหนังไทยได้ดีทีเดียว เพราะระยะเวลากว่า 20 ปีของชีวิตที่คลุกคลีอยู่ในแวดวงภาพยนตร์ไทย เรียกได้ว่าเมื่อเริ่มเดินกล้องสั่งแอคชั่นก็มันแล้วจากเด็กช่างกล ของจังหวัดสุพรรณคนหนึ่งที่รับจ้างเขียนโปสเตอร์หนังจีนเป็นอาชีพ และมีความฝันที่จะทำหนังอย่างที่ตัวเองคิดสักเรื่องหนึ่ง ทั้งที่มีเงินอยู่ในมือ เพียง 7,000 บาท

จนกระทั่งวันหนึ่งวิสูตร พูลวรลักษณ์ จากค่ายไท เอนเตอร์เทนเม้นท์ ที่ได้เงินจาก อาม่า 3 ล้านบาท แล้วเอามาให้เขากับธนิตย์ จิตนุกูล เพื่อนรักอีกคนหนึ่งร่วมกันทำหนัง และหนังเรื่องแรกคือ "ซึมน้อยหน่อย กะล่อน มากหน่อย" นั้นประสบความสำเร็จอย่างมาก

จากค่ายไท มาเป็นโปรดิวเซอร์ให้กับบริษัทอาร์เอสฟิล์มของค่ายเพลงดัง จนกระทั่งเข้ามาเป็นผู้บริหารให้กับบริษัทฟิล์มบางกอก บริษัทหนึ่งที่มีความพร้อมทั้งเรื่องเงินทุนและทีมงาน

วันนี้ในฐานะของผู้บริหารบริษัท บทบาทของอังเคิ่ลได้เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง จากต้องคอยกำกับหนังกินนอนไม่เป็นเวลาหัวยุ่งอยู่ในห้องตัดต่อ เขากลับมีห้องทำงาน ใหญ่อยู่บนชั้น 16 ของดิเอ็มโพเรียมทาวเวอร์ เบื้องหน้าอาจไม่มีฟิล์มหนัง แต่มีแฟ้มสูงเกือบ ท่วมหัว กำลังคอยให้เขาเซ็นชื่ออนุมัติตั้งแต่เรื่องเล็กๆ ซื้อฟิล์มไม่กี่ม้วน ไปจนถึงเรื่องใหญ่การทำแผนการตลาดขายต่างประเทศ

"นางนาก" หนังไทยเรื่องแรกของค่าย ไท เอนเตอร์เทนเม้นท์ ที่ประสบความสำเร็จ ในการขายหนังให้สายต่างประเทศ เป็นส่วน หนึ่งที่ทำให้อดิเรกให้ความสำคัญในการทำตลาดต่างประเทศอย่างมากๆ

เขากล่าวกับ "ผู้จัดการ" ว่า "ทุกวันนี้ กระแสของโลกตะวันออกที่กำลังมาแรง เรา เองกำลังขายความเป็นไทย ขายความแปลก ใหม่ให้ชาวต่างประเทศดู และเป็นโอกาสของ บริษัท เพราะเราทำหนังทีละหลายเรื่อง เรามีเงินทุน เราจำเป็นต้องฉวยโอกาสนี้ไว้เพราะ เราไม่สามารถรู้ได้ว่ากระแสนิยมนี้จะอยู่ได้นานแค่ไหน สักวันมันต้องเปลี่ยนไปแน่นอน"

อดิเรกเริ่มวางแผนทำการศึกษา วิจัย เกี่ยวกับตลาดหนังไทยในต่างประเทศ ค้นหา ว่าหนังประเภทไหนที่น่าจะได้รับความสนใจ มีการติดต่อทำความรู้จักกับตัวแทนขายหนัง ของประเทศต่างๆ อย่างจริงจัง ศึกษาดูว่าตัวแทนแต่ละกลุ่มแต่ละประเทศถนัดในการขายหนังประเภทไหน รวมทั้งหาวิธีการทำงาน ร่วมกันในการช่วยกันโปรโมตหนัง เช่นเข้าร่วมส่งประกวดหนังในเทศกาลต่างๆ ซึ่งด้วยวิธีการนี้หากโชคดีหนังกวาดรางวัลได้ ก็สามารถกำหนดราคาหนังได้สูงขึ้นเช่นกัน

ทุกเรื่องเป็นสิ่งใหม่ที่ต้องเข้ามาเรียน รู้และศึกษาใหม่หมด โดยมีสง่า ฉัตรชัยรุ่ง เรือง ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด เข้ามาดูแล งานทางด้านนี้

ถึงแม้ ฟ้าทะลายโจร ฝีมือกำกับของ วิศิษฐ์ ศาสนเที่ยง และบางกอกแดนเจอรัส จะสร้างรายได้ในเมืองไทยไม่ดีเท่าบางระจัน ที่ถูกบันทึกไว้ว่าเป็นหนังที่ทำรายได้สูงสุดถึง 151 ล้านบาท แต่สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นและกำลัง เป็นที่จับตามองของทุกคนในวงการ ก็คือ หนังทั้ง 3 เรื่องได้ถูกวางแผนอย่างเป็น กระบวนการในการทำตลาดในต่างประเทศอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในเมืองไทย

ภาพยนตร์ทั้ง 3 เรื่องถูกเดินสายประกวดในเทศกาลภาพยนตร์ต่างๆ เช่น ใน เมืองโดวิลล์ เมืองคานส์ ประเทศฝรั่งเศส รัฐซีแอตเติลในสหรัฐอเมริกา ในมอสโคว์ประเทศรัสเซีย และในเทศกาลหนังที่ฮ่องกง และอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง

บางกอกอันตราย หนังอาร์ตอีกเรื่องหนึ่ง จากฝีมือการกำกับของอ๊อกไซด์-แดนนี่ แปง ได้รับรางวัล International Critics Award (Fipresci) จากเทศกาลภาพยนตร์ Toronto International Film Festival ครั้งที่ 25 ประเทศ แคนาดา

ส่วนบางระจันได้รับรางวัล Lotus Du Meilleur Realisateur (The Best Film Maker) ผู้กำกับยอดเยี่ยมจากเทศกาลภาพยนตร์ Festival Du Film Asitique De Deauville ณ ประเทศฝรั่งเศส และเป็นภาพยนตร์ที่ได้รับเชิญเข้าร่วมประกวดในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติ ที่ซีแอตเติล ประเทศสหรัฐอเมริก

ฟ้าทะลายโจรนั้นนอกจากยักษ์ใหญ่ มิราแมกซ์ซื้อลิขสิทธิ์ไปยังมีการขายลิขสิทธิ์ให้กับบริษัทในประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส อิตาลี และญี่ปุ่นอีกด้วย

บางกอกอันตรายขายให้กับบริษัท ใน แคนาดา อังกฤษ โซเวียต และญี่ปุ่น สำหรับ บางระจันบริษัทที่ซื้อลิขสิทธิ์ไปแล้วคือ Scan Box ประเทศสแกนดิเนเวีย NPV ประเทศโปแลนด์ และบริษัทในประเทศเกาหลีใต้

ประมาณกลางเดือนกรกฎาคม 2544 ตัวเลขล่าสุดที่ฟิล์มบางกอกทำรายได้จาก ฟ้าทะลายโจร คือ 1.2-1.5 ล้านเหรียญสหรัฐ บางกอกอันตรายประมาณ 7-8 แสนเหรียญ ส่วนบางระจันซึ่งเริ่มขายสายหนังไปเพียงเดือนเดียว ทำรายได้ไปแล้ว 3 แสนเหรียญ และทางบริษัทยังมีสิทธิ์ได้รับส่วนแบ่งจากหนังแต่ละเรื่องอีกครึ่งหนึ่ง หากทำราคาได้ถึงเพดานที่กำหนด

แม้วันนี้อดิเรกไม่มีโอกาสที่จะกำกับภาพยนตร์เอง แต่มีอำนาจในการเลือกเรื่องเอง ดูบทเอง และเขาก็พอใจที่จะเข้ามารับบทบาทนี้เพื่อเป็นตัวกลางที่จะเชื่อมต่อระหว่างคนทำหนังกับนายทุน

"การทำหนังด้วยใจรักอย่างเดียวไม่มี ทางรวยเหมือนนักประพันธ์ที่ไส้แห้ง ผมตั้งใจ จะทำหนังที่ได้รับรางวัลจากเมืองคานส์สักเรื่องหนึ่ง และหลังจากนั้นจะทำหนังที่ทำเงินอย่างเดียว" นั่นคือความฝันของเขา

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us