เขาเป็นลูกชายคนโตของวานิช ไชย วรรณ ซึ่งถูกวางตัวไว้ตั้งแต่ต้นว่าจะต้องเป็น
ผู้เข้ามาสืบทอดกิจการที่รุ่นพ่อสร้างไว้ให้คงอยู่บนเวทีธุรกิจของไทยต่อไปในอนาคต
เขาจึงถูกบ่มฟักตั้งแต่เด็ก จนกระทั่ง จบการศึกษาว่า เป้าหมายในการทำงานจะต้องเข้ามาอยู่ที่บริษัทไทยประกันชีวิต
ไชย ไชยวรรณ เริ่มเข้าทำงานในไทย ประกันชีวิต ตั้งแต่อายุ 25 ปี หลังจบการศึกษาจากประเทศอังกฤษ
เส้นทางของเขา เฉกเช่นเดียวกับทายาทที่ต้องเข้ามารับภาระในการสืบทอดกิจการต่อจากรุ่นพ่ออีกหลายๆ
คน คือต้องเริ่มเข้ามาเรียนรู้งานตั้งแต่ระดับล่าง แล้วค่อยๆ ศึกษาลึกเข้าไป
จนถึงระดับบริหาร และการกำหนดนโยบายสูงสุด
แต่กรณีของไชย เขามีความแตกต่าง จากคนอื่นอยู่บางประการ เพราะในขณะที่เขากำลังศึกษางานภายในบริษัทไทยประกัน
ชีวิต เขาก็ยังได้ใช้เวลาศึกษาลู่ทางการลงทุน ในธุรกิจอื่นๆ ควบคู่ไปด้วย
และเมื่อพบลู่ทางที่น่าสนใจ เขาก็อาศัยฐานเงินทุนที่แน่นหนาของบริษัท นำเงินไปลงทุนในธุรกิจดังกล่าว
ดังนั้นโครงสร้างของกลุ่มไทยประกัน ชีวิต ในช่วงที่ไชยเข้ามามีบทบาท จึงแตกต่าง
จากกลุ่มธุรกิจการเงินอื่นๆ ตรงที่มีการวางโครงข่ายการขยายตัวออกไปยังธุรกิจที่หลากหลาย
"จริงๆ แล้ว กลุ่มเราจะแยกธุรกิจออกไปอย่างหลากหลาย คือมีทั้งธุรกิจประกัน
ชีวิต ประกันวินาศภัย ประกันสุขภาพ อีกกลุ่มหนึ่งคือธุรกิจทางด้านโรงแรม
ด้าน อพาร์ตเมนต์ที่มีให้เช่าทั้งในและต่างประเทศ อีกกลุ่มเป็นด้านสุรากับเบียร์"
เขาเคยอธิบายไว้
เห็นได้ว่าแต่ละธุรกิจในกลุ่ม มิได้อยู่ ในไลน์เดียวกัน ตรงข้ามกลับมีความแปลกแยกออกจากกันอย่างสิ้นเชิง
model นี้ เคยมีหลายคนใช้กันมาก ในยุคก่อนฟองสบู่แตก เนื่องจากเป็นช่วงที่เงินหาง่าย
ใครคิดอยากจะทำอะไรก็สามารถ ทำได้โดยใช้เวลาในการตัดสินใจไม่นานมาก
แต่ลักษณะการลงทุนของกลุ่มไทยประกันชีวิตในช่วงที่ไชยเข้ามามีบทบาท ไม่เป็นเช่นนั้น
เพราะการขยายไลน์ธุรกิจออกไป มีการวางแผน ศึกษาข้อมูลกันไว้เป็นอย่างดี
ที่สำคัญคือเงินที่นำไปลงทุนนั้น เป็นการลงทุนอย่างมีวินัย ไม่มีการโยกย้ายเงินจากธุรกิจหนึ่งไปสู่อีกธุรกิจหนึ่ง
ซึ่งจะส่งผลกระทบไปถึงภาพรวมทั้งกลุ่ม ยามเกิดวิกฤติ
บทบาทของบริษัทไทยประกันชีวิต ใน ยุคของไชย จึงทำหน้าที่คล้ายผู้จัดการกอง
ทุน ที่นำเงินเข้าลงทุนในธุรกิจที่มีอนาคต
"ตอนเกิดวิกฤติ ธุรกิจในกลุ่มของเรา ไม่ได้รับผลกระทบมากนัก" เขาบอก
ผลทางลบที่เป็นรูปธรรมที่สุดที่กลุ่มไทยประกันชีวิตได้รับในช่วงวิกฤติ
คือการถูกทางการสั่งปิดบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ไทยเม็กซ์
แต่ในทางตรงข้าม เมื่อมองภาพรวมทั้งกลุ่มแล้ว ผลจากวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น
กับกลุ่มไทยประกันชีวิต กลับกลายเป็นในเชิง บวก
‘ ในธุรกิจประกันชีวิตได้รับผลกระทบเล็กน้อย เพราะกำลังซื้อที่ลดลง ทำให้
อัตราส่วนคนทำประกันชีวิตลดลงตามมาด้วย อย่างไรก็ตาม ช่วงที่ผ่านมาบริษัทไทยประกัน
ชีวิต ยังคงครองอันดับ 2 รองจากเอไอเอได้อย่างต่อเนื่อง ดูจากตัวเลขเบี้ยประกันภัยรับช่วง
4 เดือนแรกของปีนี้ ที่มีส่วนแบ่งการตลาด 19.14% รองจากเอไอเอ ซึ่งครองส่วนแบ่งตลาดส่วนใหญ่
49.67%
‘ ธุรกิจโรงแรม ได้รับผลดีจากค่าเงิน ที่ลดลง โดยในปี 2542 ธุรกิจโรงแรมในกลุ่มไทยประกันชีวิต
มีอัตราการเข้าพัก 80% ได้เพิ่มขึ้นมาเป็น 82% ในปี 2543 และค่าห้องพักเฉลี่ยในปี
2542 ห้องละ 942 บาท เพิ่มขึ้นมาเป็น 1,059 บาท ในปี 2543
‘ ธุรกิจเบียร์ เป็นธุรกิจที่มีอัตราการ เจริญเติบโตสูงที่สุดในกลุ่ม โดยเพิ่มสูงขึ้น
79% ในช่วงที่เกิดวิกฤติ เบียร์ไฮเนเก้นของเขา สามารถครองส่วนแบ่งตลาดอยู่ในระดับต้นของเบียร์เกรดพรีเมียม
ขณะเดียวกันเขาได้ตัดสินใจออกเบียร์อัมสเทลเพิ่มขึ้นมาอีก 1 แบรนด์ เพื่อขยายตลาดลงสู่ระดับล่าง
และจัดได้ว่าประสบความสำเร็จพอสมควร โดยอัมสเทลสามารถจับตลาดกลุ่มวัยรุ่นที่มีความ
นิยมในกีฬาไว้ได้
เขาเคยอธิบายเรื่องอัตราการเติบโตของธุรกิจเบียร์ไว้ว่า เนื่องจากผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
เพราะกำลังซื้อที่ลดลง "เมื่อก่อนคนเคยดื่มไวน์ หรือวิสกี้ ก็เปลี่ยนมาเป็นเบียร์แทน"
ปัจจุบัน แม้ว่าธุรกิจจะขยายตัวออกอย่างหลากหลาย แต่ไชยก็ยังใช้เวลาส่วนใหญ่
ทำงานให้กับบริษัทไทยประกันชีวิต เพราะนอกจากจะเป็นธุรกิจดั้งเดิมของครอบครัวแล้ว
ยังเป็นธุรกิจแกนหลักของกลุ่มและที่สำคัญที่สุดคือ เป็นบริษัทที่มีผลประกอบการดี
ปัจจุบัน ไชยมีอายุเพียง 44 ปี เขายังมีเวลาศึกษาโอกาส และลู่ทางการลงทุนให้กับไทยประกันชีวิตได้อีกมาก