Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2544
ชาติศิริ โสภณพณิช ได้วิกฤติเป็นบทเรียน             
 


   
search resources

ธนาคารกรุงเทพ, บมจ.
ชาติศิริ โสภณพนิช




การที่ธนาคารกรุงเทพ สามารถประคองตัวอยู่ได้ ท่ามกลางความผันแปรทาง เศรษฐกิจในช่วง 4 ปีเศษที่ผ่านมา น่าจะเป็น บทพิสูจน์ความสามารถของชาติศิริ โสภณพนิช ได้ระดับหนึ่งแล้วว่า การก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ของเขา เมื่อ 7 ปีก่อน ไม่ได้มีเหตุผลจากความเป็นลูกชาย คนโตของชาตรี โสภณพนิช เพียงอย่างเดียว

ช่วง 4 ปีที่ผ่านมานี้ ชื่อของชาติศิริปรากฏเป็นข่าวตามสื่อมวลชนต่างๆ ค่อนข้างน้อย ทั้งที่ความเคลื่อนไหวของธนาคารกรุงเทพ ธนาคารพาณิชย์ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ย่อมเป็นที่สนใจของคนส่วนมาก

"เขาทำงานหนักอยู่เงียบๆ ชอบออก ไปพบปะเจรจาธุรกิจกับลูกค้าด้วยตัวเอง" คนในวงการธนาคารพาณิชย์ผู้หนึ่งบอกกับ "ผู้จัดการ"

ชาติศิริถูกแต่งตั้งให้เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2537 หลังจาก ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย ปฏิเสธไม่ขอรับตำแหน่งต่อ หลังสิ้นสุดการลาพักร้อน 6 เดือน เนื่องจากความเครียด

ตอนขึ้นรับตำแหน่ง เขาเพิ่งมีอายุไม่ครบ 36 ปีเต็ม จัดว่าเป็นนายธนาคารที่หนุ่ม มากที่สุดคนหนึ่งในยุคนั้น

ชาตรี ผู้เป็นพ่อได้กล่าวถึงการเข้ารับ ตำแหน่งของชาติศิริว่า ทำให้เขาต้องเสียโอกาสในการเรียนรู้งานอีกหลายด้าน เพราะ ลักษณะงานของกรรมการผู้จัดการใหญ่ ต้อง ดูภาพกว้าง ตัดสินใจจากรายงานที่ได้รับ โอกาสที่จะไปพบปะเพื่อนฝูงในรุ่นเดียวกัน ก็น้อยลง

"ผมว่าเขาเสียสละมาก" ชาตรีบอก

ความที่ต้องเข้ามารับภาระอันหนักหน่วง ในขณะที่อายุยังน้อย ทำให้ชาติศิริต้องทำงานหนัก แต่ก็โชคดีที่ในธนาคารกรุงเทพ ยังมีผู้หลักผู้ใหญ่หลายคนที่คอยให้ การสนับสนุน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โฆสิต ปั้น เปี่ยมรัษฎ์ ประธานกรรมการบริหาร เดชา ตุลานันท์ และที่สำคัญที่สุดคือพ่อของเขาเอง

"เขาเป็นคนที่มีบุคลิกอ่อนน้อม แม้ว่า จะเป็นถึงลูกชายของผู้ถือหุ้นใหญ่ แต่เวลาเข้าหาผู้ที่มีอาวุโสกว่า เขาก็แสดงท่าทีว่าพร้อมรับฟังคำชี้แนะเสมอ"

4 ปีที่ผ่านมา จัดได้ว่าเป็นช่วงที่ชาติศิริได้ถูกหล่อหลอมแนวความคิด จากบุคคลที่มีความรู้และประสบการณ์อย่างหลากหลาย ที่สำคัญที่สุดคือมุมมองในการแก้ปัญหาเวลาเผชิญกับวิกฤติ

จากผลขาดทุนอย่างรุนแรง ในช่วงปีแรกหลังมีการลอยตัวค่าเงินบาท ธนาคารกรุงเทพเริ่มกลับมามีกำไรได้อีกครั้ง จากผลประกอบการ 6 เดือนแรกปีนี้ ที่เพิ่งประกาศผลกำไรออกมา 3,386 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน ซึ่งขาดทุน 22,154 ล้านบาท

แม้ตัวเลขดังกล่าว ยังไม่ได้แสดงทิศทางอย่างชัดเจนถึงการพลิกฟื้นฐานะของ ธนาคาร เพราะปัญหาเศรษฐกิจโดยรวมยังอยู่ในภาวะตกต่ำ แต่ก็แสดงให้เห็นสัญญาณ ประการหนึ่งว่า ณ ปัจจุบันนี้ ธนาคารกรุงเทพ น่าจะผ่านพ้นช่วงภาวะที่วิกฤติที่สุดมาได้แล้ว

ปีนี้ ชาติศิริเพิ่งจะมีอายุ 42 ปี เขา ยังมีเวลาในการบริหารธนาคารกรุงเทพไป ได้อีกหลายปี การที่เขาต้องเผชิญกับวิกฤติ ในช่วงไม่กี่ปีแรก หลังขึ้นเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ น่าจะเป็นบทเรียนสำคัญต่อการ ทำงานช่วงหลังจากนี้ไปมีความราบรื่น และกลุ่มผู้หลักผู้ใหญ่ในธนาคารที่ให้การสนับ สนุนเขามาตลอด ก็น่าจะวางมือได้อย่างสบายใจมากขึ้น

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us