เขาเป็นหนึ่งในมืออาชีพ ที่สามารถสะท้อนภาพความเป็นนักวางกลยุทธ์ที่มีบทบาท
ต่อธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคม ในยุคที่ต้องเดินเข้าสู่เส้นทางของการแข่งขันอย่างเข้มข้น
บุญคลีเป็นผลผลิตจากคณะวิศวกรรม ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แหล่งผลิตบุคลากรจำนวนมาก
ที่อยู่ร่วมในองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และการสื่อสารแห่ง ประเทศไทย
รัฐวิสาหกิจที่เป็นกลไกของศูนย์ กลางอำนาจด้านโทรคมนาคม และมีบทบาทในสังคมไทยช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมา
หลังเรียนจบมาด้วยเกียรตินิยมอันดับ หนึ่ง บุญคลีสอบชิงทุนบินไปเรียนต่อวิศวกรรม
คอมพิวเตอร์ ที่ยูนิเวอร์ซิตี้ออฟอิลินอยส์ เริ่มงานเป็นนายช่างที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิต
3 ปี ก่อนจะย้ายไปเป็นนายช่างโท ที่กรมไปรษณีย์โทรเลข จากนั้นมาทำงานที่การสื่อสารแห่งประเทศไทย
แหล่งบ่มเพาะความรู้ด้านโทร คมนาคมระดับกว้างให้กับเขา
บุญคลีเป็นข้าราชการที่เกือบจะเป็นชุดสุดท้ายที่ลาออกมาร่วมงานกับเอกชนในยุคตลาดกำลังบูม
และเขาเป็นข้า-ราชการเพียงไม่กี่คน ที่ถูกเลือกขึ้นมาเป็นผู้นำในองค์กรที่กำลังเตรียมพร้อม
สำหรับการวางรากฐานองค์กรธุรกิจแบบใหม่
ผลงานที่สะท้อน ความเชี่ยวชาญในธุรกิจสัมปทานของเขา ก็คือการ ต่ออายุสัมปทานโทรศัพท์มือถือจากเอไอเอส
เป็น เวลา 25 ปี และเปลี่ยนแปลงข้อตกลงการจัดทำสมุดหน้าเหลืองจากระบบสัมปทานไปเป็น
การร่วมทุนกับภาครัฐ
ทั้งหมดนี้ ล้วนแต่เป็นใบเบิกทางและ ทำให้เขาได้กลายเป็นผู้นำในองค์กรที่กำลัง
ก้าวไปสู่การเปลี่ยนแปลงในหลายแง่มุม
เขาได้โปรโมตขึ้นเป็นแม่ทัพในยุคที่ชินคอร์ปกำลังเผชิญหน้ากับความยากลำบาก
จากทั้งสภาพของเศรษฐกิจตกต่ำอย่างหนัก และแข่งขันเสรีที่จะเกิดขึ้นกับธุรกิจโทรคมนา
คมในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า
หลายปีมานี้ บุญคลีพยายามทุ่มเทอย่างหนักไปกับการเรียนรู้ธุรกิจในแง่มุมต่างๆ
อย่างทะลุปรุโปร่ง และผลงานที่น่าจะเป็นบทสะท้อนของการจัดการธุรกิจ และการเข้าใจธุรกิจได้อย่างลึกซึ้ง
กรณี ไอบีซีเคเบิลทีวีเป็น กรณีศึกษาที่ทุกวันนี้เจ้าตัวก็ยังไม่ยอมเปิดเผย
รายละเอียด
บุญคลีรู้ดีว่าภารกิจที่สำคัญของเขา อยู่ที่การเตรียมความพร้อมขององค์กร
ที่ต้องเข้าสู่กฎเกณฑ์และกติกาใหม่ ผลจากการเปิดแข่งขันในโลกเสรีที่จะมีขึ้น
ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า
ไม่เพียงแต่การนำเอาระบบจัดการสมัยใหม่มาใช้ เพื่อสร้างความพร้อมขององค์กรในระดับสากลช่วงวิกฤติเศรษฐกิจที่ผ่านมา
ชินคอร์ปยังอาศัยความแข็งแกร่งเมื่อเทียบกับธุรกิจสื่อสารด้วยกัน สร้างโอกาสใหม่ๆ
ให้กับตัวเอง ทั้งธุรกิจอินเทอร์เน็ต โทรทัศน์และโทรศัพท์มือถือ
อย่างไรก็ตาม แม้จะมองเห็นถึงความจำเป็นของโมเดลทางธุรกิจ ที่ต้องมีธุรกิจอินเทอร์เน็ตได้ทะลุปรุโปร่งเพียงใด
แต่อินเทอร์เน็ตยังเป็นประสบการณ์ใหม่ของชินคอร์ปและ เป็นเรื่องยากที่จะหาคำตอบได้ลงตัว
สำหรับบุญคลี การจับมือกับเอ็นทีที คอมมูนิเคชั่น เพื่อเข้าสู่ธุรกิจ Internet
data center จึงไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาที่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงทางธุรกิจเท่านั้น
และชินคอร์ปจะได้ประสบการณ์และการเรียนรู้ในธุรกิจ IDC ในเมืองไทยจากเอ็นทีที
บุญคลียังเชื่อว่า นี่คือ การสร้างความพร้อมสำหรับอนาคตหลังการเปิดเสรี
การเติม เต็มช่องว่างในส่วนที่ชินคอร์ปยังขาดอยู่ นั่นคือ บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ
นัยของการเป็นผู้ให้บริการ ไอดีซี ไม่ได้อยู่ที่การเป็นผู้เล่นในธุรกิจไอเอสพีเท่านั้น
แต่ยังหมายถึงการเป็นเจ้าของเกตเวย์ระหว่างประเทศ ที่ครอบคลุมการให้บริการไปทั่วโลก
ความเป็นเจ้าของเครือข่าย Global network เครือข่ายไฟเบอร์ออพติกของเอ็นทีที
ที่ครอบคลุมอยู่ทั่วโลก คือ คำตอบของการ เตรียมพร้อมสำหรับอนาคต
เอ็นทีที ไม่ได้เป็นเจ้าของเครือข่าย IDC ที่จะต้องมีเครือข่ายครอบคลุมอยู่ประเทศในภูมิภาคเอเชีย
ที่ผ่านมาเอ็นทีทีได้เข้าไปซื้อกิจการของบริษัท verio ซึ่งทำธุรกิจ ISP อยู่ในสหรัฐอเมริกา
ซึ่งจะทำให้เครือข่ายของไฟเบอร์ ออพติกของเอ็นทีทีครอบคลุมไปทั่วโลก
การร่วมมือกับเอ็นทีที ย่อมหมายความ ว่า ภายหลังจากเปิดเสรีโทรคมนาคม ชินคอร์ป
จะเป็นองค์กรที่มีเครือข่ายสื่อสารที่สมบูรณ์ที่สุดทางหนึ่ง นอกเหนือไปจากดาวเทียมและ
เป็นเครือข่ายที่จะสามารถให้บริการได้ทั้งข้อมูล ภาพ เสียง และวิดิโอ
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าใน ช่วง 2 ปีมานี้ บุญคลีจะช่วงชิงโอกาสทางธุรกิจอย่างเข้มข้น
ไม่ว่าจะเป็น การซื้อกิจการไอทีวี ที่เป็นเรื่อง ของการลงทุนทางธุรกิจ เป็นความต้องการในการสร้าง
content ในอนาคต ซึ่งธุรกิจนี้ยังอยู่ในช่วงของการเรียนรู้ และแสวงหาประสบการณ์
แต่โทรศัพท์มือถือก็ยังคงเป็นภารกิจที่สำคัญและเร่งด่วน ที่สุดสำหรับเขา
มูลค่าของ อุตสาหกรรมโทรศัพท์มือถือที่จะเติบโตขึ้นอีกหลายเท่าตัว อันเป็นผลมาจากการแข่งขัน
ที่จะเกิดจากการแข่งขันกับ ดีแทค และซีพีออเรนจ์ ที่จะทำให้ราคาของเครื่องลูกข่าย
ถูกลง เอไอเอสเองได้คาดหมายว่า จะมีผลกำไรเพิ่มขึ้นเป็น 7,000 ล้านบาท จากปีที่แล้วที่ทำได้
4,000 ล้านบาท
ดีลครั้งล่าสุดของการซื้อหุ้นทั้งหมด ของ TMI Mauritius ซึ่งเป็นบริษัทลงทุนของ
เทเลคอมมาเลเซีย ที่ถือหุ้นอยู่ในบริษัทดิจิตอล โฟน ซึ่งเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือระบบ
GSM 1800 คือคำตอบของเรื่องนี้
แม้ว่าเขาจะต้องใช้เวลาถึง 8 เดือนเต็ม ในการเจรจากับเทเลคอมมาเลเซียก็ตาม
แต่มีความหมายต่อการกำหนดยุทธศาสตร์ที่สำคัญของเอไอเอส นับจากนี้
ดีลของการรวมกิจการในครั้งนี้ สำหรับ บุญคลีแล้ว "เหมือนกับการรวมกิจการ
ระหว่าง ไอบีซี และยูทีวี"
ผลจากการควบรวมกิจการของดีพีซีมารวมในเอไอเอส ไม่ได้ทำให้เอไอเอสลดจำนวนคู่แข่งลงไปได้อีกรายเท่านั้น
แต่ยังได้กลายเป็นเจ้าของคลื่นความถี่ 1800 ที่จะเข้ามา เสริมให้กับการบริการในเขตเมืองให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
เท่ากับเป็นการเพิ่มความแข็งแกร่งในการกำหนดยุทธศาสตร์การตลาด ที่จะสามารถ
ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายทั้งในระดับบน และระดับล่าง และยังมีความหมายต่อการเข้าสู่การระดมทุนในตลาดหุ้น
ที่จะเป็นเสบียงกรังที่สำคัญสำหรับเกมการแข่งขันที่กำลังเข้มข้นขึ้นทุกที
ภารกิจในฐานะผู้กำหนดยุทธศาสตร์ยังต้องทำหน้าที่ต่อไป