เขาจัดเป็นมืออาชีพอีกคนหนึ่งที่อยู่ร่วมในองค์กรธุรกิจข้ามชาติ
เป็นระยะเวลาที่ยาวนานถึง 22 ปี "ถ้าเป็นปลาก็เปลี่ยนมาแล้วหลายน้ำ"
วนารักษ์เปรียบเปรยถึงตัวเอง
วนารักษ์เหมือนกับคน "ไอบีเอ็ม" ส่วนใหญ่ ที่ต้องทำงานไต่เต้าจากพนักงานขายพิมพ์ดีดธรรมดา
ทำตลาด word processer จนได้มาขายเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ ที่นอกจากจะเป็นสินค้าหลักที่สำคัญของ
ไอบีเอ็ม ยังเป็นช่วงที่ทำให้เขาได้มีโอกาสดูแลกลุ่มลูกค้าองค์กร
เริ่มตั้งแต่การทำตลาดลูกค้าราชการ 3-4 ปี ก่อนจะย้ายมาทำตลาดลูกค้ากลุ่มธนาคาร
และใช้เวลาอยู่กับลูกค้ากลุ่มนี้เป็นเวลาถึง 10 ปี จนได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการกลุ่ม
การได้ดูแลลูกค้าธนาคาร นับเป็นช่วง ของการเรียนรู้ที่สำคัญ และกลายเป็นโอกาส
ที่เปิดกว้างสำหรับเขา เพราะลูกค้าธนาคาร จะเป็นลูกค้าหลักที่สำคัญของไอบีเอ็มแล้ว
ยัง เป็นความชำนาญพิเศษของไอบีเอ็ม ประเทศ ไทย หลังจากการปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ที่ต้องทำงานร่วมกับสาขาอื่นๆ
ทั่วโลก
วนารักษ์ได้รับเลือกให้เป็นผู้จัดการทั่วไป ต่อจากชาญชัย จารุวัสตร์ ในช่วงที่องค์กรแห่งนี้เพิ่งผ่านพ้นจากการ
re-engineering ได้ไม่นาน และเขายังกลายเป็น ผู้จัดการทั่วไปที่อยู่ในตำแหน่งนี้นานที่สุดคนหนึ่งของไอบีเอ็ม
ความอาวุโส และประสบการณ์ของวนารักษ์ หากเทียบกับผู้บริหารคนอื่นๆ ของ
ไอบีเอ็มในช่วงเวลานั้นจึงเป็นเรื่องที่คาดเดาได้ยากที่เขาจะได้รับเลือก
หากไม่ได้เป็นเพราะผลจากการ re-engineering ของ ไอบีเอ็มที่มีขึ้นในปี 1992
เพื่อแก้ปัญหาวิกฤติ การขาดทุนที่สั่นคลอนยักษ์สีฟ้า ตามนโยบาย ของหลุยส์
เกิร์สเนอร์ ผู้ที่ต่อมาได้รับยกย่อง ให้เป็นผู้นำที่สามารถฟันฝ่าอุปสรรคนำยักษ์
สีฟ้ากลับมายืนหยัดได้อีกครั้ง
ผลจากการ re-engineering ในครั้งนั้น นอกจากจะเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งที่รุนแรง
ที่สุดนับตั้งแต่องค์กรแห่งนี้ตั้งขึ้นมา ที่เริ่มตั้งแต่การรีดไขมัน ลดพนักงาน
เพื่อตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลง ยังส่งผลต่อรูปแบบของ การดำเนินธุรกิจที่ต้องเปลี่ยนแปลงไป
ที่ไม่เน้นความยิ่งใหญ่ของขนาดองค์กร แต่ต้องใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้มีประสิทธิ
ภาพสูงสุด
องค์กรที่เคยต้องการผู้นำที่ต้องสามารถสะท้อนบุคลิกความโดดเด่นในทุกๆ ด้าน
ในฐานะของผู้กำหนดทิศทางขององค์กร ที่มีวัฒนธรรมของตัวเอง เปลี่ยนไปสู่รูปแบบการทำงานที่ต้องสอดประสานภาพรวมของไอบีเอ็มทั่วโลก
ใช้ประสบการณ์ ความรู้ และทรัพยากรร่วมกันทั้งในระดับภูมิภาคและ ระดับโลกมากกว่าการสร้างความยิ่งใหญ่ของ
สาขา
อายุและประสบการณ์ที่ไม่มาก อาจ ทำให้ยึดติดกับวัฒนธรรมแบบดั้งเดิม บวกกับบุคลิกประนีประนอม
และการเรียนรู้ในอุตสาหกรรมที่สำคัญของวนารักษ์ จึงเหมาะ สมสำหรับทิศทางใหม่ของไอบีเอ็ม
วนารักษ์เป็นผู้นำองค์กรที่อยู่ในช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงและ ใช้เวลาอยู่ร่วมพิสูจน์ตัวเองมาแล้วมากกว่า
5 ปีเต็ม ในการเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนจากผู้ค้าฮาร์ดแวร์ไปสู่การเป็น
service company ที่ต้องมีทุกอย่างให้ลูกค้าครบวงจร และก้าวเข้าสู่การเป็นผู้นำในเรื่อง
e-business อย่างเห็นผล
การเปลี่ยนแปลงได้กลายเป็นเรื่องปกติขององค์กรเทคโนโลยี ที่ต้องวิ่งไล่ตามกับทิศทางของเทคโนโลยี
การตลาด รวมทั้งพนักงาน เป็น 3 ส่วนที่วนารักษ์มองว่า ต้องเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกันไป
"ถามว่าเปลี่ยนแปลงขนาดไหน ก็คิด ดูว่า ถ้าเอาคนไอบีเอ็ม 3 ปีที่แล้ว กลับมาทำงานอีกครั้งก็คงทำไม่ได้แล้ว"
คำยืนยันของวนารักษ์ ถึงอัตราเร่งของการเปลี่ยน แปลงธุรกิจ
ในวันนี้ของวนารักษ์ เขาได้เลื่อนจาก เก้าอี้ผู้จัดการทั่วไป ขึ้นไปอยู่ในตำแหน่งประธานบริษัทไอบีเอ็ม
ประเทศไทย เป็นตำแหน่งใหม่ที่มีขึ้นเป็นครั้งแรกของสาขาไอบีเอ็มในไทย
แน่นอนว่า หน้าที่ที่เขาได้รับมอบหมายยังไม่หมดลง เพียงแต่ครั้งนี้ไม่ใช่การบริหารงาน
operation ที่ต้องดูแลลูกค้าเหมือนอย่างที่เคยทำมา แต่เป็นเรื่องการ ทำงานในระดับกว้างที่เขาต้องทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานกับภาครัฐ
การขึ้นรับตำแหน่งนายกสมาคมผู้ประกอบธุรกิจคอมพิวเตอร์ (ATCI) ย่อมไม่ใช่
เพียงเพื่อการที่ต้องทำหน้าที่เป็นแกนนำในการจัดงานแสดงสินค้าประจำปีของคอมพิว
เตอร์เท่านั้น
เขายกตัวอย่าง กรณีของการแก้ปัญหา y2k ในฐานะของผู้ขายคอมพิวเตอร์ไอบีเอ็ม
ที่ต้องทำหน้าที่ในการแนะนำวิธีแก้ปัญหาอย่างไร รวมทั้งกรณีที่มีนโยบายจากภาครัฐกำหนดให้มีการตรวจสอบอุปกรณ์
ซีดีรอม
"อย่างคอมพิวเตอร์มีซีดีรอม ก็ต้อง ไปเจรจาว่าจะต้องตรวจด้วยหรือเปล่า
และเป็นประเภทไหน ตรงจุดนี้ก็ต้องใช้เวลาในการเจรจา"
การขับเคลื่อนของอุตสาหกรรมคอม พิวเตอร์ในเวลานี้ไม่ได้อยู่ที่การสร้างยุทธ-ศาสตร์การแข่งขันที่เข้มแข็ง
และการที่ต้องมีระบบงานที่สมบูรณ์แบบ มีโซลูชั่น มีบริการที่ครบวงจรให้ลูกค้าเท่านั้น
แต่ยังหมายถึงการที่ต้องเข้าถึงภาพรวมในระดับนโยบายของภาครัฐ
การเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้าง ของประเทศไทยที่กำลังเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการปฏิรูปกฎหมาย
การปฏิรูปทาง การเมือง ระบบราชการ ที่กำลังเคลื่อนย้ายเข้าสู่สภาพแวดล้อมใหม่
กฎเกณฑ์ กติกาที่เกิดขึ้นใหม่เหล่านี้ ย่อมมีนัยสำคัญ ที่มีผลกระทบต่อธุรกิจทุกอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์
ที่ต้องค้าขายอยู่กับหน่วยงานเหล่านี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
"มูลค่าของอุตสาหกรรมคอมพิว เตอร์ ก็ตกปีละ 40,000-50,000 ล้านบาท ถ้านโยบายมีผลกระทบ
เรามีหน้าที่ต้องไปคุย" วนารักษ์บอกถึงสิ่งที่ไอบีเอ็มจะได้รับ "ยิ่งถ้าคุณใหญ่ที่สุด
คุณขายได้เยอะที่สุด คุณก็ยิ่งต้องทำ"
กรณีล่าสุดที่เกิดขึ้นก็คือ กระแสนิยมไทยของรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ที่ออก
มารณรงค์เรื่อง นิยมไทย ซื้อของไทยทำให้หน่วยงานรัฐบางแห่งออกมารับลูกด้วยการเตรียมเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข
ที่จะไม่ซื้อสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ แน่ นอนว่าส่งผลกระทบอย่างจังต่อบรรดาบริษัทคอมพิวเตอร์ข้ามชาติ
อย่างไอบีเอ็ม คอมแพค เดลล์ ที่จะต้องสูญเสียรายได้ทันที หากนโยบายนี้เป็นผล
ในแง่มุมของไอบีเอ็มแล้ว งานนี้จึงไม่ใช่กิจกรรมเพื่อสังคม แต่เป็นภารกิจ
แห่งความจำเป็นที่จะส่งผลโดยตรงต่อธุรกิจ วนารักษ์ยังคงถูกเลือกสำหรับงานนี้
และนับเป็นภารกิจที่เพิ่งเริ่มต้นสำหรับวนารักษ์ ที่ไอบีเอ็ม